การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 6/8/2564 16:01:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/9/2567 8:42:09
เปิดอ่าน: 1091 ครั้ง

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

เพื่อขยายขอบข่ายการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง          สำหรับการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ จะประกอบด้วยการจัดการข้อมูลของเสีย

,การจำแนกประเภทของของเสีย ,การรวบรวมและจัดเก็บของเสีย ,การบำบัดและกำจัดของเสีย ,การตรวจติดตามการประเมินและรายงานผลการดำเนินการด้านต่างๆของการจัดการของเสีย และการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านองค์ประกอบที่ 4-7 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558)” การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการก่อให้เกิดการพัฒนาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการได้นำเอาเครื่องมือเพื่อ การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า ESPReL Checklist1 ซึ่งเป็นรายการสำรวจสำหรับประเมิน สถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เครื่องมือนี้แสดงจุดแข็ง จุดอ่อนของการจัดการด้านต่างๆ ที่สามารถนาไปใช้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงอย่างเป็น ระบบได้ เมื่อ วช. ดำเนินงานจนมีความพร้อมของเครื่องมือระดับหนึ่ง จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย การพัฒนา ESPReLChecklist ไปเป็นมาตรฐานระดับชาติ คือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความ ปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี” (มอก. 2677–2558)

ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

  1. สามารถนำระบบการจัดการสารเคมีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสารเคมี การเก็บสารเคมี การเคลื่อนย้ายสารเคมี ในห้องปฏิบัติการให้ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักสากล
  2. เข้าใจหลักการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับของเสีย การจำแนก และรวบรวมของเสียในห้องปฏิบัติการของตนเองให้ถูกต้องและปลอดภัย
  3. เข้าใจหลักการมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระดับพื้นฐาน ESPRel Checklist และได้ทดลองฝึกปฏิบัติการใช้งาน ESRel Checklist เพื่อสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
  4. สามารถนำเกณฑ์พื้นฐาน ESPRel Checklist เบื้องต้นมาทดลองประยุกต์ใช้เบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1186
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/9/2567 15:28:23   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/9/2567 10:56:23   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง