สำหรับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ ดํารงตําแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ. นั้น เกณฑ์ใหม่ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 นั้น ได้เปลี่ยนแปลงผลงานทางวิชาการสำหรับ ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ จากเดิม 1. ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตํารา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือ 2. ผลงานวิจัย หรือ 3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือ 4. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม เกณฑ์ใหม่เปลี่ยนเป็น 1. ผลงานวิจัย 2 เรื่อง หรือ 2. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานทางวิชาการใน ลักษณะอื่น 1 รายการ หรือ 3. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานวิชาการรับใช้ สังคม 1 เรื่อง หรือ 4. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ตําราหรือหนังสือ 1 เล่ม ผลงานทางวิชาการสำหรับ ตําแหน่งรองศาสตราจารย์ จากเดิม 1. ผลงานวิจัย ดี ดีมาก หรือ 2. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือ 3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือ 4. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตํารา หรือ หนังสือ เกณฑ์ใหม่เปลี่ยนเป็น 2 วิธีคือ วิธีที่แรก 1. ผลงานวิจัย 2 เรื่อง หรือ 2. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานทางวิชาการใน ลักษณะอื่น 1 รายการ หรือ 3. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานวิชาการรับใช้ สังคม 1 เรื่อง หรือ 4. ตํารา หรือ หนังสือ 1 เล่ม ส่วนวิธีที่สองคือ 1. ผลงานวิจัย อย่างน้อย 3 เรื่อง หรือ 2. ผลงานวิจัย + ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือ 3. ผลงานวิจัย + ผลงานวิชาการรับใช้สังคม
การสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการนั้น ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ตำรา หรือผลงานวิจัยนั้น มีสิ่งที่ควรระวังในการเขียนคือ การคัดลอกในวางรูป แม้แต่การวาดรูปใหม่แต่เหมือนเดิมเป๊ะ การวาดรูปเองแต่ปรับปรุงมาจากเอกสารอ้างอิง การวาดรูปเองใหม่หมดเลย การคัดลอกตาราง และ การใช้เนื้อหามาแปลบรรทัดต่อบรรทัด ซึ่งในทางที่ถูกต้องควรทำการเเละขอลิขสิทธิ์มาใช้ในเอกสารถูกต้อง แล้วกรณีไหนบ้างที่ต้องอ้างอิงการขอลิขสิทธ์ให้ถูกต้อง
- การคัดลอกและวางรูปจากวารสาร หากลงตีพิมพ์ในวารสาร แม้ว่าเป็นผลงานของตนเองก็ต้องขอลิขสิทธ์
- วาดรูปขึ้นมาใหม่เเต่เหมือน เเม้เป็นรูปที่เราวาดเอง หากลงตีพิมพ์ไปเเล้วในวารสาร ต้องอ้างอิงเเละขอลิขสิทธิ์
- รูปถ่ายเองกับมือ หากลงตีพิมพ์ไปแล้วในวารสาร ต้องอ้างอิงเเละขอลิขสิทธิ์
- ตารางของตนเอง จากการทดลองของตนเอง เเต่ลงตีพิมพ์ไปแล้ว ต้องอ้างอิงเเละขอลิขสิทธิ์
- แผนภาพหรือประโยคแสดงแนวคิด เเละลงตีพิมพ์ไปแล้ว ต้องอ้างอิงเเละขอลิขสิทธิ์
การขอลิขสิทธิ์หากต้องการใช้รูปในวารสารระดับนานาชาตินั้น ส่วนใหญ่จะขอจากสำนักพิมพ์ ซึ่งปรกติส่วนใหญ่จะมีแบบออนไลน์ การขอจากเจ้าตัว หากสำนักพิมพ์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือในบางครั้งทาง Copyright Transfer อาจจะให้เราขอใช้ได้เลย ซึ่งจะต้องไปอ่านในข้อระเบียบของสำนักพิมพ์ให้ดีดี
การนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมนำเสนอผลงานและประชุมวิชาการ
ข้าพเจ้าคาดว่าจะนำความรู้ที่ได้มาใช้ในในการสร้างผลงานทางวิชาการสำหรับ ตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในลำดับต่อไป อีกทั้งยังช่วยให้ตระหนักและระมัดระวังในการสร้างผลงานมากยิ่งขึ้น