รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : ดัชนี
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (5) บทความวารสาร [5of5 / 2566]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ส่วนนำ ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่ 3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย) 5. การทำดรรชนีวารสาร (งานที่รับผิดชอบเพียงขั้นตอนการกำหนดหัวเรื่อง ไม่รวมการกรอกข้อมูลสร้างระเบียนเอกสาร) (1) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100, 245, 773, 260(เฉพาะปี), 6xx, 500, โดย 245^h ไม่มี (หากจะกำหนด อาจใช้ ^h[article] แต่ทั้งนี้ก็ต้องเพิ่มข้อมูลแก่ระเบียนเดิมทั้งหมด) (2) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090(เลขชั้น), 590, 040 (3) ส่วน 008 ชนิด BK, leader=nab, เข้า ALIST materialtype=[บทความ] ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM ที่สำคัญคือ (1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) [บทความ ; OPAC กรองข้อมูล] (2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบเอกสาร] (3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ ชื่อวารสาร+ปีที่,ฉบับที่ (ทั้งนี้ต้อง set ระบบการจัดการดรรชนี ของระบบ ALIST ให้เหมาะสมด้วย) (4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) [มักได้หัวเรื่องใหม่ นำเสนอในบัญชีหัวเรื่องภ.ไทย] (5) ดรรชนีอื่นๆ (E) (ถ้ามี) [End]
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ดัชนี  บทความ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 266  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 14:59:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:21:10
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (4) การรวบรวมเอกสารคลังปัญญาแม่โจ้ (เพิ่มเติม) [4of5 / 2566]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ส่วนนำ ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่ 3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย) 4. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (4) การรวบรวมเอกสารคลังปัญญาแม่โจ้ [เพิ่มเติม] (กรณีเอกสารออนไลน์แหล่งอื่น) ในที่นี้ (ปี 2566) นำเสนอเฉพาะเอกสารออนไลน์ที่ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นภายนอกห้องสมุด ม.แม่โจ้ (1) Tag สำคัญที่ใช้คือ 100, 245, 246, 260, 300, 520, 502 (หมายเหตุวิทยานิพนธ์), 700, 710, 650, 6xx, 856 โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-pdf] (หมายเหตุ : ข้อมูลที่นำเข้าระบบตามโครงการ/กิจกรรมรวบรวมเอกสารฯ เป็นการทำรายการเบื้องต้น (pre-catalog)) (2) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040 (หมายเหตุ pre-catalog), 6xx ทั้งนี้ 6xx โดยเฉพาะ 650 หัวเรื่องทั่วไปจะได้คำเบื้องต้นมาจากห้องสมุดแหล่งข้อมูลด้วย, Tag 650 ดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลังปัญญาสถาบัน (พิเศษ) และ 710 ควรกำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aมหาวิทยาลัยแม่โจ้^x[...หัวเรื่องย่อย...] (3) ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM ที่สำคัญคือ (1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) คือ [วิจัย/วิทยานิพนธ์ ; OPAC กรองข้อมูล], [แยกชั้น คอลเลกชัน ของสายงานจดหมายเหตุ ม.แม่โจ้] (2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) คือ 100/700 (ผู้แต่งบุคลากร ม.แม่โจ้), 110/710 (ผู้แต่งสถาบัน ม.แม่โจ้), 6xx (หัวเรื่อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และส่วนขยาย) (3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xคลังปัญญา (พิเศษ) (4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) [กรณีหัวเรื่องเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ จัดอยู่ในข้อ (2) แล้ว] (5) ดรรชนีอื่นๆ (E) เช่น xxx (สาขาวิชาที่เปิดสอนของ ม.แม่โจ้) [End]
คำสำคัญ : คลังปัญญาสถาบัน  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ดัชนี  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 14:57:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 14:19:40
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (3) ภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี [3of5 / 2566]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ส่วนนำ ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่ 3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย) 3. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (3) ภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี (ปี 2566=ภาพยนตร์ออนไลน์, ก่อนหน้านี้=ซีดีภาพยนตร์) (1) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (กรณีภาพยนตร์ออนไลน์ต้องมี) โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording] หรือที่ขยาย เช่น ^h[videorecording-publicthai] ; ^h[videorecording-shortfilm] (2) มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856 ด้วย (3) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x (เช่น 691 ประเทศภาพยนตร์), Tag พิเศษ โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ) โดยTag 508,511,700,710 (ชื่อผู้กำกับ นักแสดง) และ 520 (เรื่องย่อ) อาจรวบรวมภายหลังจากแหล่งข้อมูลอื่น , Tag 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์ และ ^xภาพยนตร์[ขยาย] เช่น ^xภาพยนตร์ต่างประเทศฟรี ; ^xภาพยนตร์ไทยฟรี ; ^xภาพยนตร์สั้นออนไลน์ และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์ (4) ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, เข้า ALIST materialtype=VM (หมายเหตุ ตีความลงรายการว่าเป็นสื่อภาพยนตร์เป็นสำคัญ ไม่ใช่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์/ไฟล์คอมพิวเตอร์) ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM ที่สำคัญคือ (1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) คือ 090 (call no.) ; [สื่อโสตทัศน์, OPAC กรองข้อมูล] (2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบข้อมูล] (3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xภาพยนตร์ [และที่ขยาย] ; 586 รางวัล Prize—xxx (ไม่เป็น tag ตาม authority control จึงสืบค้นจาก keyword access) (4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) คือ 6xx (ประเภทภาพยนตร์, ประเทศ), 650 (รางวัล, รายได้), 650 หัวเรื่องตามเนื้อหา ซึ่งมีคำว่า “ในภาพยนตร์” ต่อท้าย (5) ดรรชนีอื่นๆ (E) คือ 6xx (ภาพยนตร์ใหม่), xxx (Orderจัดหา) [End]
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ดัชนี  ภาพยนตร์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 241  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 14:55:22  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:21:09
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (2) เอกสาร Green [2of5 / 2566]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ส่วนนำ ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่ 3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย) 2. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (2) เอกสาร Green (บทความจาก ThaiJo, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี, คลิป) (1) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100 (กรณีคลิป มักไม่พบ), 245, 246, 260, 300, 520, 700/710, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-article] กรณีบทความ PDF หรือ ^h[electronic resource-pdf] กรณีหนังสือ PDF หรือ ^h[electronic resource-youtube] กรณีคลิป (2) 500 (ใช้แทน 773) (กรณีบทความจาก ThaiJo) (3) มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, 856 URL link ไปยังบทความ, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, คลิป แล้วแต่กรณี (4) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x (ถ้ามี) โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมสำคัญคือ ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xนโยบายสีเขียว [มีจำแนกย่อยตามปีทำงานด้วย] ส่วนชนิดหรือประเภทของสื่อ ก็ลงรายการตามปกติ เช่น ^aห้องสมุด^xคอลฯ^xคลิป/หรือ บทความอิเล็กทรอนิกส์/หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (5) ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM ที่สำคัญคือ (1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) [ไม่ได้แยกชั้น/คอลเลกชันตัวเล่มเป็นกลุ่มพิเศษ] (2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบข้อมูล] (3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xนโยบายสีเขียว และเพิ่มเติมตามชนิดสื่อในบางกรณี คือ650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xคลิป/หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/หรือ บทความอิเล็กทรอนิกส์ฟรี (4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน) (D) คือ650 ^aGreen policy^x[แยกย่อย ตามบัญชีคำควบคุม] (5) ดรรชนีอื่นๆ (E) (ถ้ามี) [End]
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ดัชนี  นโยบายสีเขียว  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 245  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 14:52:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:21:07
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (1) คลิป [1of5 / 2566]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหาในชุดนี้ (งานตาม TOR ปี 2566) มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรร KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2566 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ส่วนนำ ดรรชนีในงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของงานด้านโสตทัศน์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้นำเสนอดรรชนีที่ใช้แยกกลุ่ม/คอลเลกชัน, แยกกลุ่มเนื้อหาย่อยในแต่ละคอลเลกชัน (เช่น เอกสาร Green), แยกเล่ม (เช่น วารสาร Vol,No), แยกหน่วยงาน (เช่น คลังปัญญา), แยกดรรชนีพิเศษเฉพาะสื่อ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้คือทราบว่าเป็นสื่อประเภทใด (แต่ละประเภทมีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะตัว, ทราบกฎระเบียบการใช้หรือยืมใช้, ฯลฯ) ในแง่สารสนเทศศาสตร์จะอำนวยประโยชน์ในด้าน (1) การสืบค้นข้อมูล เช่น การสืบค้นตามกลุ่มเอกสาร/คอลเลกชัน, การสำรวจจำนวนสื่อที่มีโดยง่าย, การกรองข้อมูลของ ALIST ด้วย Leader, MaterialType, การกรองข้อมูลด้วยการสืบค้นบูลีนเชื่อมคำค้น (2) ความเป็นมาตรฐานของข้อมูล รูปแบบเดียวกัน, รายการโยง, ผู้ใช้ไม่สับสน (3) ความสม่ำเสมอและครบถ้วนในการทำดรรชนีของบรรณารักษ์ การทำดรรชนีเชิงลึก (4) การควบคุมทางบรรณานุกรม (bibliographic control) เช่น เอกสารของ/เกี่ยวกับ มจ. เอกสารเฉพาะคอลเลกชัน (5) การแสดงถึงคุณภาพและความเป็นมืออาชีพของวิชาชีพบรรณารักษ์ (6) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (7) อื่นๆ เช่น ดรรชนีที่เหมาะสมกับเอกสารแต่ละประเภทหรือหัวข้อ/สาขา สถิติและรายงาน การพัฒนาบริการใหม่ๆ เช่น คลิปดิจิทัล บทความดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเอกสารในทันที บริการบรรณานุกรมผู้ใช้ (เช่น ภาพยนตร์ใหม่) การเพิ่มเติมหัวเรื่องใหม่เมื่อพบเอกสารเนื้อหาใหม่ๆ ตามสื่อชนิดหรือหัวข้อใหม่ 3. ส่วนงานย่อยตาม TOR (นำมาจากเนื้อหาในหัวข้อเอกสารแต่ละ TOR ย่อย) 1. ดรรชนีที่จัดทำและลักษณะเด่นตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด (1) คลิป (1) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 520, 700, 710, 856 โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videoclip youtube] (กรณีสื่อซีดีวิชาการเดิม ใช้ ^h[videorecording]) (2) มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และ URL link 856 (3) ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลิป (4) ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF ลักษณะดรรชนีจำแนกกลุ่ม/คอลเลกชัน/การควบคุมรูปคำศัพท์ควบคุม/ฯลน ตาม KM ที่สำคัญคือ (1) ดรรชนีชนิดสื่อ/คอลเลกชัน (A) คือ 09x (call no.) [สื่อคอมพิวเตอร์, OPAC กรองข้อมูล] (2) ดรรชนีเกี่ยวกับ ม.แม่โจ้ (B) [เมื่อพบข้อมูล] (3) ดรรชนีที่เป็นคำมีแบบแผน (C) คือ650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xคลิป (หมายเหตุ กรณีสื่อ ซีดีวิชาการ ของงานในปีเดิม ลงรายการคือ 650 ^aห้องสมุด^xคอล.^xสื่อโสตทัศน์ ) (4) ดรรชนีหัวเรื่อง (รายการหลักฐาน)(D) [ไม่มีกรณีพิเศษ] (5) ดรรชนีอื่นๆ (E) (ถ้ามี) [End]
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ดัชนี  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 252  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 14:31:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:21:07
บทความวารสาร » การทำรายการหัวเรื่องด้วยเครื่องมือบรรณารักษ์คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง
[0] บทนำ เนื้อหาใน KM blog ครั้งนี้จะขยายความจากเนื้อหาที่ได้นำเสนอแก่บุคลากรห้องสมุดสายงานวิเคราะห์และทำรายการ (cataloging) เพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอในที่ประชุม/การพูดคุย โดยในวงพูดคุยได้แนะนำถึงการสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยพอสังเขป และเน้นการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Thaiccweb) ระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ [1] จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 (มีนาคม-มิถุนายน 2563) และนโยบายให้ทำงานจากบ้าน (work from home) นั้น งานห้องสมุดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร โดยเฉพาะการวิเคราะห์และให้หัวเรื่องแก่บทความวารสาร ซึ่งบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และบุคลากรห้องสมุดที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานลักษณะนี้จากบ้านได้ แต่อาจไม่สะดวกเพราะขาดเครื่องมือบรรณารักษ์คือคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย ที่ใช้ในการตรวจสอบและกำหนดหัวเรื่องแก่เนื้อหาเอกสาร [2] เดิมคู่มือหัวเรื่องนี้จัดทำเป็นฉบับพิมพ์ 2 เล่ม (หนาประมาณเล่มละ 1,000 หน้า) และมีจำนวนตัวเล่มจำกัดเพียง 1-2 สำเนา (copies) จึงไม่เพียงพอกับบุคลากรทุกคน ประกอบกับคู่มือไม่อาจเพิ่มเติม/แก้ไขรายการคำหัวเรื่องใหม่ๆ ได้ จึงค่อนข้างล้าสมัย รวมทั้งเป็นเครื่องมือระบบมือที่การใช้งานค้นหาคำไม่สะดวกแบบระบบฐานข้อมูลหัวเรื่อง [3] คู่มือหัวเรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้งานในปัจจุบัน จัดทำโดยผู้เขียน blog KM นี้ โดยใช้โปรแกรมจัดการศัพท์สัมพันธ์ (thesaurus management software) ชื่อ Thes_y.pas เป็นโปรแกรมภาษาปาสคาลบนโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS for DOS ของ Unesco ซึ่งผู้เขียนได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นจากต้นแบบโปรแกรมตัวอย่าง Thes.pas ของ Unesco โปรแกรมนี้ช่วยในการสร้างคำหัวเรื่องภาษาไทยใหม่ๆ สะดวก สามารถสร้างหัวเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน 2 ทาง (two-way relationship) ได้อัตโนมัติ และมีการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบศัพท์สัมพันธ์ (ความสัมพันธ์ NT/BT/RT/UF-Use) อัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบดรรชนีค้นหาคำที่หลากหลายและละเอียด ในการสร้างคำหัวเรื่องนั้นผู้เขียนจะเทียบเคียงศัพท์หัวเรื่องไทยจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาอังกฤษ Library of Congress Subject Headings (LCSH) ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ที่เป็นฐานข้อมูลบน Classificationweb.net อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ทำงานบน DOS ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ซึ่งปัจจุบันไม่อาจติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ทำงานของบุคลากรแต่ละคนได้ จึงคงใช้งานเพียงผู้เขียน และการสร้างฐานข้อมูลหัวเรื่องเป็นหลัก ผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 12 เล่ม [4] ผู้เขียนได้นำฐานข้อมูลให้บริการบนโปรแกรม CDS/ISIS for Windows ซึ่งโปรแกรมเมอร์ของห้องสมุดได้จัดทำเครื่องแม่ข่าย (server) ด้วยโปรแกรมลักษณะ virtual machine (ทำนอง VMware) ที่ทำงานระบบปฏิบัติการ Windows Server 200x เพื่อให้โปรแกรม CDS/ISIS for Windows ทำงานได้ แล้วบุคลากรห้องสมุดใช้งานโปรแกรมด้วยวิธีการ remote acess ใช้งาน แต่เนื่องจากเป็นการใช้ในเครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้น จึงไม่เอื้อต่อการใช้งานลักษณะการทำงานจากบ้านของแต่ละบุคคลได้ [5] ผู้เขียนแนะนำฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (หรือ Thaiccweb) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อันเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประมาณ 30 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายดังกล่าวด้วย จึงได้รับ user name (account) ในการใช้งาน รวมทั้งสามารถสร้างและเสนอหัวเรื่องใหม่ได้ ปัจจุบันค่อนข้างมีหัวเรื่องพื้นฐานเพียงพอแล้ว และผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 8 เล่ม [6] สถานภาพการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ มีหลายระดับ เช่น Visitor (ดูได้เพียงหัวเรื่องหลัก), Member (ดูรายละเอียดคำ การโยงคำต่างๆ และเสนอหัวเรื่องใหม่ได้), Editor (ปัจจุบันมี 2 คนคือ ผู้เขียน และบรรณารักษ์สำคัญอีกคนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Administrator (ดูแลระบบทั้งหมด) ซึ่งในส่วนบุคลากรห้องสมุดสามารถใช้งานในระดับ Member ได้ โดย log in ด้วยบัญชีผู้ใช้ชื่อ mju1 และรหัสผ่านตามที่แจ้งในวง KM หลังจากนั้นสามารถใช้งานสืบค้นหัวเรื่องต่างๆ ได้สะดวก เนื่องจากฐานข้อมูลนี้เป็นระบบ web-based ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรห้องสมุดสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้จากบ้านพักของตนในช่วงการทำงานจากบ้านได้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าหากมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในอนาคตและมีมาตรการให้บุคลากรทำงานจากบ้าน ฐานข้อมูลนี้จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือบรรณารักษ์/นักเอกสารสนเทศ/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับงานหัวเรื่องในภาระงานการวิเคราะห์และทำรายการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี.
คำสำคัญ : การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ฐานข้อมูล  ดัชนี  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2502  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 20/7/2563 15:02:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 16:32:08
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีและหัวเรื่องสำหรับสารสนเทศภาพยนตร์ : กรณีศึกษา ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศ ภาพยนตร์ (2) เพื่อทดลองนำดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศภาพยนตร์ไปใช้ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) เพื่อสร้างบัญชีคำหัวเรื่องสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยการทำรายการและการสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ การวิจัยหลักเป็นการวิจัยเอกสาร ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อภาพยนตร์ สร้างคำดรรชนีหัวเรื่อง รวบรวมหัวเรื่องซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยมาวิเคราะห์ และสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ขึ้น เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนีสำหรับภาพยนตร์ แบบบันทึกรายการคำดรรชนีลักษณะควบคุมรายการหลักฐาน (authority control) และโปรแกรมจัดการด้านข้อมูลต่างๆ คือ CDS/ISIS, Elib, Film_opac, Microsoft Word สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การใช้แบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนี ที่ศึกษาวิเคราะห์ดรรชนีภาพยนตร์ 6 ประเด็นคือ (1) องค์ประกอบสารสนเทศภาพยนตร์ (2) เขตข้อมูล MARC tag (3) รูปแบบคำดรรชนีที่ใช้ (4) ลักษณะดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือแฟ้มข้อมูลดรรชนีผกผันและระบบควบคุมรายการหลักฐาน (5) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นตามช่องทางเข้าถึง (6) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นด้วยคำสำคัญ สามารถกำหนดดรรชนีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาภาพยนตร์ได้ 5 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นดรรชนีแบบหัวเรื่อง ได้แก่ (1) ดรรชนีเนื้อเรื่อง (2) ดรรชนีประเทศภาพยนตร์ (3) ดรรชนีประเภทหรือแนวภาพยนตร์ (4) ดรรชนีรางวัลภาพยนตร์ (5) ดรรชนีรายได้ภาพยนตร์ การทดลองนำไปใช้งานจริงกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งให้บริการ ณ เว็บไซต์ https://library.mju.ac.th/film/ การวิจัยพบว่าเมื่อได้ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มี คุณสมบัติรองรับดรรชนีทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ของดรรชนีสารสนเทศ ภาพยนตร์ได้ สำหรับหัวเรื่องที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์และทำรายการภาพยนตร์ดีเด่น พบว่านำมาสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ได้ โดยมีหัวเรื่อง 2,604 คำ เป็นหัวเรื่องที่มีการใช้บ่อยครั้ง 757 คำ และมีรายการโยงแบบ “ดูที่” 570 คำ คำสำคัญ : ดัชนี ; หัวเรื่อง ; ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การทำรายการทางบรรณานุกรม ; การสืบค้นสารสนเทศ
คำสำคัญ : การทำรายการทางบรรณานุกรม  การสืบค้นสารสนเทศ  ฐานข้อมูล  ดัชนี  ภาพยนตร์  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3165  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:34:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:15:27
วิจัยสถาบัน » การพัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 38 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .93 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด ตำแหน่งอาจารย์ และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 34.3 ปี อายุการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 6.6 ปี ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานได้แก่ ปัจจัยสุขภาพ (F1) ปัจจัยการทำงานเป็นทีม (F2) ปัจจัยการสนับสนุน (F3) ปัจจัยงบประมาณสวัสดิการ (F4) ปัจจัยวิชาชีพ (F5) ปัจจัยความตั้งใจ (F6) ปัจจัยการเสียสละ (F7) ปัจจัยการบริหารเวลาส่วนตัว (F8) และปัจจัยครอบครัว (F9)
คำสำคัญ : การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ  การวิเคราะห์ปัจจัย  ดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงาน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3657  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 15/8/2557 16:08:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:15:14