Blog : “Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ”
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : “Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ”
“Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ” ในสังคมยุคปัจุบันระบบออนไลน์ ต่างๆมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการทำงานประจำวัน ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวก ง่ายต่อระบบการจัดการ ทำให้การทำงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบออนไลน์ที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ • QR_LIMS ระบบสารสนเทศ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ระบบ ออนไลน์นี้เกิดขึ้นจากปัญหา ความไม่สะดวกในการจัดเก็บข้อมูล มีข้อมูลจำนวนมาก การบันทึกข้อมูลอยู่ในรูปแบบกระดาษ การดำเนินการมีความล่าช้า เจ้าหน้าที่มีน้อย การดำเนินงานด้วยมือ ความไม่สะดวกของลูกค้าที่เข้ามารับการติดต่อบริการ ความไม่สะดวกในการจัดทำรายงานต่อผู้บริหาร มีแนวทางสำหรับการจัดการของระบบขาดประสิทธิภาพ คือ การนำ QR_LIMS เข้ามาใช้เพราะSmart lab สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพและเพิ่มรายได้ โดยได้ดำเนินการ จัดการข้อมูลให้เป็นระบบง่ายต่อการเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ ตรวจสอบการทำงานได้ง่าย ทำงานได้รวดเร็วประหยัดเวลาลดขั้นตอนไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน ปรับการทำงานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ง่าย เป็นความสะดวกของผู้บริหารในการพัฒนาด้านการตลาดโดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลลูกค้า บุคลากรทุกคนทางานแทนกันได้ทางานได้เต็มประสิทธิภาพ • การจัดการครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เหตุผลสำคัญที่ต้องนำหลักการจัดการดังกล่าวนี้มา ใช้เพราะเกิดจากปัญหา ผู้ใช้บริการใช้งานเครื่องมือไม่ถูกต้อง ผู้ดูแลไม่มีเวลาสอนใช้ รบกวนเวลาทางานอื่น เครื่องมือเสียหาย ทาให้กระทบกับงาน เสียงบประมาณซ่อมและเสียเวลาในการรอซ่อม และประโยชน์ของการนำสื่อวีดีโอมาใช้จัดการเครื่องมือ คือผู้ใช้บริการใช้งานเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ผู้ดูแลไม่ต้องมาคอยสอนการใช้ซ้ำ ผู้ใช้บริการสามารถดูวีดีโอซ้ำได้หลายๆรอบ ลดความเสียหาย้องเครื่องมือและ ลดงบประมาณการซ่อมสามารถส่งสื่อวีดีโอให้กับผู้รับบริการได้ศึกษาการใช้ล่วงหน้าได้ • การจองใช้เครื่องมือด้วยระบบออนไลน์ เกิดจากปัญหา การเข้าถึงข้อมูลยาก ความล้าช้าจาก ขั้นตอนการเบิก ไม่มีการตัดStockทันที ทำให้ปริมาณคงเหลือไม่เป็นปัจจุบัน สิ้นเปลืองกระดาษในการกรอกแบบฟอร์มเบิก ดังนั้นเป้าหมายของระบบการจองเครื่องมือด้วยระบบออนไลน์ คือ พัฒนาระบบการเบิกจ่ายให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบการเบิกจ่ายให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการอย่างทันท่วงที รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา เพิ่มความสุขความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการ • การเบิกคืนเครื่องแก้วแบบออนไลน์ เหตุผลหลักปัญหาของการนำระบบออนไลน์การเบิกคืน เครื่องแก้วมาใช้ เพราะยังมีการใช้ระบบเบิกจ่ายที่เขียนลงในกระดาษ ไม่มีการจัดเก็บลงในระบบอิเลกทรอนิค จึงทำให้เกิดปัญหาขาดขั้นตอนการเบิก-คืนที่ชัดเจน ไม่สะดวกในการเบิก หรือคืนการติดตามการคืนที่ยาก ดังนั้นการทำขั้นตอนที่ชัดเจนและมีโปรแกรมออนไลน์ช่วยจัดการจะสามารถดำเนินงานได้สะดวกมากขึ้น • ระบบการจองใช้ เครื่องมือออนไลน์ด้วย โปรแกรม Trello จุดเริ่มต้นของปัญหาการนำระบบนี้มาใช้ เพราะเครื่องมือมีราคาแพง มีความซับซ้อนในการใช้งาน มีนักวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ มีการใช้กระดาษในการเขียนจองจำนวนมาก การจองต้องติดต่อนักวิทยาศาสตร์โดยตรงทำให้ไม่ได้รับความสะดวก การรับแจ้งเครื่องมีปัญหาระหว่างการทดสอบล่าช้าเสียเวลา การจองต้องเดินทางมายังห้องปฏิบัติการ การขอใช้เครื่องซ้ำกันในวันเดียวกัน มีข้อผิดพลาดในการจองเช่นลืมวันจองใช้เครื่องมือ ไม่สามารถวางแผนการทำงานได้ล่วงหน้าเพราะไม่เห็นตารางการใช้เครื่องมือ และเมื่อมีการนำระบบจองเครื่องมือออนไลน์ด้วยโปรแกรม Trello มาใช้สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้ดี ทำให้ลดความผิดพลาดของการจองใช้เครื่องมือได้ • การพัฒนาการจองห้องปฏิบัติการออนไลน์ การพัฒนาระบบจองห้องนี้เกิดจากความต้องการใช้ ห้องปฏิบัติการนอกเวลาของนักศึกษา เพื่อปฏิบัติและทดสอบโปรแกรม อ่านหนังสือ เพื่อการประชุมหรือการติวหนังสือก่อนสอบ แต่นักศึกษายังใช้ระบบการจองแบบเก่าด้วยการกรอกแบบฟอร์มหรือการจดลงในสมุดและเดินทางไปห้องเจ้าหน้าที่เพื่อส่งแบบฟอร์มและรอการอนุมัติการในการใช้ห้อง แนวทางแก้ไขสามารถทำได้โดยการนำเอาระบบการจองห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์เข้ามาใช้ทำให้เกิดความสะดวกสบายทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ
“Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ” » รายงานสรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ ฯ และร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ระดั มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วันที่ 23 สิงหาคม 2564
ในปัจจุบันมีงานวิจัยจากนักวิจัยต่างๆจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสมุนไพรจะถูกนำมาวิจัยจำนวนมาก แต่ยังขาดการนำงานวิจัยสู่นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะพบว่ามีปัจจัยหลักที่สำคัญที่มีปัญหาคือ ชีวิตคนไทยไม่ลำบากจึงไม่เกิดแรงพลักดัน ,วิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรมีไม่มากพอ, นักวิจัยขาดการทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดการทบทวนเอกสาร และขาดพื้นที่ปฏิบัติงาน
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1151  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 11/9/2564 10:32:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 14:26:36
“Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ” » Smart Laboratory : ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1346  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 6/8/2564 16:05:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:15:27

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้