Blog : การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เพื่อขยายขอบข่ายการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง สำหรับการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ จะประกอบด้วยการจัดการข้อมูลของเสีย ,การจำแนกประเภทของของเสีย ,การรวบรวมและจัดเก็บของเสีย ,การบำบัดและกำจัดของเสีย ,การตรวจติดตามการประเมินและรายงานผลการดำเนินการด้านต่างๆของการจัดการของเสีย และการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านองค์ประกอบที่ 4-7 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558)” การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการก่อให้เกิดการพัฒนาความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการได้นำเอาเครื่องมือเพื่อ การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า ESPReL Checklist1 ซึ่งเป็นรายการสำรวจสำหรับประเมิน สถานภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เครื่องมือนี้แสดงจุดแข็ง จุดอ่อนของการจัดการด้านต่างๆ ที่สามารถนาไปใช้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงอย่างเป็น ระบบได้ เมื่อ วช. ดำเนินงานจนมีความพร้อมของเครื่องมือระดับหนึ่ง จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดย การพัฒนา ESPReLChecklist ไปเป็นมาตรฐานระดับชาติ คือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความ ปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี” (มอก. 2677–2558) ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 1. สามารถนำระบบการจัดการสารเคมีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสารเคมี การเก็บสารเคมี การเคลื่อนย้ายสารเคมี ในห้องปฏิบัติการให้ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักสากล 2. เข้าใจหลักการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับของเสีย การจำแนก และรวบรวมของเสียในห้องปฏิบัติการของตนเองให้ถูกต้องและปลอดภัย 3. เข้าใจหลักการมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระดับพื้นฐาน ESPRel Checklist และได้ทดลองฝึกปฏิบัติการใช้งาน ESRel Checklist เพื่อสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ 4. สามารถนำเกณฑ์พื้นฐาน ESPRel Checklist เบื้องต้นมาทดลองประยุกต์ใช้เบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้