ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร
โดย พันเอก ดร. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจะพัฒนาจากการสื่อสารไปเป็นด้านพันธุวิศวกรรม
ปัจจุบันการพัฒนาของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารกำลังจะถึงจุดอิ่มตัว เช่น ขนาดความจุ ความเร็ว หรือ ค.ศ. 2030 จะไม่มีรถที่ใช้น้ำมัน เปลี่ยนแปลงไปเป็นรถไฟฟ้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของการพัฒนาเทคโนโลยีไปทางเกษตร ที่ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และจำนวนประชากร เช่น โครงการ C4 Rice Project ที่เป็นความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์จาก 12 สถาบัน ของ 8 ประเทศ เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงให้กับเกษตรกร ซึ่งจะเน้นพัฒนาข้าว ข้าวโพดที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับความแห้งแล้ง ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 การรับปรุงพันธุ์ข้าว ของโครงการ C4 Rice Project
ที่มา http://www.picb.ac.cn/PSB/uploads/130220/1-130220193036210.jpg
http://photosynthome.irri.org/c4j3/images/items/c4_rice/Picture2.png
การพัฒนาระบบโรงงานเพาะปลูกพืช (Plant factory) เป็นเทคโนโลยีการผลิตพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิด ดังภาพที่ 2 ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า Logistic สินค้าการเกษตร เนื่องจากพื้นที่แต่ละพื้นที่ไม่สามารถปลูกพืชได้ทุกชนิด
ภาพที่ 2 Plant factory สำหรับการปลูกพืช
ที่มา https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000003118706.JPEG
การทำ Genomic engineering การตัดต่อพันธุกรรมระดับจีโนมของพืช (Genome editing) เพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ ดังที่มีการตั้งเป้าหมาย ในภาพที่ 3
ภาพที่ 3 Time line ในการทำ Genome editing ของพืช
ที่มา https://www.researchgate.net/profile/Detlef_Bartsch/publication/325646520/figure/fig2/AS:638845410365450@1529324023522/Timeline-of-selected-traits-modified-by-genome-editing-in-plants-animals-and-for.png