การพัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 15/8/2557 16:08:21     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 12:16:43
เปิดอ่าน: 3548 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพื่อศึกษาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 38 ข้อ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .93 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด ตำแหน่งอาจารย์ และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 34.3 ปี อายุการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 6.6 ปี ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานได้แก่ ปัจจัยสุขภาพ (F1) ปัจจัยการทำงานเป็นทีม (F2) ปัจจัยการสนับสนุน (F3) ปัจจัยงบประมาณสวัสดิการ (F4) ปัจจัยวิชาชีพ (F5) ปัจจัยความตั้งใจ (F6) ปัจจัยการเสียสละ (F7) ปัจจัยการบริหารเวลาส่วนตัว (F8) และปัจจัยครอบครัว (F9)

ความคิดเห็นทั้งหมด (1)
รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ     วันที่เขียน : 22/8/2557 0:00:00

เป็นบทความที่มีประโยชน์ต่อหน่วยงาน ในการนำไปใช้ในพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณาจารย์

 

 

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 10:31:36   เปิดอ่าน 57  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » จริยธรรมในการวิจัย
หลักจริยธรรมการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ เช่น คน มนุษย์ สัตว์ ซึ่งการวิจัยในมนุษย์นั้น จะเน้นที่ The Belmont Report ส่วนนิยาม จรรยาบรรณ สำนักการวิจัยแห่งชาติ ไ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 20/2/2566 14:13:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 15:50:39   เปิดอ่าน 717  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง