รายงานสรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ ฯ และร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ระดั มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วันที่ 23 สิงหาคม 2564
วันที่เขียน 11/9/2564 10:32:13     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 17:54:54
เปิดอ่าน: 1147 ครั้ง

ในปัจจุบันมีงานวิจัยจากนักวิจัยต่างๆจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสมุนไพรจะถูกนำมาวิจัยจำนวนมาก แต่ยังขาดการนำงานวิจัยสู่นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะพบว่ามีปัจจัยหลักที่สำคัญที่มีปัญหาคือ ชีวิตคนไทยไม่ลำบากจึงไม่เกิดแรงพลักดัน ,วิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรมีไม่มากพอ, นักวิจัยขาดการทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดการทบทวนเอกสาร และขาดพื้นที่ปฏิบัติงาน

การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วันที่ 23 สิงหาคม 2564

           จากการได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโยเกิร์ตเสริมสารสกัดกระเทียมดำ Antioxidant activity of yogurt supplemented with black garlic extract   ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรูู้ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี และ สาขาที่เกี่ยวข้อง และได้เรียนรู้มุมมองวิทยาการใหม่ ๆ ของงานวิจัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตำแหน่งหน้าที่ได้ ก่อให้เกิดการความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้อย่างกว้างขวาง เผยแพร่องค์ความรู้ ผลการวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

           ในปัจจุบันมีงานวิจัยจากนักวิจัยต่างๆจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสมุนไพรจะถูกนำมาวิจัยจำนวนมากแต่ยังขาดการนำงานวิจัยสู่นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะพบว่ามีปัจจัยหลักที่สำคัญที่มีปัญหาคือ ชีวิตคนไทยไม่ลำบากจึงไม่เกิดแรงพลักดัน ,วิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรมีไม่มากพอ, นักวิจัยขาดการทำงานที่ไม่ต่อเนื่องและขาดการทบทวนเอกสาร และขาดพื้นที่ปฏิบัติงาน จากการสรุปการบรรยายพิเศษของดร.อุษา กลิ่นหอม ประธานที่ปรึกษาวิชาการ ศูนย์วิจัยเห็ดฟิลินัส ไทย-เกาหลี สำหรับงานวิจัยอื่นที่น่าสนใจมีดังนี้

·ฤทธิ์ต้านมะเร็งในระดับหลอดทดลองของสารสกัดจากต้นสลัดไดลายเหลือง   

งานวิจัยพบว่าสารสกัดหยาบสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์ HN22 ไม่พบฤทธิ์นี้ในชั้น nbutanol และน้ำ แต่พบว่าชั้น hexane และ ethyl acetate ยังคงมีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็ง บ่งชี้วว่าสารสกัดชั้น hexane และ ethyl acetate มีฤทธิ์ต้านมะเร็งที่ 

·ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกรวมในมะกอกสดและมะกอกแห้ง 

งานวิจัยพบว่า เปอร์เซ็นฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของมะกอกสด มีค่าสูงกว่ามะกอกแห้งในทุกความเข้มข้น ปริมาณฟีนอลทั้งหมด g GAE /100น้ำหนักของผลมะกอกสด จำนวนแค่สองความเข้มข้น คือ ที่ 1000 และ 2500 ppm มีค่าสูงกว่ามะกอกสด เปอร์เซ็นการต้านอนุมูลอิสระและ ปริมาณฟีนอลิกรวมของทั้งมะกอกสดและมะกอกแห้งผง คือ มะกอกสดจะมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า มะกอกแห้ง  

·การปรับปรุงคุณภาพดินเค็มโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ  

งานวิจัยพบว่าสูตรน้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพในการลดความเค็มได้ดีที่สุด คือ น้ำ หมักชีวภาพสูตรมะนาวซึ่งมีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 60.85 รองลงมาคือ สูตรมะเฟือง (ร้อยละ 58.73) สูตรสับปะรด (ร้อยละ 46.66) สูตรมะกรูด (ร้อยละ 25.45) และสูตรผสม (ร้อยละ 10.77) ตามลำดับ สำหรับปริมาณธาตุอาหารในดิน ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หลังจากการปรับปรุงดินด้วยน้ำหมักชีวภาพ พบว่า ดินที่ใส่น้ำหมัก สูตรมะนาวมีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าดินที่ใส่น้ำหมักสูตรมะเฟือง ดังนั้นน้ำหมักสูตรมะเฟืองจึงเหมาะสมสำหรับการ นำไปใช้ลดความเค็มของดินและเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดิน 

·การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือกสะเดา  

งานวิจัยพบว่าสารสกัดจากเปลือกสะเดาสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ความเข้มข้น 500, 250 และ 125 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ความเข้มข้นที่ 62.5 และ 31.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่เกิดบริเวณยับยั้ง (inhibition zone) สำหรับแบคทีเรียก่อโรค E. coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตได้ได้ดีที่สุดที่ความเข้มข้น 500, 250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ แต่ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 125, 62.5, 31.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรไม่เกิดการยับยั้ง 

·ฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบสาหร่ายไฟบริเวณนาข้าวบางแหล่งในอำเภอเมือง เชียงราย จังหวัดเชียงราย  

งานวิจัยพบว่าสารสกัดสาหร่ายไฟที่สกัดด้วยเมทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคสูงที่สุดโดยสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ทั้ง 5 ชนิด คือ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, Salmonella enterica,Serovar Typhimurium โดยยับยั้งการเจริญ ของเชื้อ S. aureus และสารสกัดสาหร่ายไฟที่สกัดด้วยน้ำไม่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ สรุปได้ว่าสารสกัดจากสาหร่ายไฟมีความน่าสนใจที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคได้ โดยจัดเป็นวัชพืชที่มี ศักยภาพสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยา และเวชสำอางค์

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1206
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 14:35:36   เปิดอ่าน 14  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 13:18:51   เปิดอ่าน 693  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 20:59:16   เปิดอ่าน 128  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง