เข้าร่วมเสนอผลงานวิจัย ณ Hokkaido University เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น
วันที่เขียน 20/9/2562 18:30:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 0:21:52
เปิดอ่าน: 1571 ครั้ง

ได้เข้าร่วมการประชุมและเสนอผลงานวิจัยในงาน 2019 International Joint Conference on JSAM and SASJ and CIGR VI Technical Symposium joining FWFNWG and FSWG Workshops ณ Hokkaido University เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2562 โดยนำเสนอรูปแบบโปสเตอร์ในกลุ่ม Functional/wellness foods ด้วยหัวข้อ Primary prebiotic properties of ethanolic sugar extract from groundnut seeds และมีผลงานร่วมกับนักศึกษาอีก 3 ผลงานในกลุ่ม Functional/wellness foods

ข้าพเจ้า คณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโทรวม 7 คนได้รับอนุมัติการเดินทางเพื่อเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานในที่ประชุมดังกล่าวนี้ ณ Hokkaido University เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2562 แต่การเดินทางครอบคลุมตั้งแต่วันที่ 1-10 กันยายน 2562

งานประชุมนี้ครอบคลุมศาสตร์หลายแขนงที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น Postharvest/Food technology, Process engineering, Food safety, Food quality, Functional/wellness foods & nutrition และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนตัวข้าพเจ้าได้เข้าร่วมนำเสนอรูปแบบโปสเตอร์ในกลุ่ม Functional/wellness foods ด้วยหัวข้อ Primary prebiotic properties of ethanolic sugar extract from groundnut seeds และมีผลงานร่วมกับนักศึกษาอีก 3 ผลงานในกลุ่ม Functional/wellness foods เช่นเดียวกัน ได้แก่หัวข้อ

  1. Investigation of some biological activities of local shallot (Allium ascalonicum Linn.) extract from Thailand
  2. Process optimization for antioxidant extraction from seed of soybean cultivar Chiang mai60
  3. Probiotic characterization of thermotolerant Lactobacillus johnsonii isolated from broiler intestine

งานประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักวิจัยจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ บัลแกเรีย ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและประเทศไทย เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยนั้นพบว่ามีนักวิจัยจากสถาบันอื่นเข้าร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี งานประชุมจัดได้อย่างเรียบง่ายแต่เข้มข้นในเชิงวิชาการ โดยวันที่ 4 กันยายน 2562 เข้าฟังบรรยายเปิดงานประชุมหัวข้อ Biotransformation in changing world: New challenges for feed scientists โดย Prof.Dr. Alaa El-Din Bekhit และจาก Prof. Dr. Akindele Folarin Alonge ในหัวข้อ Postharvest technology and food engineer role in agribusiness value chain in Africa จากนั้นเข้าฟังบรรยายกลุ่มย่อย Functional/ wellness food and nutrition ทั้งช่วงเช้าและบ่าย วันที่ 5 กันยายน 2562 ฟังบรรยายหัวข้อ Microbioligical risk of nonthermal food preservation technologies: outputs from high hydrostativ pressure studies and state of art โดย Prof. Dr. Amauri Rosenthal และหัวข้อ Microbial safety of traditionally fermented foods in East and South Asia โดย Prof.Dr.Anthony Mutukumiru แล้วเข้าฟังบรรยายกลุ่มย่อย Food safety จำนวน 5 หัวข้อ และร่วม Public symposium หัวข้อ The Food and agriculture organization of the United Nations (FAO) and world food security-targeting food loss and waste ส่วนในวันสุดท้าย (6 กันยายน 2562) ฟังบรรยายหัวข้อ An integrative R&D approach for addressing ever-increasing consumer demands for food nutrition and safety โดย Prof.Dr.Dongxiao Sun-Waterhouse และหัวข้อ Biosensing platforms for DNA, Viruses, Food toxicants and environmental contaminants โดย Prof.Dr.Geoffrey Waterhouse จากนั้นเข้าฟังบรรยายในกลุ่ม Functional/ wellness foods& Nutrition อีกครั้ง

          ข้าพเจ้าและคณะอาจารย์และนักศึกษาทุกคนได้รับประสบการณ์จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็นอย่างมาก นอกจากได้แลกเปลี่ยนความรู้ในงานวิจัยแล้ว ยังได้เห็นว่านักวิจัยในระดับนานาชาติเขากำลังทำอะไรกันอยู่ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม งานประชุมครั้งถัดไปซึ่งจะจัดขึ้นโดยคณะกรรมการชุดเดิมนี้จะมีขึ้นในปี 2022 ณ เมืองเกียวโต ข้าพเจ้าจึงมีแผนเข้าร่วมงานอีกครั้ง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1027
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 14:31:04   เปิดอ่าน 17  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:48:13   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 4:33:02   เปิดอ่าน 74  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง