รายงานเข้าร่วมประชุมแลพเสนอผลงาน ISET2019
วันที่เขียน 2/9/2562 16:44:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:49:15
เปิดอ่าน: 1781 ครั้ง

เข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ ในวันที่ 7-10 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรม Garden Cliff Resort & Spa พัทยา เสนอผลงานทางวิชาการแบบโปสเตอร์ เรื่อง The optimization conditions for longan vinegar production และเข้าร่วมฟังบรรยายจากนักวิชาการหลายท่าน

จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ ในวันที่ 7-10 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรม Garden Cliff Resort & Spa พัทยา ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมประชุมเลขที่ อว 69.5.4/84 ลงวันที่ 24 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดยภายหลังการเข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอนำส่งสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการอบรม ดังต่อไปนี้

          เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง Using Online News as Biology Learning Resources for Promoting Student’s Environmental and Scientific Literacies โดย Asst. Prof. Dr. Andreas Priyono Budi Prasetyo จาก Semarang State University, Indonesia เนื้อหาจะกล่าวถึงเรื่องการสอนวิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมโดยใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ มีการยกตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซีย ได้แก่ ปัญหาเรื่องมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การเกิดโรคติดต่อ แล้วให้ผู้เรียนหาวิธีป้องกันโดยใช้ news-based learning เช่นศึกษาหาความรู้จากข่าว โดยมีกรณีศึกษาเรื่องการลดจำนวนของนกเงือก มีการแบ่งกิจกรรมในนักศึกษาค้นคว้าข่าวเรื่องทำไมนกเงือกถึงล้มตาย พบว่ามีสาเหตุมาจากการเกิดไฟป่า การเผาป่า สภาวะโลกร้อน ให้นักศึกษาทำการศึกษาข่าว สังเคราะห์และสรุปผลกระทบต่าง ๆ บนพื้นฐานของความจริง

          เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง Key to the success of technology-enhanced science education studies: Strategies of finding innovative research topics. โดย Dr. Gwo-Jen Hwang จาก National Taiwan University of Science and Technology. เนื้อหาจะกล่าวถึงเรื่อง การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีงานวิจัยที่มีคุณภาพดี ออกแบบการทดลองได้ดี มีทักษะการเขียน และส่งตีพิมพ์ในวารสารที่เหมาะสม สาเหตุที่ถูกปฏิเสธจากสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่เกิดจากงานวิจัยขาดนวัตกรรม มีปัญหาเรื่องการออกแบบการทลอง ไม่เข้าใจงาน ขาดทักษะการเขียนที่ดี การที่จะประสบความสำเร็จในการส่งงานเข้าตีพิมพ? งานนั้นต้องเป็นงานที่ทันสมัยเพราะมีการใช้เวลามากในการแก้ไขงานช่วงส่งเข้าตีพิมพ์ การที่จะทำให้งานวิจัยมีนวัตกรรมต้องมีทั้ง pre-test และ post-test มีการนำการสอนแบบ game-based learning  การสอนแบบ e-learning มาใช้กับนักศึกษา

          ได้เข้าร่วมเสนอผลงานทางวิชาการแบบโปสเตอร์ เรื่อง The optimization conditions for longan vinegar production และเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการแบบปากเปล่าในหลายหัวข้อ

          จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ในทักษะการสอนทางวิทยาศาสตร์ที่ในหลากหลายวิธี สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้มาพัฒนาในการสอนได้แก่ วิชา ชว 351 การควบคุมคุณภาพทางเทคโนโลยีชีวภาพ ชว 450 เทคโนโลยีการหมัก ชว 451 การออกแบบทางเทคโนโลยีฃีวภาพ วท 497 สหกิจศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=989
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง