การเข้าร่วมประชุมวิชาการ Scitech ครั้งที่1
วันที่เขียน 6/10/2563 14:37:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 14:30:59
เปิดอ่าน: 2371 ครั้ง

งานประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่1 หรืองาน Scitech ครั้งที่1 จัดขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เข้ามาร่วมงานได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นระหว่าง นักศึกษา นักวิชาการ อาจารย์ ที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้

งานประชุมวิชาการ Scitech ครั้งที่1 เป็นการประวิชาการระดับชาติ จัดขึ้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ ทางวิทยาศาสตร์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การวิจัย โดยมีการนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้นำผลงานวิจัยจำนวน 3 เรื่อง ดังนี้

  1. งานวิจัยเรื่อง "การพยากรณ์จำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน" มีบทคัดย่อดังนี้

โครงสร้างประชากรของไทยที่เปลี่ยนไปเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ามีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 10 ของประชากรไทยทั้งหมด ดังนั้นการวางแผนเตรียมการสำหรับสังคมผู้สูงวัยจึงมีความสำคัญ เช่น การขยายอายุเกษียณ การสนับสนุนการจ้างการผู้สูงอายุ การเพิ่มทักษะและการจัดหางานให้เหมาะสมกับแรงงาน การยกระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงการมีส่วนร่วมและการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ จึงเป็นแนวทางในการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์จำนวนผู้สูงอายุของจังหวัดลำพูน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลกรมการปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ.2562 รวมทั้งสิ้น 27 ปี ในการศึกษาครั้งนี้เทคนิควิธีการพยากรณ์ทั้งหมด 3 วิธี ถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบ ได้แก่ วิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่สองครั้ง วิธีปรับให้เรียบเอกซ์โพเนนเชียลเส้นตรง และวิธีบอกซ์-เจนกินส์ โดยพิจารณาความแม่นยำจากค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสัมบูรณ์เฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าวิธีบอกซ์และเจนกินส์ ด้วยตัวแบบ ARIMA(1,2,0) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำสูงสุด

   2. งานวิจัยเรื่อง "การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล" มีบทคัดย่อดังนี้

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลและเพื่อพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลประจำปีงบประมาณ 2563 เป็นรายเดือน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากฐานข้อมูลของสำนักอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้น 72 เดือน ทำการพยากรณ์พยากรณ์ด้วยวิธีปรับให้เรียบเอกซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีวินเตอร์ และวิธีบอกซ์-เจนกินส์  โดยพิจารณาความแม่นยำจากค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percentage Error : MAPE) ที่มีค่าต่ำที่สุด ในการศึกษานี้ได้แบ่งข้อมูลเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 จำนวน 60 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 สำหรับการการวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวแบบการพยากรณ์ ส่วนข้อมูลชุดที่ 2 จำนวน 12 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 สำหรับการตรวจสอบความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการพยากรณ์ คือ วิธีบอกซ์และเจนกินส์ด้วยตัวแบบ SARIMA(1,0,0)(1,1,1)12

    3. งานวิจัยเรื่อง "การพยากรณ์มูลค่านำเข้าด่านศุลกากรเชียงแสนจังหวัดเชียงราย" มีบทคัดย่อดังนี้

ปัจจัยหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง การเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น และรวมไปถึงการแข็งตัวของค่าเงินบาท มีส่วนทำให้มูลค่านำเข้าสินค้าของไทยผันผวนได้ ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการนำเข้าสินค้าด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นด่านการนำเข้าทางแม่น้ำโขงที่สำคัญของประเทศไทย โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ วิธีแยกส่วนประกอบ วิธีปรับให้เรียบของเอกซ์โพเนนเชียลแบบวินเตอร์ และวิธีบอกซ์-เจนกินส์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากฐานข้อมูลของสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 โดยผู้วิจัยได้เลือกทำการศึกษามูลค่าการนำเข้าสินค้าของด่านศุลกากรเชียงแสน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2562 รวมทั้งสิ้น 60 เดือน และตรวจสอบความแม่นยำของการพยากรณ์ด้วยค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE)
ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ เหมาะสมที่สุดในการพยากรณ์มูลค่านำเข้าของด่านเชียงแสน

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1128
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง