โครงการบ่มเพาะเพื่อเตรียมความพร้อมในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ครั้งที่ 1
วันที่เขียน 5/12/2564 22:59:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:20:47
เปิดอ่าน: 1531 ครั้ง

โครงการบ่มเพาะเพื่อเตรียมความพร้อมในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม ZOOM โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ จัดโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมโครงการฯ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

ในงานอบรมครั้งนี้ มีการบรรยาย เรื่อง หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง

หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2563 โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กรไชย พรลภัสรชกร ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

                   1.1 หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการ

พิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2563 เริ่มใช้เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565

                   1.2 ทำให้ทราบรายละเอียดของหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการฯ ดังกล่าว

                   1.3 ผลงานทางวิชาการ ประเภทตำรา เอกสารประกอบการสอน ต้องเป็นวิชาที่เคยสอน วิชา

ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา การเสนอผลงานประเภทหนังสือ ตำรา อาจมีให้แก้ไข จะใช้เวลานานกว่าการเสนอผลงานวิจัยซึ่งไม่ต้องแก้ไขเพราะผ่านผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารมาแล้ว

                   1.4 การขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ให้ใช้ตำราต่างวิชากับการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

                   1.5 ในการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานวิจัย ต้องมีผลการประเมินในระดับ B ใช้

ผลงานที่เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการได้ แต่ต้องตรงตามเงื่อนไข ใช้งานวิจัยจำนวน 2 เรื่อง และต้องเป็น First author หรือ Corresponding author

                   1.6 ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย ตามความถนัด ความสนใจของอาจารย์แต่ละท่าน

 

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

ได้รับความรู้ รับทราบรายละเอียดของหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการฯ ดังกล่าว ทำให้สามารถ

วางแผนในการทำผลงานวิชาการได้ชัดเจนมากขึ้น และนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ตามแผน เพื่อการขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในอนาคต

 

  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

บุคลากรในหน่วยงานได้ทราบแนวทางที่ถูกต้องในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น เพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1247
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง