เสวนาองค์ความรู้ (ร่าง) แผนแม่บทผ้าไทย
วันที่เขียน 30/9/2562 12:07:32     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 9:22:50
เปิดอ่าน: 3503 ครั้ง

ผ้าไทยมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากภูมิปัญญาของผ้าทอแบบต่างๆในแต่ละภูมิภาคที่มีความสวยงามสร้างรายได้ให้กับผู้ทอผ้าในชุมขน แต่ปัจจุบันผ้าไทยประสบปัญหาในการต่อยอด เนื่องจากขาดผู้ซื้อ ผู้ใช้ ส่งผลให้ผู้ทอลดจำนวนลงตามไปด้วย ดังนั้นภาคส่วนต่างๆที่มองเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและหาแนวทางส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอให้คงอยู่ต่อไป

สรุปเนื้อหา เสวนาองค์ความรู้ (ร่าง) แผนแม่บทผ้าไทย 

โดย...ปรมินทร์ นาระทะ

ปาฐกถาพิเศษ “อนาคตผ้าไทยในเศรษฐกิจสมัยใหม่”

คุณปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ประธานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น  ได้เสนอแนวคิดการอนุรักษ์ สืบสานต่อยอดสร้างสรรค์ผ้าไทย แต่เดิมได้รับการช่วยเหลือจากยูนิโด้ ในการสร้างคนในประเทศไทยไปเรียนด้านสิ่งทอ คุณไพรสิทธิ์ ปั้นเปี่ยมรัตน์ ได้นำร่างนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่คุณปราโมทย์ร่างขึ้นมาดำเนินการ ทำให้ GDP ของการจำหน่ายผ้าไทยเพิ่มขึ้น 7 % จากประเทศญี่ปุ่นได้รับจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ เลยเป็นจุดที่ทำให้เห็นความสำคัญว่าสิ่งทอสามารถสร้างมูลค่าได้ ด้วยการจัดการคุณสมบัติของผ้า ผ้าโพลิเมอร์    เอสเตอร์ที่ใส่แล้วร้อน ซึ่งผู้ทอนำมาเป็นส่วนผสมกับฝ้ายทำผ้าขาวม้า ที่เรียกว่าผ้า TC ทำให้ไม่มีใครใช้เพราะมีคุณสมบัติที่ไม่ซับน้ำ

กรุงเทพเมืองแฟชั่น ครอบคลุมในเรื่องของสิ่งทอทั้งหมด จิวเวอรี่ และเครื่องหนัง บนพื้นฐานของProject การสร้างคน สร้างธุรกิจ และสร้างเมือง แต่มีการมุ่งเน้นการสร้างเมืองมากเกินไป โดยลงทุนในการจัด Bangkok Fashion week ในปัจจุบันการอนุรักษ์ การต่อยอด และการสร้างนวัตกรรม ถ้ามุ่งเชิงอนุรักษ์เกินไป จะทำให้จำกัดความคิดเกินไป  ซึ่งผ้าไทยต้องใช้รากทางวัฒนธรรมไปสร้างเอกลักษณ์ของตนให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าที่ทำยากที่สุดในโลก ข้อมูลใครเป็นผู้ผลิต ซึ่งมีการประดิษฐ์โดยผู้ทอจะมีความเป็นศิลปิน ซึ่งจะมีคนแบบนี้ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ คือเก่งทั้งสองอย่างทั้งการผลิตและการตลาด ทั่วโลกจะไม่สร้างผู้ผลิตไปเป็นผู้ค้า แต่นำเอาคนรุ่นใหม่มาเป็นผู้ค้า ทำเป็นคอลเล็คชั่นเพื่อสร้างมูลค่า ถ้ามีความสามารถเอาไปต่อยอดธุรกิจไปได้ โดยไม่กำหนดแนวคิดที่เป็นแบบเฉพาะของตนเองเท่านั้น เป็นของใครก็แล้วแต่ควรยกย่อง  หากลูกค้าต้องการอะไรหาทางผลิตให้ลูกค้าต้องการได้ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน ติดตามความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด กรุงเทพเมืองแฟชั่นเป็นโทนสี “ Where are we now,Where are we going ต้องรู้ตัวเองว่าเราอยู่ที่ไหน เมื่อรู้แล้วต้องเป็น 2 เป็น 4 คือไม่ทำด้วยตนเองต้องมีคนมาช่วยเหลือ

การเสวนา “การจัดการการผลิตและจำหน่ายผ้าไทยและแนวทางแก้ปัญหาเชิงนโยบาย” 

                คุณวันเพ็ญ รัตนกังวาน  (ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) กล่าวว่า ถ้าผ้าไทยขายได้ก็คงไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุนเพราะขายสินค้าได้ แต่ลูกหลานที่จะมาต่อยอดการผลิตมีน้อยลง เหลือแม่ๆป้าๆอยู่จำนวนน้อยแต่เห็นกี่ทอผ้ามีไม่มากนัก  มีนักออกแบบ 50 คนไปลงพื้นที่หมู่บ้านทอผ้าบ้านต้นตาล จังหวัดสระบุรี โดยไปทำยังไงก็ได้ให้ผ้าไทยใส่ได้ โดยมีเสียงสะท้อนจากผู้ทอว่าปัจจุบันไม่ค่อยมีคนทอต่อ ทำให้นักออกแบบไม่สามารถออกแบบต่อได้ เพราะรูปแบบของลวดลายที่ทอ ไม่มีใครที่สามารถทอต่อได้แล้ว หรือหากทอได้ก็จะต้องใช้ระยะเวลาทอนาน  รวมถึงจำนวนคนทอที่มีไม่มากทำให้ต้องรอผ้าที่ทอนานซึ่งผู้ออกแบบรอไม่ได้  การที่ไปทำกี่หน้ากว้างให้กับผู้ทอในชุมชนต่างๆ อาจไม่ตรงกับอัตลักษณ์ที่มีอยู่เดิมในการทอ

                การส่งเสริมการแปรรูปผ้าทอ สามารถแบ่งการส่งเสริมออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ส่งเสริมให้ผู้ที่ใช้ที่เป็นแบบยังคงอัตลักษณ์ของความเป็นไทยแบบดั้งเดิม 2) ส่งเสริมผู้ที่ต้องการใช้ผ้าไทยแต่ไม่ได้ใช้ในรูปแบบทั้งหมด มีการนำผ้าไทยมาออกแบบเป็นเสื้อผ้า หรือของใช้ที่ดูทันสมัยในปัจจุบัน เช่น การเอาผ้าไทยไปถักเย็บผสมกับหนัง เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดการผสมผสานที่มีส่วนประกอบของผ้าไทยเข้าไปเกี่ยวข้องทำให้ขายได้ราคาที่สูง หรือมีการเอาผ้าไทยไปใส่ในทุกส่วนของสินค้าเพื่อให้เกิดช่องทางในการใช้งานจากผ้าไทยในรูปแบบอื่นๆมากขึ้น ซึ่งในการผลิตผ้าไทยในรูปแบบต่างๆดังกล่าวก็ต้องมีการวางแผนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดของแต่ละกลุ่ม เป็นการเปิดช่องทางตลาดให้กับผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง รวมถึงการจัดหน้าร้านที่มีการจำหน่ายผ้าไทย (Display) ควรจัดให้มีความโดดเด่น และทำให้คนเห็นว่าผ้าไทยนั้นใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน หรือมีการจัดทำกลุ่มผู้มีใจรักผ้าทอในรูปแบบต่างๆได้มีโอกาสมาร่วมเปิดโลกทัศน์ แสดงความคิดเห็น ออกแบบ หรือสวมใส่ผ้าทอในโอกาสต่างๆมากขึ้น ซึ่งความสำคัญของการจำหน่ายผ้าทอนั้น วัตถุดิบไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญหลัก แต่การจัดการของผู้ทอนั้นสำคัญว่าจะมีการบริหารจัดการผ้าที่ตนเองทอให้มีคุณค่าและใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

                คุณกิตติพร ใจบุญ (รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย และพัฒนา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บผ้ากลุ่มชนชาติพันธุ์ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงศูนย์หาย 20 ปีที่ผ่านมา (เป็นผู้เก็บข้อมูล)ดูเรื่องนโยบาย เช่น ชุดประจำชาติ ทำอย่างไรให้คนใช้ผ้าไทย กรมส่งเสริม เป็นผู้รับนโยบายดำเนินการงานเทศกาล ประเพณี งานสำคัญ รณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย ต่างจังหวัดช่วยขับเคลื่อนในท้องถิ่น เป็นการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม เป็นไปในทางสร้างสรรค์สินค้าอย่างไร ดูการพัฒนาที่ปลายน้ำเป็นส่วนใหญ่ คนที่ออกแบบก็ไม่ได้ออกแบบให้ใช้ได้ในชีวิตประวัน ถ้ามีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ผ้าไทยก็จะเป็นการดี

                "คนรุ่นใหม่จะมีการเสริมบทบาทด้านการขายให้ในการทำ Blocker youtube เป็นส่วนของการเชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภคได้"

                คุณพีรพร พละพลีวัลย์ (ที่ปรึกสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ)  นิเวศทางวัฒนธรรม มีคุณค่าทางการตลาดมหาศาล ผ้าไทยสามารถปรับให้มีมาตรฐานชุมชนทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับการบริการจัดการมากกว่า มาตรฐานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องไม่มีสารก่อมะเร็ง เช่น การใช้สีย้อม ที่มีความแข็งแรงของโครงสร้าง รวมถึงค่าของความเป็นกรดเป็นด่างที่ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง กลุ่มผู้ประกอบการที่สำคัญ คือ ผู้นำสีย้อมเองจากธรรมชาติ ต้องมีการจัดการระบบนิเวศของการทอผ้าที่มีมาตรฐาน ต่างประเทศมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เอาผ้ามาทำเฟอร์นิเจอร์แต่มาติดที่ปริมาณการผลิตที่ไม่สามารถผลิตตามปริมาณที่ต้องการได้ จึงทำให้ขาดโอกาสทางการตลาด

                คุณสมปอง อาจณรงค์ (สำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน) ปัญหาสะท้อนให้เห็นโอกาสที่จะก้าวไปอย่างยั่งยืน ใช้ฉันทะ 4 ในการให้ความรู้กับชาวบ้านเพื่อพัฒนาผ้าทอว่าจะมีการพัฒนาต่อไป ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเรื่องปากท้องเป็นสำคัญใช้วิธี “ป่าล้อมเมือง” ให้แต่งชุดพื้นบ้านทั้งหมด ผ้าไทยคลองประเทศไทยขึ้นอยู่กับวิธีคิด และการปฏิบัติ OTOP ปี 44 สร้างรายได้ 3หมื่นล้าน ปัจจุบัน 9 แสนล้าน เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น OTOP ได้แนวคิดมาจากญี่ปุ่น กระแสมีความสำคัญที่มีอิทธิพลให้คนใช้ผ้าไทยเนื่องจากไม่มีแนวร่วม ผ้า 3 หมื่นกว่าผลิตเพื่อเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของคนในชุมชน ซึ่งทุกคนในประเทศต้องช่วยกันสนับสนุนสินค้าผ้าไทย

                "การเปลี่ยนให้คนรุ่นใหม่มาสืบทอดต้องใช้แรงบันดาลใจ ว่าจะนำภูมิปัญญาที่มีอยู่มาต่อยอดอย่างไร เช่น การนำผ้าไทยมาประยุกต์ในการตัดเย็บร่วมกับชุดกีฬาที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ รวมถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยผ่านลายผ้าที่เอามาตกแต่งบนชุดกีฬา"

โอกาสและอุปสรรคในกระบวนการผลิตผ้าไทยจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ 

                คุณแพว เนตรทิพย์ (เจ้าของธุรกิจร้านแพวผ้าฝ้าย กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน)  ทอผ้าเป็นอาชีพหลัก โดยมีการแก้ปัญหาในทุกจุดแต่ยังแก้ไม่หมด 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาที่เจอได้แก่ 1) คนทอไม่ยอมเปิดใจ เคยทอแบบไหนก็จะทอแบบนั้น มีการใช้ระยะเวลาในการทอนาน 10 วันก็ยังคงใช้เวลาทอ 10 วันเหมือนเดิม ซึ่งตลาดไม่สามารถใช้ระยะเวลารอที่ยาวนานได้ ค่าแรงก็เลยสูงตามไปด้วย เลยมีการแก้ไขโดยยังคงอัตลักษณ์ของลวดลายผ้าทอที่ใช้ระยะเวลาทอที่นานแบบดั้งเดิมไว้ แต่ลดระยะเวลาทอให้สั้นลงโดยใช้การทอแบบนำลายแค่บางส่วนมาทอบนผืนผ้าพื้นที่ไม่ต้องทอลายเต็มทั้งผืนแบบเดิมซึ่งเป็นการใช้ระยะเวลานาน จะทำให้ลดระยะเวลาของการทอให้สั้นลง มีการวาง Patern บนผืนผ้าก่อนว่าจะเอาลายอะไรตรงไหนบ้าง ก็จะทำลายตรงส่วนนั้น จะช่วยผู้ตัดเย็บที่ไม่ต้องตัดส่วนของผ้าทิ้งให้เสียประโยชน์ ทำให้ทอได้จำนวนที่มากขึ้น ส่งผลให้รายได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยผ้าพื้นที่ทอโดยผสมผสานการทอลวดลายแบบดั้งเดิมลงไปบนผืนผ้าจะนำมาตัดเย็นเป็นชุมร่วมกับผ้าโรงงานที่ทอเป็นผ้าพื้นทั่วไป

                สำหรับความคิดของคนทั่วไปที่ว่าสวมใส่ผ้าทอแล้วดูเชยนั้น ต้องมาคิดต่อว่าจะทำยังไงให้คนที่ใส่ผ้าไทยแล้วดูเชย หรือดูแก่นั้น ให้กลับมาใส่ได้นั้น จะต้องดูรูปแบบเสื้อผ้าให้ดูทันสมัยเป็นปัจจุบันจากนิตยสาร หรือจากสื่อต่างๆที่เป็นชุดสวมใส่ประจำวันที่คนนิยม แล้วมาเลือกผ้าไทยที่มีเนื้อผ้าใกล้เคียง เช่นมีความเบาบางมาผสมผสานกับผ้าชนิดอื่นเช่นยีนส์ ให้มีมีความทันสมัยต่างจากแบบเดิมๆ เป็นต้น นอกจากนั้นคุณแพวยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการต่อยอดผ้าไทยต่อคนรุ่นใหม่ว่า รุ่นพ่อรุ่นแม่มีการทำผ้าทอเป็นอาชีพเสริม แต่ปัจจุบันมีการทำเป็นอาชีพหลัก ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรุปแบบ โดยมีการวางระดับตลาดอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบน กลาง และล่าง โดยตลาดระดับบน คือ มีการออกแบบที่เป็นแฟชั่นล้ำสมัยไปเลย และมีการเลือกใช้วัสดุที่มาจากเส้นใยที่ใช้ขั้นตอนการผลิตที่มีกระบวนการหลายขั้นตอน เช่น ข่า กล้วย ที่มีความแปลกใหม่น่าสนใจมากขึ้น ซึ่งจะมีความต่างจากระดับกลางที่เป็นกลุ่มใช้เสื้อผ้าในรูปแบบที่สวมใส่ได้ปรกติแต่เน้นการตัดเย็บที่ดีและเนียบ ส่วนตลาดระดับล่างคือเป็นผ้าทอทั่วไปที่ใช้วัสดุพื้นๆที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดเป็นต้น ซึ่งจะทำให้มีความต่างในเรื่องของราคาที่มีการเจาะจงผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มอยู่แล้ว

                คุณณัฎฐิญาณ์ สุขสถาน คุณอ้อ (นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ Nadyn Jadyn) โดยคุณอ้อได้เรียนจบที่สถาบันชนาภัฏ โดยซื้อผ้าจากชาวบ้านมาออกแบบ แต่มีปัญหาเรื่องสีเนื่องจากสีย้อมผ้าที่ชาวบ้านย้อมจะได้สีที่ไม่สม่ำเสมอ หรือสีที่ย้อมในแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน รวมถึงความเพี้ยนของสีที่ชาวบ้านทอ กับสีตัวอย่างที่สั่งไป ซึ่งมีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิค Photo shop มาใช้ในการออกแบบสีผ้าที่ย้อมมาจากธรรมชาติ และมีการบันทึกกระบวนการย้อมสีในแต่ละครั้งว่าใช้ส่วนผสมเท่าไหร่และวิธีการอย่างไร โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์มาสอนเรื่องการย้อมสีจากธรรมชาติให้ติดทนนาน เช่น สีน้ำเงินจะมีการทอเพื่อนำมาใช้แทนผ้ายีนส์ ตอนแรกจะไปคุยกับชาวบ้านให้ทำตามแต่ชาวบ้านไม่เปิดใจ จะทำตามแบบเดิมที่เคยทำ จึงต้องมีการออกแบบจากผ้าที่ชาวบ้านทอแต่เดิม แต่ประยุกต์วัสดุอื่นเพิ่มไปบนผืนผ้า เช่นการปักการพิมพ์ลวดลาย เช่น ลายสักที่ทำให้ดูรูปลักษณ์ของความเป็นไทยที่ดู Hipsterมากยิ่งขึ้น นำมาออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่า และให้เกิดความหลากหลายในรูปแบบของงาน Hi Fashion

                มีการจัดการประชุมชาวบ้านเพื่อคัดเลือกคุณภาพของผ้าที่ชาวบ้านทอ ทั้งบางบ้านที่คุณภาพไม่ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งที่จะมาช่วยแก้ปัญหา คือ การสร้างอัตลักษณ์มาทดแทน เพราะถ้าชาวบ้านทอผ้าก็จะทอเหมือนกันหมดทุกคน พอขายดีก็มีการใช้วัตถุดิบ หรือวัสดุอื่นมาทดแทน เน้นการผลิตให้ได้จำนวนมาก และรวดเร็วขึ้น เช่นการใช้สีเคมีมาย้อมแทนการใช้สีจากวัสดุจากธรรมชาติทำให้อัตลักษณ์ของผ้าทอศูนย์เสียไปได้ ถ้ามีอัตลักษณ์ของตนแล้วจึงจะสามารถไปโต้แย้งกับคนภายนอกในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายต่อไป

                คุณนันทสิริ อัสสกุล คุณน้ำผึ้ง (ห้างหุ้นส่วนจำกัด โขมพัสตร์ หัวหิน) เป็นแบลนด์ที่มีการทำผ้ามาเป็นระยะเวลา กว่า 70 ปี มาแล้ว ปัจจุบันต้องการขยายโปรดักส์ไปสู่คนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยการนำผ้าที่เคยใช้ในการตัดเสื้อ มาตัดเย็นเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นผ้าพิมพ์ด้วยมือที่สีไม่ตก โดยมีแนวคิดว่าคนรุ่นใหม่ไม่นิยมซื้อผ้ามาตัดเสื้อเอง จึงคิดแบลนด์ขึ้นมาใหม่เพื่อจำหน่ายสินค้าผ้าโดยนำผ้าที่มีอยู่เดิมมาทำการตัดเย็บให้เป็นเสื้อผ้าหลากหลายแบบ ในแบลนด์ที่ชื่อ (โขม) มีการนำผู้ออกแบบจากเมืองนอกมาช่วยออกแบบเรื่องสีสันใหม่ให้ดูทันสมัย โดยไม่ใช่เสื้อผ้าที่เน้นตามแฟชั่นมาก แต่ใส่ได้แบบร่วมสมัย ใส่ได้ทุกอายุ มีการเชิญนักออกแบบรุ่นใหม่ คุณเพรช นิภัทรา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเครื่องหนังมาช่วยออกแบบเสื้อผ้าด้วย หากมีนักออกแบบที่มีความสามารถออกแบบลายผ้า และขึ้นสีผ้าฝ้ายพื้นให้ได้ แต่ถ้าผ้ามีขนาดหน้ากว้าง 1 เมตร ก็จะมีข้อจำกัดในการผลิตมากขึ้น

คุณอัครชญ แก้วอาภรณ์ คุณโจ (ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายนิทรรศการ บริษัทไอคอนสยาม จำกัด)  ไอคอนสยามมีส่วนเกี่ยวข้องกับผ้าไทยโดยทำงานเหมือนปลายน้ำในเรื่องของการตลาดโดยเปิดโอกาสให้ผ้าทอได้วางจำหน่ายในห้างไอคอนสยาม โดยมีแนวคิดของผู้ที่คิดว่าใส้ผ้าไทยแล้วดูเชยว่าอยู่ที่มุมมองของผู้ใช้ประโยชน์จากผ้าไทยมากกว่าว่านำไปใช้ในลักษณะใด และมีการออกแบบในรูปแบบใด เพื่อเพิ่มมูลค่าและราคาในแต่ละระดับ ชุมชนที่มีวัตถุดิบเดิมมีหลายหมู่บ้านที่จะทำ  และกลุ่มผู้เป็นนักคิดอีกหลายๆกลุ่มสามารถที่จะทำตามได้ทันที ทำให้มีสินค้าออกสู่ตลาดมาก ทำให้ร้านค้ามีสินค้าเกินจำนวนจำกัด ชาวบ้านไม่ควรการส่งเสริมการทอแล้วให้แปรรูปเอง เพราะถ้าหากผู้ทอมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จะทำให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้นทุนของชาวบ้านต่างจังหวัดไม่ได้มีแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาเป็นต้นทุนในการผลิตได้ครบซึ่งจะต้องมีการหาจากแหล่งอื่นเป็นการเพิ่มภาระ แทนที่ผู้ทอจะทำการทอผ้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นบางครั้งได้วัตถุดิบที่ไม่ดีมาผลิต ก็ไม่มีคนซื้อใช้เพราะคุณภาพของไม่ดีไม่ตรงกับที่ลูกค้าและตลาดต้องการ ทำให้ต้องแก้ปัญหาในการจัดการสินค้าเหล่านั้นอีก

                การทอผ้าของคนในท้องถิ่นเกิดจากแรงบันดาลใจจากสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ไม่สามารถไปกำหนดให้ชาวบ้านทำตามที่นักออกแบบต้องการได้ เช่น ในช่วงหน้าแล้งชาวบ้านก็จะทอผ้าโทนสีร้อนสีน้ำตาล ช่วงข้าวออกรวงก็จะทอผ้าสีเหลืองทอง ยกตัวอย่างกรมหม่อนไหม มีวิธีการให้ชาวบ้านทำอย่างไรให้ผ้ามีมูลค่า ซึ่งหน่วยงานต้องส่งเสริมวัตถุดิบที่ทำขึ้นมาผลิตเองก่อน เพื่อให้คงอัตลักษณ์ของวัสดุประจำท้องถิ่น ซึ่งพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บรมราชนนีพันปีหลวง ที่ต้องการให้ชาวบ้านทอผ้าเป็นอาชีพเสริม เมื่อว่างจากอาชีพหลักทำไร่ ทำนา ทำสวน แล้วจึงมาทอผ้า  ปัญหาของ ICON  Craft คือ ลูกค้าที่มาซื้อของไม่ได้รู้ว่างาน Craft อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่จะใช้ในช่วงมีโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นที่จำเป็นต้องใช้ ดังนั้น จะผลิตสินค้าต้องมองถึงโอกาสและวางแผนการผลิตให้ตรงจุด

                ในประเด็น การร่วมมือกันทางการตลาด (Collaboration) บางแบรนด์มีต้นทุนการผลิตแต่ไม่มีต้นทุนในการทำงาน การช่วยเหลือปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องย่อยแบรนด์สินค้าจากใหญ่ที่เป็นดั้งเดิม โดยแบรนด์เดิมให้คงอัตลักษณ์เดิมไว้ แต่แบรนด์ใหม่มาช่วยผลิต (Generate)  ต่อยุคปัจจุบันและกับคนรุ่นใหม่ให้สามารถเข้าถึงมากขึ้น ซึ่งเด็กรุ่นใหม่มีไอเดียประหลาดที่เด็กมีความคิดที่ไม่สมมาตรแบบเดิม ยุคสมัยของลายเหลี่ยมมาเป็นลายน้ำไหล เป็นต้น

                องค์ความรู้ (Knowledge) มีอยู่แต่มุมมองความร่วมมือ ถ้าใช้ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นองค์ประกอบ โดยมองสินค้าผ้าไทยให้มีเรื่องราวและมีที่มา มาทำให้เกิดคุณค่า ในส่วนงานภาคอุตสาหกรรมมีความพยายามที่จะนำผู้ออกแบบมาพบกับผู้ผลิตผ้าทอมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาสินค้าผ้าทอยังต้องใช้ต้นทุนต่างๆที่สูงที่ต้องคำนึงถึงอยู่แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็มีข้อดีที่มีวัตถุดิบที่หลากหลายที่ต่างประเทศไม่มี จึงเป็นข้อได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น จีนไม่มีวัตถุดิบแบบ Natural dry และยังมีการสั่งวัตถุดิบของไทยอยู่ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตผ้าทอในลักษณะเชิงอุตสาหกรรมในปริมาณที่มาก จึงทำให้มีความเสี่ยงของวัตถุดิบที่จะหมดไปในอนาคตด้วย เช่น ครั่งต้องไปซื้อจากเขมรแล้วเพราะเริ่มหายากหากมีผู้ทอก็จะซื้อตุนไว้ หรือ เข ซึ่งเป็นพืชที่ห้ามปลูกแต่มีการลักลอบตัดจากป่ามาขายทำให้ราคาแพง เป็นต้น แต่การผลิตของไทยก็มีจุดเด่นที่เป็นงานที่ทำจากมือทั้งหมด

                ควรเปิดโอกาสหรือช่องทางให้นักศึกษาได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้า สินค้าจากผ้าไทยร่วมกับผู้ประกอบการในระดับต่างๆเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงแนวคิดใหม่ๆมากขึ้น รวมถึงชุมชนต่างๆที่มีการทอผ้าควรมีการพัฒนาเส้นใยที่ใช้สำหรับทอผ้า เพราะการผูกขาดการซื้อเส้นใยที่ใช้ในการทอผ้าจากแหล่งเดียวกันก็ทำให้มีความเสี่ยงของวัตถุดิบเส้นใยที่ไม่สามารถกำหนดล่วงหน้าได้ หรือขาดอัตลักษณ์เส้นใยที่ท้องถิ่นคิดและทำขึ้นมาเอง ในส่วนของการย้อมสีเส้นใย กรมหม่อนไหมมีการเก็บรวบรวมพรรณไม้ย้อมสีไว้ในหน่วยงานจำนวน 24 ชนิด กระจายไปทุกภาคของประเทศ โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์ช่วยอบรมถ่ายทอดความรู้ในการย้อมสี เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันเราต้องรู้ว่าเราต้องการอะไรที่แท้จริง (What they want?) และต่อไปข้างหน้าเราต้องพัฒนาอะไรต่อไปบ้างบนพื้นฐานของเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของผ้าไทยที่มีอยู่เดิม (Who we are?)

บรรยายพิเศษ “การตลาดยุคใหม่กับผ้าไทย”

                อาจารยฺ ดร.เอกก์ ภทรธนนกุล (อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ในส่วนของการตลาดผ้าไทยในปัจจุบันนอกจากที่เราจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้นแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในช่องทางการตลาดที่สำคัญก็คือ การหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การใช้สื่อออนไลน์ การใช้แฮชแทค แอพริเคชั่นจำหน่ายสินค้ามาทดแทนช่องทางการจำหน่ายแบบมีหน้าร้าน คนที่สามารถทำการตลาดผ้าไทยได้คือคนที่มีความสามารถทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายดังกล่าว ซึ่งอาจจะไม่มีความรู้เรื่องผ้าไทยก็ได้ แต่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาด การนำระบบของการสั่งจองสินค้าล่วงหน้า Booking system หรือแม้กระทั่งการนำสินค้าผ้าไทยไปร่วมกับธุรกิจอื่นๆเช่น โรงแรม ร้านอาหาร การท่องเที่ยว 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1046
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง