Thai Ingredient Replacment Recommendation using Taxonomy
วันที่เขียน 18/4/2565 10:58:02     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 17:40:16
เปิดอ่าน: 1107 ครั้ง

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบอาหารไทยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถประกอบอาหารไทยได้อย่างสร้างสรรค์และสมบูรณ์จากการใช้ระบบการคำแนะนำการใช้วัตถุดิบที่เป็นทางเลือกการประกอบอาหารไทยอาจจะมีความยุ่งยากในด้านการจัดเตรียมวัตถุดิบให้เป็นไปตามสูตรอาหารสำหรับผู้เริ่มต้นประกอบอาหารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยเหตุผลนี้หากสามารถแนะนำวัตถุดิบอื่นที่สามารถใช้ทดแทนและเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบอาหารนำไปใช้ได้ จะเป็นการช่วยผู้ประกอบอาหารมีทางเลือกในการใช้วัตถุดิบเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการจัดเตรียมวัตถุดิบได้

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ได้รับความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนเอง ในด้านระบบการให้คำแนะนำ ในการเข้าร่วมครั้งนี้ได้ส่งผลงานวิชาการเข้าร่วมตีพิมพ์เผยแพร่ในหัวข้อเรื่อง Thai Ingredient Replacment Recommendation using Taxonomy วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบอาหารไทยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถประกอบอาหารไทยได้อย่างสร้างสรรค์และสมบูรณ์จากการใช้ระบบการคำแนะนำการใช้วัตถุดิบที่เป็นทางเลือก เนื่องจากอาหารไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วโลกและมีการเผยแพร่สูตรอาหารไทยพร้อมขั้นตอนการประกอบอาหารบนเว็บไซต์อาหาร ให้กับผู้ประกอบอาหารนำไปประกอบเอง แต่ในขณะเดียวกันการประกอบอาหารไทยอาจจะมีความยุ่งยากในด้านการจัดเตรียมวัตถุดิบให้เป็นไปตามสูตรอาหารสำหรับผู้เริ่มต้นประกอบอาหารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยเหตุผลนี้หากสามารถแนะนำวัตถุดิบอื่นที่สามารถใช้ทดแทนและเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบอาหารนำไปใช้ได้ จะเป็นการช่วยผู้ประกอบอาหารมีทางเลือกในการใช้วัตถุดิบเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการจัดเตรียมวัตถุดิบได้  ดังนั้นเพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติเกี่ยวกับเมืองนวัตกรรมอาหารในอนาคต หรือ   “Food Innopolis”  และส่งเสริมทางวิชาการข้ามศาสตร์ ในงานวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอวิธีการใหม่ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการแนะนำส่วนผสมทางเลือกในด้านความเหมาะสมและความเข้ากันได้กับส่วนผสมอื่นภายในสูตรอาหารนั้น โดยนำคุณลักษณะของส่วนผสมเช่น น้ำหนัก หมวดหมู่ และรสชาติ  ร่วมกับวิธีการอนุกรมวิธาน (Taxonomy) มาใช้ในการสนับสนุนช่วยในการค้นหาวัตถุดิบทางเลือกที่มีความเหมาะสม   และการประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดแบ่งกลุ่ม DBSCAN และ วิธีการ cosine similarity มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพรายการแนะนำ ผลการวิจัยวิธีการที่คิดค้นขึ้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการให้คำแนะนำส่วนผสมทางเลือกได้ และยังก่อให้เกิดสูตรอาหารใหม่ที่สร้างสรรค์ซึ่งวัตถุดิบบางรายการยังไม่เคยมีการนำมาใช้ทดแทนในการประกอบอาหารจริง แต่เมื่อนำมาทดลองด้วยการประกอบอาหารทำให้พบว่า มีรสชาติที่แปลกอร่อยและสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้จริงและกลายเป็นเมนูใหม่ที่สร้างสรรค์ ผู้ชิมชื่นชอบ  ผลงานวิชาการเผยแพร่ผ่านทาง  IEEE

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1264
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง