|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (3) ภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี [3of5 / 2566]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ส่วนนำ
ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่
3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย)
3. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (3) ภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี
(ปี 2566=ภาพยนตร์ออนไลน์, ก่อนหน้านี้=ซีดีภาพยนตร์)
(1) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (กรณีภาพยนตร์ออนไลน์ต้องมี) โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording] หรือที่ขยาย เช่น ^h[videorecording-publicthai] ; ^h[videorecording-shortfilm]
(2) มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856 ด้วย
(3) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x (เช่น 691 ประเทศภาพยนตร์), Tag พิเศษ โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ) โดยTag 508,511,700,710 (ชื่อผู้กำกับ นักแสดง) และ 520 (เรื่องย่อ) อาจรวบรวมภายหลังจากแหล่งข้อมูลอื่น , Tag 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์ และ ^xภาพยนตร์[ขยาย] เช่น ^xภาพยนตร์ต่างประเทศฟรี ; ^xภาพยนตร์ไทยฟรี ; ^xภาพยนตร์สั้นออนไลน์ และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์
(4) ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, เข้า ALIST materialtype=VM (หมายเหตุ ตีความลงรายการว่าเป็นสื่อภาพยนตร์เป็นสำคัญ ไม่ใช่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์/ไฟล์คอมพิวเตอร์)
ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM
ที่สำคัญคือ
(1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) คือ 090 (call no.) ; [สื่อโสตทัศน์, OPAC กรองข้อมูล]
(2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบข้อมูล]
(3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xภาพยนตร์ [และที่ขยาย] ; 586 รางวัล Prize—xxx (ไม่เป็น tag ตาม authority control จึงสืบค้นจาก keyword access)
(4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) คือ 6xx (ประเภทภาพยนตร์, ประเทศ), 650 (รางวัล, รายได้), 650 หัวเรื่องตามเนื้อหา ซึ่งมีคำว่า “ในภาพยนตร์” ต่อท้าย
(5) ดรรชนีอื่นๆ (E) คือ 6xx (ภาพยนตร์ใหม่), xxx (Orderจัดหา)
[End]
|
คำสำคัญ :
งานเทคนิค (ห้องสมุด) ดัชนี ภาพยนตร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
241
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
7/9/2566 14:55:22
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:21:09
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคอลเลกชันภาพยนตร์ดีเด่น [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 3of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
ภาพยนตร์ดีเด่น ในฐานข้อมูล Film_OPAC (ภาพยนตร์ - ข้อมูลอ้างอิง) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ IMDb.com, BoxOfficeMojo.com, Wikipedia-best-films, RottenTomatoes, MetalCritics, Time, etc. (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (ถ้ามี), นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์, และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording], ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, ถ่ายเข้า Film_OPAC (Elib). [end]
|
คำสำคัญ :
งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
684
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:51:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/12/2567 0:36:33
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณี Online Clips และภาพยนตร์ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 1of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
งานสื่อโสตทัศน์ในระบบ ALIST (คลิป, ภาพยนตร์) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ตย. กรณีคลิปคือ Youtube.co, ภาพยนตร์ซีดี คือ IMDb.com, หนังดี.com, etc., ภาพยนตร์ฟรี คือ พระนครฟิล์ม, แหล่ง Public domain, etc. (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (ถ้ามี), นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videoclip youtube] หรือ ^h[videorecording-publicthai], ^h[videorecording-shortfilm] ฯลฯ แล้วแต่กรณี, โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลิป หรือ ^xภาพยนตร์, ^xภาพยนตร์ไทยฟรี, ^xภาพยนตร์สั้นออนไลน์ ฯลฯ แล้วแต่กรณี, ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, เข้า ALIST materialtype=VM
|
คำสำคัญ :
คลิป งานเทคนิค (ห้องสมุด) ภาพยนตร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1007
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:42:29
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/12/2567 0:22:27
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ กรณีรายการภาพยนตร์น่าสนใจในรอบปี [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 3of5 / 2564]
|
ที่มา
(1) กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) มีการสำรวจ ศึกษา ถึงสื่อภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ควรจัดหาเข้าห้องสมุด มีการประเมินสื่อที่มี-สื่อที่พึงมี และขนาดคอลเลคชันของห้องสมุดได้ชัดเจน เพื่อกำหนดทิศทางการจัดซื้อจัดหาสื่อเข้าห้องสมุด
(2) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น (1) สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกจัดซื้อ CD ที่มีคุณค่าในอนาคต (2) สามารถใช้งบประมาณจัดซื้อสื่อได้คุ้มค่า (3) วิเคราะห์และทำรายการ CD จัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีข้อมูล pre-catalog บางส่วนแล้ว (4) ผู้ใช้สามารถค้นหาสื่อที่ต้องการได้จากการทำรายการที่ละเอียดและมีดรรชนีเชิงลึก และผู้ใช้ทราบข้อมูลเพื่อแนะนำให้ห้องสมุดจัดซื้อได้
วิธีการ
(3) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มีคุณค่า ได้แก่ ได้รับรางวัล มีรายได้สูง และกรณีที่เป็นภาพยนตร์ไทย จะบันทึกรายการบรรณานุกรมค่อนข้างมากและสมบูรณ์ (2) กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ที่พบข้อมูลการฉายในไทย และที่มีการจำหน่าย CD ในร้านค้าของไทย โดยอาจรวมถึงที่มีการจัดหาในห้องสมุดไทยบางแห่งด้วย กลุ่มที่สองนี้จะบันทึกรายการบรรณานุกรมเพียงบางส่วน
(4) สร้างข้อมูลในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) หากในอนาคตมีการจัดหา CD ใดที่มีข้อมูลจัดทำไว้แล้ว สามารถถ่ายโอนเข้าฐานข้อมูลระบบ ALIST ของห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการสำรวจและรวบรวมรายชื่อ CD ที่มีคุณค่าและมีจำหน่ายในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาเข้าห้องสมุดต่อไป
ผลลัพธ์
(5) ห้องสมุดมีกระบวนการทำงานสื่อภาพยนตร์ที่นำการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Collection development) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และทำรายการ (Cataloging) มีการวางแผน เป้าหมาย ประเมินงานชัดเจน และบริการในเชิงรุก (เช่น จากรอรายชื่อ CD จัดซื้อจากร้าน คัดเลือกโดยไม่มีข้อมูลประเมินค่า CD ที่ชัดเจน มาเป็นการคัดสรร) และขยายขอบเขตบริการจากสื่อ CD ที่มีเพียงในห้องสมุด ไปสู่บริการสารสนเทศภาพยนตร์ในภาพรวมได้
(6) รายชื่อภาพยนตร์น่าสนใจดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) เมนูค้น “ภาพยนตร์แยกตามปี” ได้ทำรหัสดรรชนีไว้ว่า “Year=แนะนำ/รายได้ 2020/2563 B.E.” “Year=แนะนำ/รางวัล 2020/2563 B.E” และ “Year=แนะนำ/ไทย 2020/2563 B.E.” ได้จำนวนประมาณ 160 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 150 ชื่อเรื่อง) เมื่อเลือกเมนูแล้ว จะแสดงข้อมูลภาพยนตร์ที่ละเอียด
(7) ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์จากฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) ได้ โดยให้ข้อมูลที่ละเอียด และสามารถสืบค้นได้จากดรรชนีที่หลากหลาย อนึ่งฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลละเอียดกว่าแหล่งสารสนเทศภาพยนตร์อื่นๆ ในไทย เมื่อค้นหาจาก Google ว่าฐานข้อมุลภาพยนตร์ ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลแนะนำลำดับต้นๆ และยังเป็นการเพิ่มบริการของห้องสมุดที่ขยายขอบเขตบริการผู้ใช้จากข้อมูลที่มีภายในห้องสมุด ไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยู่ภายนอกห้องสมุดด้วย
-- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานเทคนิค (ห้องสมุด) ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1417
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
14/7/2564 10:06:42
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 19:04:05
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์สื่อภาพยนตร์ กรณี Online movies (free, public domain) [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 2of5 / 2564]
|
ที่มา
(1) ได้เคยนำเสนอภาพรวมในกิจกรรม KM ปีที่แล้ว ปีนี้นำเสนอเฉพาะงานเพิ่มเติมใหม่
(2) สื่อซีดีภาพยนตร์เริ่มมีการผลิตและร้านจำหน่ายลดลง ธุรกิจภาพยนตร์ออนไลน์แบบสตรีมมิงแพร่หลายมากขึ้น และภาพยนตร์ออนไลน์ฟรีผ่านอินเทอร์เน็ตแบบถูกลิขสิทธิ์มีให้บริการ รวมทั้งภาพยนตร์ฟรีแบบสมบัติสาธารณะ (public domain) ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ แต่เป็นสื่อที่ห้องสมุดทั่วไปยังไม่เคยศึกษาและจัดหามาบริการในห้องสมุด หรือพัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากรห้องสมุด (ที่ค้นจาก OPAC software ของห้องสมุด) ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้
(3) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น
วิธีการ
(4) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด (ปีที่แล้วเคยทดลองดำเนินการกับภาพยนตร์สตรีมมิง Monomax ไปจำนวนหนึ่ง และภาพยนตร์ไทยฟรีของ พระนครฟิล์ม ไปจำนวนหนึ่ง) (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--xxx และทำดรรชนีหัวเรื่องให้ตามสมควร ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหา (data, ทำนอง full text ของสิ่งพิมพ์) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก
หมายเตหุ กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) [จะกล่าวถึงในหัวข้อนำเสนอที่ 3]
ผลลัพธ์
(5) งานลักษณะใหม่คือ การวิเคราะห์สื่อภาพยนตร์ Online
(5.1) ภาพยนตร์เผยแพร่ฟรี เช่น พระนครฟิล์ม (รวบรวมปีที่แล้วส่วนหนึ่งในลักษณะทดลอง ปีนี้เพิ่มเติมเป็นคอลเลคชันจริง) รวบรวมได้ 70 เรื่อง หากเทียบ CD เรื่องละ 300 บาท เป็นมูลค่าประมาณ 21,000 บาท สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--ภาพยนตร์ไทยฟรี
(5.2) ภาพยนตร์สมบัติสาธารณะ (public domain) สำรวจพบทั้งภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ต่างประเทศ (มักเป็นขาวดำ) รวมทั้งภาพยนตร์สั้น ปีนี้ได้รวบรวมภาพยนตร์สั้นนำเสนอจำนวน 40 เรื่อง เน้นภาพยนตร์สั้นรางวัลออสการ์ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--ภาพยนตร์สั้นออนไลน์
(5.3) ภาพยนตร์ Online ระบบสมาชิก Streaming ปีที่แล้วได้เคยบริการของ Monomax แล้ว โดยคัดภาพยนตร์กลุ่มออสการ์/Top250 Imdb ; ปีนี้ได้ทดลองสร้างระเบียนสำหรับ Netflix โดยจะคัดภาพยนตร์ไทยประมาณ 200 เรื่อง แต่ในที่สุดไม่ได้จัดบริการ
-- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
|
คำสำคัญ :
งานเทคนิค (ห้องสมุด) ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1448
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
14/7/2564 10:04:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/12/2567 18:49:45
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ
ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2
- 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด
- 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน)
คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
|
คำสำคัญ :
การค้นคืนสารสนเทศ บริการบรรณานุกรม ภาพยนตร์ออนไลน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3222
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
27/8/2563 8:36:34
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:21:16
|
|
|
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง
»
KM ฐานข้อมูลภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 : สรุปประเด็นการนำเสนอ
|
จากสรุปผล KM ครั้งก่อนที่นำเสนอข้อมูลแบบทดสอบ Pre-test Post-test ซึ่ง
เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม
สรุปประเด็นที่ได้นำเสนอในกิจกรรม KM ครั้งที่ 1 มีดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย : การจัดกิจกรรมครั้งแรก มุ่งถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ
เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรห้องสมุด ที่ทำหน้าที่ให้บริการยืมคืน CD ภาพยนตร์ และ
บรรณารักษ์ที่อาจทำหน้าที่บริการและช่วยการค้นคว้าสื่อ CD ภาพยนตร์ หรือ
การประยุกต์แนวคิดการวิเคราะห์และทำรายการสื่อ ดรรชนีสื่อภาพยนตร์ ไปใช้ประโยชน์
2. การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร : โดยที่การสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์
ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ในการนี้กล่าวถึงเพึยง 2 ประการ
คือ (1) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด เช่น ALIST, Film_OPAC, Innopac (ตัวอย่าง
จากห้องสมุดอื่น) และ (2) ข้อมูลการวิเคราะห์และทำรายการของบรรณารักษ์ ว่ามีความละเอียด
ลึกซึ้งเพียงใด มีการออกแบบระบบข้อมูลบรรณานุกรมและดรรชนีที่เอื้อต่อการสืบค้นด้วยช่องทาง
ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ฯ ไม่ว่าจะดูแลสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศของ
ห้องสมุดประเภทใด สามารถศึกษาและนำไปพัฒนางานตนเองได้ โดยที่โปรแกรมห้องสมุดอาจ
เป็นเงื่อนไขที่บรรณารักษ์ปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่งานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของ
บรรณารักษ์เองอยู่ในเงื่อนไขที่บรรณารักษ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับ
โปรแกรม Film_OPAC ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาขึ้นนี้ เป็นเครื่องมือช่วยการ
บริการผู้ใช้ได้สอดคล้องกับสารสนเทศสื่อภาพยนตร์มากกว่าระบบโปรแกรม ALIST ที่ห้องสมุด
ใช้งานอยู่ หรือโปรแกรมระบบงานห้องสมุดต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยเน้นหนังสือเป็นหลัก (เช่น Innopac)
3. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด : กรณีสื่อ CD ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
แม่โจ้ สามารถพัฒนาขนาดคอลเลคชัน (size or scope) จำนวนประมาณ 3,200 ชื่อเรื่อง
จัดอยู่ในลำดับ 6 (โดยประมาณ) ของประเทศ ส่วนการพัฒนาสารสนเทศภาพยนตร์ หรือข้อมูล
บรรณานุกรมสื่อ มีความละเอียดมากกว่าห้องสมุดแห่งอื่น จัดอยู่ในลำดับ 1 ของประเทศ โดยใน
ส่วนฐานข้อมูล Film_OPAC เอง เมื่อสืบค้นจาก Search engine คือ Google ด้วยคำค้น
เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ พบว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดคือ Film_OPAC นำเสนอในลำดับ
ต้นๆ ในผลลัพธ์การค้นของ Google
4. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC เป็นผลลัพธ์จากงานพัฒนาคอลเลคชัน และ
งานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ ซึ่งประสิทธิภาพการสืบค้นและนำเสนอสารสนเทศภาพยนตร์
