รายงานสรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์”
วันที่เขียน 11/1/2563 18:44:09     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 3:23:08
เปิดอ่าน: 10760 ครั้ง

ได้เข้ารับการอบรมเรื่อง "ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์" โดยวิทยากรคือ รศ. ดร. จักรพงษ์ แก้วขาว ทำให้มีความรู้่เกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์ (copyright) ซึ่งหมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มขึ้นเองโดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งในการเขียนงานทางวิชาการ ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอน เป็นต้น โดยวิทยากรได้บรรยายได้กล่าวถึงการนำรูปภาพ ตาราง ข้อความ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งจากแหล่งต่าง ๆ มาเขียนเป็นผลงานทางวิชาการต่าง ๆ จะต้องมีการอ้างอิง และมีการขอ หรือไม่ขอลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งวิทยากรยังได้ยกตัวอย่างการขอลิขสิทธิ์จากบทความที่อยู่บนฐานข้อมูลของนานาชาติ เช่น Elsevier และ Springer link ด้วย

ลิขสิทธิ์ (copyright)  หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มขึ้นเองโดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

ตัวอย่างของงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง ได้แก่ ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์   งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้  งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ รวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานข้างต้นด้วย  งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นซีดี ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น   งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีก งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์  การกระจายเสียงวิทยุ และงานอื่น ๆ ในด้านวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ  เป็นต้น

ตามที่ข้าพเจ้า นางสาวสมคิด  ดีจริง ตำแหน่ง อาจารย์  สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขออนุญาตเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์” ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 9.00-12.00 น.  ณ ห้องข้าวสาลี อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งบรรยายโดยวิทยากรคือ รศ. ดร. จักรพงษ์  แก้วขาว จึงสรุปเนื้อหาจากการอบรมในหัวข้อข้างต้นดังนี้

ตัวอย่างที่วิทยากรได้บรรยายว่า สิ่งที่ควรระวังที่ผู้เขียน หรือผู้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอน  จะต้องอ้างอิง  และขอ หรือไม่ขอลิขสิทธิ์ หากต้องการนำมาเขียนเป็นงานทางวิชาการ ได้แก่

กรณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องมีการอ้างอิงและไม่ต้องขอลิขสิทธิ์ ได้แก่

- ภาพถ่ายที่ผู้เขียน หรือผู้สร้างสรรค์ถ่ายภาพด้วยตัวเองแต่ยังไม่ลงตีพิมพ์ใด ๆ ไม่ต้องมีการอ้างอิงและไม่ต้องขอลิขสิทธิ์

- ภาพวาดเองจาก software

 

 

กรณีดังต่อไปนี้ต้องอ้างอิงและขอลิขสิทธิ์  ได้แก่  

-        การ Copy and Paste รูปจากวารสารหากลงตีพิมพ์ไปเเล้วในวารสาร  เเม้ว่าจะเป็นผลงาน

ของเราเองก็ต้องอ้างอิงเเละขอลิขสิทธิ์ด้วย  และถ้าเป็นผลงานของคนอื่นจะต้องขอลิขสิทธิ์

-        การวาดภาพขึ้นมาใหม่เเต่เหมือนต้นฉบับเดิมทั้งหมด ถึงเเม้เป็นภาพที่ผู้เขียนวาดเอง แต่หาก

ลงตีพิมพ์ไปเเล้วในวารสารก็ต้องอ้างอิงเเละขอลิขสิทธิ์

-        ภาพถ่ายที่ผู้เขียนถ่ายภาพด้วยตนเอง แต่หากลงตีพิมพ์ไปเเล้วในวารสารก็ต้องอ้างอิงเเละ

ขอลิขสิทธิ์

-        ตารางของตนเอง จากการทดลองของตนเอง เเต่ลงตีพิมพ์ไปเเล้ว ก็ต้องอ้างอิงและขอ

ลิขสิทธิ์

-        เเผนภาพ หรือประโยคเเสดงเเนวคิด และได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว ต้องอ้างอิงและขอลิขสิทธิ์  

-        รูปภาพ หรือตารางที่นำมาดัดแปลง (มีการวาดเพิ่มเติมและแปล) ในกรณีนี้ต้องอ้างอิง และ

อาจต้องขอลิขสิทธิ์ด้วย

นอกจากนี้ วิทยากรยังกล่าวถึง วิธีการดำเนินการขอลิขสิทธิ์ในกรณีที่ต้องการใช้รูปภาพในวารสารระดับนานาชาติ ซึ่งการขอลิขสิทธ์จะเป็นดังนี้

- ส่วนใหญ่จะขอจากสำนักพิมพ์ออนไลน์  

- ขอจากเจ้าของบทความ หากสำนักพิมพ์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

 -บางครั้งใน Copyright Transfer อาจมีข้อความให้เราใช้ได้เลย ต้องดูรายละเอียดให้ดี

ตัวอย่างวิธีการดำเนินการขอรูปภาพในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Elsevier

กรณีที่ผู้เขียน หรือผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นหนึ่งในผู้เขียนบทความ ที่อยู่ในฐานข้อมูล

ของ Elsevier มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1)       เลือกบทความในวารสารที่ต้องการขอลิขสิทธิ์  หลังจากนั้นให้เข้าไปที่หน้าเอกสารแล้ว

คลิ๊กที่ Get rights and content  ดังภาพ



1

1)       เลือกวัตถุประสงค์ที่นำเอาบทความไปใช้ ในกรณีที่จะนำไปทำหนังสือให้คลิ๊กเลือก reuse

in a book/textbook ดังภาพ

1)       คลิ๊ก เลือก I am a/an………. กรณีนี้ให้คลิ๊กเลือก academic/educational institute ดังภาพ

1)       เลือกสำนักพิมพ์ที่ทำการตีพิมพ์หนังสือในกรณีนี้ตัวเลือกไม่มีสำนักพิมพ์ของผู้เขียนจึง

คลิ๊กเลือก Other ดังภาพ

1)       จะใช้ส่วนไหนของบทความ (ภาพ  ตาราง  ทั้งหมดของบทความ  บทความบางส่วน

บทคัดย่อ วีดีโอ (ในกรณีนี้ผู้เขียนขอใช้ทั้งหมดของบทความ) คลิ๊กเลือก full article ดังภาพ

1)      รูปแบบการจัดทำหนังสือ (ในกรณีนี้ ผู้เขียนพิมพ์เป็นหนังสือ) คลิ๊กเลือก Print ดังภาพ

1)       คุณเป็นผู้เขียนบทความนี้หรือไม่ คลิ๊กเลือก Yes ดังภาพ

1)       คุณจะแปลบทความนี้ใช่หรือไม่ (ในกรณีนี้ผู้เขียนแปลและใช้ภาษาอังกฤษด้วย) คลิ๊ก

เลือก Yes, including English rights ดังภาพ

1)       จำนวนภาษาที่คุณแปลจากบทความ ในกรณีนี้แปลออกมาแค่ภาษาไทยจึงคลิ๊กเลือก 1

ภาษา ดังภาพ

1)       สกุลเงินที่ต้องการให้คำนวณค่าใช้จ่ายในการขอลิขสิทธิ์คลิ๊กเลือก USD - $ ดังภาพ

1)       คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระในการขอลิขสิทธิ์คลิ๊กเลือก QUICK PRICE ดังภาพ

โดยส่วนใหญ่ถ้าผู้ขอเป็นผู้เขียนบทความจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอลิขสิทธิ์  คลิ๊กเลือก

CONTINUE ดังภาพ

12)ระบบจะให้ Sign in ถ้าหากยังไม่เคยลงทะเบียนให้เลือก Need to register หากมี Account อยู่แล้วให้ Sign in ได้เลย แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ  ดังภาพ

เมื่อสร้าง Account เรียบร้อยแล้ว   ระบบถามท่านยินยอมกับเงื่อนไขหรือไม่ ถ้ายินยอมให้เลือก  และให้คลิ๊ก CREATE ACCOUNT ดังภาพ

14) การสร้าง Account สำเร็จแล้วให้คลิ๊ก CONTINUE  ดังภาพ

15) กรอกข้อมูลของหนังสือ เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้วให้คลิ๊ก CONTINUE ดังภาพ

16) อันดับบทของ Reference ในหนังสอ   ภาษาที่ใช้ในหนังสือ เสร็จแล้วให้คลิ๊ก CONTINUE ดังภาพ

17) หลังจากนั้นจะเป็นหน้าต่างสรุปรายละเอียดของบทความ เมื่อตรวจสอบข้อมูลถูกต้องหรือไม่ ดังภาพ

 

ให้เลือก  I agree to these และ I understand this license is for reuse only and that no content is provided  เสร็จแล้ว ให้คลิ๊ก Accept ดังภาพ

คลิ๊ก printable details ดังภาพ

ให้คลิ๊ก Print this page เลือกบันทึกไฟล์เป็น PDF คลิ๊ก บันทึก จะได้เอกสารการขอลิขสิทธิ์เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ดังภาพ

กรณีที่ผู้เขียน หรือผู้สร้างสรรค์ผลงานไม่ได้เป็นผู้เขียนบทความ ที่อยู่ในฐานข้อมูล

ของ Elsevier

            ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นแต่ท้ายสุดให้คลิ๊กเลือก CHOOSE PAYMENT และชำระเงินต่อไป

กรณีที่ผู้ขอไม่ได้เป็นผู้เขียนบทความในฐานข้อมูล Springer link  ให้ดำเนินการดังนี้

คุณจะนำบทความนี้ไปทำอะไร ซึ่งในตัวอย่างนี้นำไปทำหนังสือ คลิ๊กเลือก reuse in a book/ textbook ดังภาพ

คุณเป็นใคร ในกรณีนี้คลิ๊กเลือก academic/educational institute ดังภาพ

ได้รับการสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องกับยา หรือบริษัทผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์หรือไม่ (ในกรณนี้ ไม่ได้รับการสนับสนุน คลิ๊กเลือก No) ดังภาพ

รูปแบบการจำทำหนังสือ (ในกรณีนี้ ผู้เขียนพิมพ์เป็นหนังสือคลิ๊กเลือก Print  ดังภาพ

คุณต้องการใช้งานสวนไหนของบทความ (ในกรณีนี้  ผู้เขียนขอใช้ทั้งหมดบทความ) คลิ๊ก

 

จำนวนการคัดลอกเพื่อไปตีพิมพ์ (ในตัวอย่างเลือก 1-29)

คุณคือผู้เขียนบทความใช่หรือไม่ คลิ๊กเลือก No

คุณจะแปลบทความนี้ใช่หรือไม่ (ในกรณีนี้ ผู้เขียนแปลและใช้ภาษาอังกฤษด้วย) คลิ๊กเลือก Yes, including original language

จำนวนภาษาที่ต้องการแปล สกุลเงินที่ต้องการให้คำนวณค่าใช้จ่ายในการขอลิขสิทธิ์ คลิ๊กเลือก

USD - $  เมื่อเลือกเรียบร้อย คลิ๊ก QUICK PRICE

 

ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในการขอลิขสิทธิ์ (ในกรณนี้ 648 USD) คลิ๊ก CONTINUE

ระบบจะให้ Sign in ถ้าหากยังไม่เคยลงทะเบียนให้กด คลิ๊กเลือก Need to register หากมี account อยู่แล้วให้ Sign in ได้เลย

กรอกรายละเอียดของหนังสือที่เราจัดทำ เสร็จแล้วคลิ๊ก CONTINUE

อันดับที่ของ Reference ในหนังสือ ภาษาที่ใช้ในหนังสือเสร็จแล้ว ให้คลิ๊ก CONTINUE

ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ อีกครั้งก่อนที่การชำระเงิน เสร็จแล้ว ให้คลิ๊ก CHOOSE PAYMENT และชำระเงินต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง 

- ธัชชัย ศุภผลศิริ. 2544. กฎหมายลิขสิทธิ์ พรอมดวยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537.

          สํานักพิมพนิติธรรม. กรุงเทพฯ.

- จักรพงษ์  แก้วขาว. 2562. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์.

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1084
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง