ได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ในระหว่างวันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยงานบริการวิชาการและวิจัย สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งการอบรมปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจข้อกำหนดและวิธีการจัดทำระบบมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลให้ผู้ประกอบการ นักศึกษา บุคลากรและศิษย์เก่าของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีวิทยากร คุณธรรมรัตน์ รุ่งสังข์ ที่ปรึกษาอิสระ จากการเข้าร่วมฝึกอบรมครั้งนี้ทำให้เข้าใจข้อกำหนดและวิธีการจัดทำระบบมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ทำให้เห็นชัดถึงประเด็นสำคัญที่มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน แนวคิดพื้นฐานใหม่ หลักการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้เห็นความมุ่งมั่นของผู้บริหาร เพิ่มมุมมองที่กว้างขึ้นจากผู้ส่งมอบไปยังลูกค้า มุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมที่ทันสมัย เพิ่มนิยามศัพท์ที่ชัดเจน เน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น ปรับปรุงระบบให้ง่ายขึ้น สำหรับบริบทขององค์กร ทำให้เข้าใจถึงบริบทขององค์กร องค์กรต้องกำหนดประเด็นต่างๆทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์และประเด็นที่ส่งผลต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลต่างๆที่เข้าใจของระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร ทำให้เข้าใจถึงความคาดหวังของผู้ที่มีส่วยได้ส่วนเสีย การกำหนดขอบข่ายของระบบความจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารและระบบการจัดการความปลอดภัย องค์กรต้องพิจารณาขอบข่ายและการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการด้านคุณภาพเพื่อจัดทำขอบข่ายของระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร และจะต้องระบุถึงชนิดผลิตภัณฑ์และบริการ ขอบข่ายต้องระบุถึงกิจกรรม กระบวนการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งผลถึงความปลอดภัยของอหารของผลิตภัณฑ์สุดท้าย โครงสร้างและนิยามใหม่ ข้อกำหนดใหม่ ข้อกำหนดที่มีเปลี่ยนแปลงใหม่โดยเปรียบเทียบรายละเอียดระหว่าง version 4.1 และ version 5 ตลอดจนแนวทางการกำหนดแผนงาน เพื่อปรับเปลี่ยน version 4.1 สู่ version 5 ของ ISO 22000: 2018 FSSS22000 Version 5 Requirement and Interpretation สำหรับหัวข้อ ISO/TS 22002-1 Requirement Firstedition : 2009-12-15 (FSSC Clause 2.4) ทำให้ได้ทราบและเข้าใจถึงข้อกำหนดทั่วไปของการก่อสร้างและแผนผังของตัวอาคาร ต้องถูกออกแบบก่อสร้างและบำรุงรักษาอย่างแข็งแรงที่จะแสดงให้เห็นว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อม ไม่ควรทำการผลิตอาหารในพื้นที่ที่มีสารอันตรายที่สามารถเข้ามาสู่ผลิตภัณฑ์ แผนผังของสถานที่และพื้นที่การทำงาน ต้องถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดี และเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากแหล่งที่มีโอกาสปนเปื้อน ช่องเปิดสำหรับส่งวัสดุต้องถูกออกแบบมาเพื่อลดการเข้ามา ทางเข้าของสิ่งแปลกปลอมและสัตว์พาหะ พื้นต้องถูกอกแบบมาเพื่อป้องกันน้ำท่วม ต้องมีท่อดักและถังปิด ระบบสาธารณูปโภค อากาศ น้ำและพลังงาน การกำจัดของเสีย ความเหมาะสมของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องปฏิบัติการ เช่นห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ต้องถูกออกแบบและตั้งอยู่ ในลักษณะมีการป้องกันการปนเปื้อนและต้องไม่เปิดบริเวณผลิตได้โดยตรง ความเข้มของแสงควรเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การทำความสะอาดการบำรุงและการรักษา ต้องมีระบบดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าของเสียได้ถูกกำจัดชี้บ่งชัดเจน การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การกำจัดในลักษณะที่ป้องกันการเกิดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ หรือพื้นที่ผลิต การบริหารจัดการทางจัดซื้อวัตถุดิบ มาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม การทำความสะอาดเชื้อโรค การควบคุมสัตว์รบกวน สุขลักษณะส่วนบุคคลและสิ่งอำนวยความสะดวกของพนักงาน การทำซ้ำ ขั้นตอนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ โกดังเก็บสินค้า การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเรื่องการป้องกันอาหารและการระมัดระวังทางด้านชีวภาพ การก่อการร้ายทางชีวภาพ การลดผลกระทบอาหารปลอม การจัดการสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น จากข้อมูลความรู้เบื้องต้นมาตรฐานสากลด้านอาหารปลอดภัย ที่ได้รับจากวิทยากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อกำหนดและวิธีการจัดทำระบบมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตลอดเวลาที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและงานวิจัยต่อไปได้