ด้วยช่องทางสืบค้นและดรรชนีต่างๆ นั้น ได้มีการนำเสนอความรู้ระดับพื้นฐาน และได้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้กันในระดับเบื้องต้น เช่น ดรรชนีแบบจัดเตรียมรายการไว้ให้ (directory search) ดรรชนี
ระบุคำค้น (word search) ของสารสนเทศภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อนักแสดง ชื่อผู้กำกับ
ประเทศ ประเภทภาพยนตร์ (genre) รางวัลภาพยนตร์ รายได้ภาพยนตร์ เนื้อหาภาพยนตร์
ที่ค้นได้จากคำ keywords และหัวเรื่อง โดยเทียบเคียงระบบ Film_OPAC กับ ALIST ด้วย
5. ตามหลักการ KM 4 ระดับคือ (1) Know what (2) Know how (3) Know why
(4) Care why นั้น กิจกรรม KM ครั้งนี้มุ่งเพียง Know what ว่าข้อมูลภาพยนตร์ในระบบ
โปรแกรม ALIST และ Film_OPAC คืออะไร ให้ข้อมูลอะไร และ Know how ในส่วนวิธี
การสืบค้นด้วยดรรชนีต่างๆ ระดับเบื้องต้น (basic) อย่างสังเขปเท่านั้น ส่วนความรู้
ที่เป็น Know how ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น วิธีการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ วิธีการจัดซื้อจัดหาสื่อ
วิธีการวิเคราะห์และทำรายการ หรือการจัดทำดรรชนีเป็นอย่างไร และความรู้
ระดับ Know why ว่าสาเหตุใดจึงทำดรรชนีเช่นนั้น ตลอดจนความรู้ระดับ Care why ว่า
ระบบดรรชนีและโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างไร และจะพัฒนาระบบดรรชนีต่อไปเช่นไรนั้น จะมี
การนำเสนอในกิจกรรม KM ในอนาคต.
---end
|
คำสำคัญ :
การบริหารองค์ความรู้ ฐานข้อมูล บริการสื่อโสตทัศน์ ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1999
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/4/2563 15:39:51
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:20:25
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
|
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/)
ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ
แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test)
หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์
18 พฤศจิกายน 2562
----------------------------------
ชื่อผู้ทดสอบ ……………………………………………………
1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์
[…] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand
2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ………………
3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles)
4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2
5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ)
[…] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ)
[…] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่
6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
………………………………………. …………………………………………….
………………………………………. …………………………………………….
7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์)
(ตอบได้>1) …………………… ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1)
…………………… …………………. ………………… ………………
…………………… …………………. ………………… ………………
9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา
ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น …………………………………………….
10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
………………………………………. …………………………………………….
………………………………………. …………………………………………….
------------------------
แนวคำตอบ
1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์
[…] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand
2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS]
3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok]
4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
[…] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2
5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ)
[./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ)
[…] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่
6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
…OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น ………….
…แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….…………………………….
7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์)
(basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่
(add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ
รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร.
8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1)
คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง
Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม
Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App.
9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา
ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ ….
10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1)
1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย
2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ
3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้)
4. อื่นๆ (ระบุ) …………………………………………………………………………………..
------------------------
|
คำสำคัญ :
KM การจัดการความรู้ ฐานข้อมูล ดรรชนี บริการของห้องสมุด ภาพยนตร์ สื่อโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2423
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/11/2562 9:34:01
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:20:57
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ดีเด่น : งานเทคนิคห้องสมุด : Flow chart ขั้นตอนงานแบบพิเศษ
|
สำนักห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรภายในใหม่ งานด้านบริการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศหลักที่ผู้ใช้นิยมใช้งานคือภาพยนตร์นั้น ได้ปรับเปลี่ยนสายงานไปอยู่ภายใต้สายงานใหม่ และทีมงานในสายงานใหม่ได้มีการประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพระหว่างกัน ผู้เขียน blog ได้นำเสนอประเด็นงานหนึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนงานเทคนิคห้องสมุดเพื่อจัดทำคอลเลคชันและฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุดต่างๆ โดยทั่วไป
ในการนำเสนอขั้นตอนงาน ได้มีการจัดทำแผนผังงาน Flow chart ประกอบ แสดงขั้นตอนงานแบบพิเศษ (ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ผู้เขียน blog รับผิดชอบ) ที่มีการจัดการฐานข้อมูลปกติของห้องสมุด (ระบบโปรแกรม ALIST) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (ระบบโปรแกรม CDS/ISIS, Elib) รายละเอียดมีค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามได้คัดขั้นตอนงานโดยสรุปมานำเสนอ เพื่อผู้สนใจสามารถมองเห็นประเด็นหรือแนวทางเบื้องต้นของขั้นตอนงานแบบพิเศษนี้ได้
อนึ่ง การนำเสนอข้อมูลในเวที KM web ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจไม่รองรับการนำเสนอภาพ Flow chart หรือภาพ scan ผู้เขียนจึงเสนอเพียงข้อความเท่านั้น
ขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ดีเด่น แบบพิเศษ
0 ข้อมูลเบื้องต้น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (CDS/ISIS) ฐาน Film
1 คัดเลือกการนำเข้าคอลเลคชัน
2 ตรวจสอบการซ้ำซ้อนข้อมูลที่มี
3 (ถ้าซ้ำ Copy) พิจารณาจะเพิ่มหรือไม่
4 กำหนดเลขรหัส CDT (เลข CDT ตามเดิม กรณีซ้ำ ; เลข CDT ใหม่ กรณีไม่ซ้ำ)
5 ตรวจสอบข้อมูลว่ามีในฐานข้อมูล Film หรือไม่
6 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) วิเคราะห์และทำรายการบรรณานุกรม MARC
7 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล Film
8 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
9 บันทึกข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา หัวเรื่อง ฯลฯ
10 คัดเลือกและถ่ายข้อมูลรายการเข้าฐานห้องสมุด ด้วยไฟล์ ISO-2709 data exchange format
ก. ฐานข้อมูลห้องสมุดระบบหลัก (ALIST)
ข. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) (Elib)
ค. ฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น Video on demand (VOD) (TASLiB) ; UC (union catalog)
11 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเพิ่มเติม เช่น การถ่ายโอน รหัสคอลเลคชัน ภาพปก
12 จัดเตรียมตัวสื่อ เช่น สติกเกอร์ บาร์โคด ชั้นวาง
13 บันทึกข้อมูลรายการสื่อแต่ละชิ้น (Item) ในระบบ ALIST
14 จัดทำข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ภาพปก แฟ้มช่วยค้น ป้าย ปชส
15 บำรุงรักษาฐานข้อมูล (สำเนา, update, edit)
16 ประเมินงาน สถิติ รายงาน วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนางาน
ข้อมูลโดยละเอียดมีมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นแง่สื่อภาพยนตร์ แง่การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร แง่การจัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือต่างสถาบัน หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
|
คำสำคัญ :
Flow chart การพัฒนาคอลเลคชันห้องสมุด ฐานข้อมูล ผังงาน ภาพยนตร์ วิธีทำงาน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2279
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 17:22:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:20:56
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ภาพยนตร์เป็นทรัพยากรห้องสมุดที่มีคุณค่า สามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ที่มี 5 ประการคือ การให้ความรู้ (education) ข่าวสาร (information) วิจัย (research) ความบันดาลใจ (inspiration) และนันทนาการ (recreation) หรือ EIRIR ได้หลายข้อ โดยเฉพาะด้านการให้ความรู้ นันทนาการพักผ่อนหย่อนใจ และความบันดาลใจ ทิศทางของบริการภาพยนตร์ในห้องสมุดต่างๆ ก็ให้ความสำคัญและมีการจัดซื้อจัดหามาบริการผู้ใช้ในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ให้มีจำนวนมากขึ้น และคัดสรรภาพยนตร์ที่มีคุณค่ามาบริการผู้ใช้มากขึ้น จัดระบบสารสนเทศภาพยนตร์ให้มีความละเอียดสำหรับการสืบค้นเรื่องที่ต้องการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการสืบค้นให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นจากการใช้โปรแกรมสืบค้น OPAC แบบปกติของห้องสมุด โดยตั้งชื่อว่า “ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น”
ผู้สนใจสามารถใช้งานบริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้ที่ https://lib.mju.ac.th/film/ หรือสามารถพิมพ์คำค้นจาก Google เช่น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ หรือ แม่โจ้ ภาพยนตร์ เป็นต้น ระบบสืบค้นของ Google ก็จะแสดงข้อมูลเว็บต่างๆ ซึ่งเว็บเพจฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอันดับผลการสืบค้นที่ดี สามารถขึ้นเป็นลำดับที่ 1 ของแหล่งข้อมูลในไทยได้
การใช้งานจะมีเมนูต่างๆ ให้ผู้สนใจเลือกค้นหาได้หลากหลายลักษณะ นักศึกษา คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกหาภาพยนตร์ที่ต้องการชมหรือใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งจากชื่อเรื่อง หรือจากคำค้นอื่นๆ เช่น รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รางวัลภาพยนตร์ หัวข้อเรื่องที่ต้องการ เช่น ครู การศึกษา เกษตรกร นักธุรกิจ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ
ข้อมูลโดยละเอียดยังมีอีกมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจใช้สื่อภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นด้านความบันเทิงหรือด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นแง่ส่วนบุคคลหรือแง่การเรียนการสอนทางวิชาการหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัธยาศัย หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
|
คำสำคัญ :
ฐานข้อมูล ดรรชนี บริการของห้องสมุด ภาพยนตร์ สื่อโสตทัศน์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2372
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 16:49:03
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/12/2567 2:53:18
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาโปรแกรมสืบค้นสื่อภาพยนตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [โดย สุธรรม อุมาแสงทองกุล และ ณัฐชาพงษ์ รักสกุลกานต์]
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็กสำหรับสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการศึกษาสืบเนื่องจากงานวิจัยเดิมที่ศึกษาเรื่องฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาซอฟต์แวร์ มุ่งสร้างผลผลิตคือโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ไม่รวมถึงส่วนยืม-คืน และไม่รวมส่วนบันทึกข้อมูลที่ห้องสมุดใช้งานด้วยโปรแกรมอื่น ประเมินผลโดยผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในงานสาขาโสตทัศนศึกษา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ 15 คน และนักศึกษาที่สุ่มแบบบังเอิญ 3 คน รวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ชื่อ Film_opac พัฒนาด้วยภาษา PHP เรียกใช้
แฟ้มตารางข้อมูลของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MS-SQL ที่ออกแบบฐานข้อมูลโดยโปรแกรม Elib เมื่อพัฒนาโปรแกรมสืบค้นแล้วเสร็จได้จัดบริการ ณ http://library.mju.ac.th/film/index.php
2. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับคุณสมบัติ (specification) ของโปรแกรมที่กำหนดไว้ โดยระบุคุณสมบัติด้านข้อมูล 8 ข้อ คุณสมบัติด้านการออกแบบกราฟิกและระบบยูสเซอร์
อินเทอร์เฟส 7 ข้อ และคุณสมบัติด้านด้านการสืบค้น 7 ข้อ
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งาน พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจโปรแกรมในด้านการออกแบบระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสโดยรวมในระดับมาก (Mean 3.81, S.D. 0.71) และด้านการสืบค้นข้อมูล โดยรวมในระดับมาก (Mean 3.94, S.D. 0.72)
คำสำคัญ : โปรแกรมห้องสมุด ; การสืบค้นสารสนเทศ ; ภาพยนตร์
|
คำสำคัญ :
การสืบค้นสารสนเทศ โปรแกรมห้องสมุด ภาพยนตร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3023
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:41:12
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/12/2567 20:13:55
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การประเมินคอลเลคชันสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ : การศึกษาเปรียบเทียบ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับห้องสมุดอื่น
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัยครั้งนี้ (2) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับคอลเลคชันของห้องสมุดอื่นที่ต้องการเทียบเคียง ในด้านจำนวนสื่อภาพยนตร์ (คอลเลคชันแต่ละแห่ง) และด้านข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ (ความละเอียดของข้อมูลบรรณานุกรม) โดยมีสมมติฐานว่า (1) จำนวนสื่อภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐาน และ (2) จำนวนสื่อภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนสื่อโดยเฉลี่ยที่มีในห้องสมุดต่างๆ ที่เปรียบเทียบกัน การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยหลักเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยสำรวจจำนวนสื่อ
ภาพยนตร์ที่เป็นคอลเลคชันในห้องสมุดต่างๆ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาลักษณะข้อมูลการทำรายการสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดต่างๆ ผ่านบริการสืบค้นข้อมูล OPAC (online public access catalog) ของห้องสมุดที่ต้องการเทียบเคียงกัน ประชากร คือรายการข้อมูลบรรณานุกรมภาพยนตร์ในฐานข้อมูลห้องสมุด แหล่งประชากร คือ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับพัฒนาคอลเลคชันสูง โดยสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 4 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีก 1 แห่ง รวม 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) โปรแกรม CDS/ISIS, โปรแกรม Film_opac ที่ใช้งานบนโปรแกรม Elib (2) รายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัย และ (3) แบบบันทึกข้อมูลการทำรายการบรรณานุกรมของห้องสมุดต่างๆ (ความละเอียดของข้อมูล) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ข้อมูลภาพยนตร์จัดทำบนโปรแกรม CDS/ISIS และถ่ายข้อมูลบริการบนเว็บ ณ http://library.mju.ac.th/film/index.php มีจำนวน 12,958 รายชื่อ ในจำนวนนี้เป็นภาพยนตร์ดีเด่น ตามเกณฑ์ 5,214 รายชื่อ (ร้อยละ 40.24) เมื่อคัดกรองรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นเพื่อใช้ในการวิจัยคงเหลือ 2,924 รายชื่อ เป็นภาพยนตร์ไทยร้อยละ 15.94 ภาพยนตร์ต่างประเทศร้อยละ 84.06 เป็นภาพยนตร์ในช่วงปี 1970-1999 ร้อยละ 49.01, ปี 2000-2009 ร้อยละ 31.46 และปี 2010-ปัจจุบัน ร้อยละ 19.53 ประเภทภาพยนตร์ที่มีมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ ภาพยนตร์ชีวิต ภาพยนตร์ตลกขบขัน ภาพยนตร์ต่อสู้ ภาพยนตร์ผจญภัย และภาพยนตร์รัก
2. เกณฑ์ในการกำหนดภาพยนตร์ดีเด่นที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) ภาพยนตร์ไทยรางวัลสำคัญ 4 รางวัล (2) ภาพยนตร์รางวัลออสการ์ ช่วง 1970-ปัจจุบัน ตามสาขาที่กำหนด (3) ภาพยนตร์ลำดับคะแนนสูง Top 250 จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลภาพยนตร์ IMDb.com (4) ภาพยนตร์รายได้สูง จากเว็บไซต์ Mojo.com
3. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับเกณฑ์หรือรายชื่อสื่อที่มีมาตรฐาน พบว่า มีในคอลเลคชันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 909 รายชื่อ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.09 ของภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50.00 การทดสอบสมมติฐานข้อ 1 จึงปฏิเสธสมมติฐาน
4. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของคอลเลคชันห้องสมุด 5 แห่ง คือ 909 : 1057 รายชื่อ จึงมีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 148 รายชื่อ โดยสัดส่วนภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุดคิดเป็นร้อยละ 86.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 75 เมื่อทดสอบสมมติฐานข้อ 2 จึงยืนยันสมมติฐาน
5. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ 2 แห่ง (IFLIX, Hollywood-HDTV) คือ 909 : 454 หรือ 1 : 0.5 หรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีขนาดคอลเลคชันใหญ่กว่า 2 เท่า
6. การประเมินข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุด 5 แห่งคือ 17 ข้อ: 12.2 ข้อ สรุปว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการลงรายการข้อมูลภาพยนตร์ละเอียดกว่าห้องสมุดอื่น
คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ; การเทียบเคียงสมรรถนะ ; มาตรฐานห้องสมุด
|
คำสำคัญ :
การเทียบเคียงสมรรถนะ การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ภาพยนตร์ มาตรฐานห้องสมุด
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3093
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:36:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:15:29
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
ดรรชนีและหัวเรื่องสำหรับสารสนเทศภาพยนตร์ : กรณีศึกษา ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศ
ภาพยนตร์ (2) เพื่อทดลองนำดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศภาพยนตร์ไปใช้ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) เพื่อสร้างบัญชีคำหัวเรื่องสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยการทำรายการและการสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ การวิจัยหลักเป็นการวิจัยเอกสาร ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อภาพยนตร์ สร้างคำดรรชนีหัวเรื่อง รวบรวมหัวเรื่องซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยมาวิเคราะห์ และสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ขึ้น
เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนีสำหรับภาพยนตร์ แบบบันทึกรายการคำดรรชนีลักษณะควบคุมรายการหลักฐาน (authority control) และโปรแกรมจัดการด้านข้อมูลต่างๆ คือ CDS/ISIS, Elib, Film_opac, Microsoft Word สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
การใช้แบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนี ที่ศึกษาวิเคราะห์ดรรชนีภาพยนตร์ 6 ประเด็นคือ (1) องค์ประกอบสารสนเทศภาพยนตร์ (2) เขตข้อมูล MARC tag (3) รูปแบบคำดรรชนีที่ใช้ (4) ลักษณะดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือแฟ้มข้อมูลดรรชนีผกผันและระบบควบคุมรายการหลักฐาน (5) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นตามช่องทางเข้าถึง (6) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นด้วยคำสำคัญ สามารถกำหนดดรรชนีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาภาพยนตร์ได้ 5 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นดรรชนีแบบหัวเรื่อง ได้แก่ (1) ดรรชนีเนื้อเรื่อง (2) ดรรชนีประเทศภาพยนตร์ (3) ดรรชนีประเภทหรือแนวภาพยนตร์ (4) ดรรชนีรางวัลภาพยนตร์ (5) ดรรชนีรายได้ภาพยนตร์ การทดลองนำไปใช้งานจริงกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งให้บริการ ณ เว็บไซต์ https://library.mju.ac.th/film/ การวิจัยพบว่าเมื่อได้ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มี
คุณสมบัติรองรับดรรชนีทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ของดรรชนีสารสนเทศ
ภาพยนตร์ได้ สำหรับหัวเรื่องที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์และทำรายการภาพยนตร์ดีเด่น พบว่านำมาสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ได้ โดยมีหัวเรื่อง 2,604 คำ เป็นหัวเรื่องที่มีการใช้บ่อยครั้ง 757 คำ และมีรายการโยงแบบ “ดูที่” 570 คำ
คำสำคัญ : ดัชนี ; หัวเรื่อง ; ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การทำรายการทางบรรณานุกรม ; การสืบค้นสารสนเทศ
|
คำสำคัญ :
การทำรายการทางบรรณานุกรม การสืบค้นสารสนเทศ ฐานข้อมูล ดัชนี ภาพยนตร์ หัวเรื่อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3165
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:34:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:15:27
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นจากบริการห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภท
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมและคัดเลือกรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ควรจัดบริการในห้องสมุด (2) เพื่อสำรวจการเข้าถึงภาพยนตร์ดีเด่นจากห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภทที่น่าสนใจ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น แหล่งประชากรคือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (8 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (3 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (2 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ (ถูกลิขสิทธิ์) (3 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ (3 แห่ง) เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS ของ Unesco, Elib, FilmOPAC สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยมีดังนี้
1. รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รวบรวมได้ 4,750 รายชื่อ นำเสนอไว้ในฐานข้อมูลภาพยนตร์
ดีเด่น (https://library.mju.ac.th/film/)
2. เกณฑ์การกำหนดรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น คือ (1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ เน้นภาพยนตร์อเมริกัน (2) ภาพยนตร์ได้รับรางวัล (3) ภาพยนตร์ได้รับการจัดลำดับให้เป็นภาพยนตร์ดีหรือน่าสนใจโดยแหล่งที่น่าเชื่อถือ (4) ภาพยนตร์ทำรายได้สูงจากการฉาย (5) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ของประเภท/แนวภาพยนตร์ และช่วงปี (6) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ตามหัวข้อเนื้อหา (topics) หัวเรื่อง
3. การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่น 4,750 เรื่อง พบว่า แหล่งที่มีภาพยนตร์ดีเด่นจากมากไปน้อยคือ (1) ห้องสมุด (62.15%) (2) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น 037hd.com) (52.36%) (3) แหล่งจำหน่ายภาพยนตร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น LineDVD.com) (49.71%) (4) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ถูกลิขสิทธิ์ (เช่น CAP, LidoDVD) (37.54%) และ (5) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (เช่น IFLIX) (15.41%) ตามลำดับ ผลรวมของจำนวน
ภาพยนตร์ดีเด่นที่พบในทุกแหล่งหลังหักรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว มีจำนวน 3,488 รายชื่อ (73.43% ของรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด) หรือในทางตรงข้ามคือ รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ไม่พบในแหล่ง
ข้อมูลใดๆ จำนวน 1,262 รายชื่อ (26.57%)
คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; แหล่งสารสนเทศ ; ฐานข้อมูล ; การเข้าถึงสารสนเทศ ; การพัฒนาคอลเลคชัน
|
คำสำคัญ :
การเข้าถึงสารสนเทศ การพัฒนาคอลเลคชัน ฐานข้อมูล ภาพยนตร์ แหล่งสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2731
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:25:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:15:26
|
|
|