การจัดบริการทางการศึกษา รูปแบบการให้บริการและความช่วยเหลือของหน่วยสนับสนุนนักศึกษาพิการ
วันที่เขียน 31/5/2562 13:49:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:52:08
เปิดอ่าน: 4659 ครั้ง

ความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการจัดบริการทางการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาพิการของเครือข่ายนักศึกษาพิการ และประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายนักศึกษาพิการที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ตลอดจนสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในการให้บริการแก่นักศึกษาพิการได้

  1. การจัดบริการทางการศึกษาสำหรับคนพิการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 

          ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นหน่วยงานที่สังกัดคณะครุศาสตร์ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 โดยศูนย์บริการนักศึกษาพิการ จะแต่งตั้งคณบดีของทุกคณะให้เป็นคณะกรรมการของศูนย์ฯ และเป็นคณะกรรมการกลางในการสอบคัดเลือกนักศึกษาพิการเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันนี้ทางศูนย์บริการนักศึกษาพิการฯ มีบุคลากร จำนวน 8 คน และมีอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น จำนวน 1 คน ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้รับนักศึกษาพิการเข้ามาศึกษาต่อทั้งหมด 14 คณะ 83 สาขาวิชา ทั้งหลักสูตร 4 ปี, 5 ปี และ 4 ปี (เทียบโอน) การรายงานตัวของนักศึกษาพิการที่เข้ามาเรียนจะรายงานตัวพร้อมนักศึกษาปกติของมหาวิทยาลัย มีคลีนิกส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษและกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาพิการและนักศึกษาปกติ เช่น กิจกรรมอาชาบำบัด เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการเด็กพิเศษ (ออสทิสติก) เป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพ ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม การถ่ายทอดความรู้สึก ความรับผิดชอบ และการบริหารสมองขั้นสูง โดยให้ม้าเป็นผู้ช่วย ซึ่งได้แนวคิดมาจากการศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพะเยา และมีการนำนักศึกษาพิการไปทัศนศึกษาในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาพิการ เช่น มีบริการรถอีซี่คาร์ มีรถกอล์ฟจากศูนย์บริการนักศึกษาพิการ บริการในการรับ-ส่งนักศึกษาพิการในการเดินทางไปเรียนหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย และได้มีการรับสมัครอาสาสมัครที่จะคอยช่วยเหลือนักศึกษาพิการผ่านทางเว็บไซต์ของคณะและมหาวิทยาลัย โดยจะมีชั่วโมงกิจกรรมอาสาให้นักศึกษาเหล่านี้ด้วย

    2. แนวทางปฏิบัติที่ดีของหน่วยสนับสนุนนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าหมายที่สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (Core Competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตอการเรียนรู้ (Learning Dynamic)
  2. องค์กร (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation)
  3. สมาชิกในองค์กร (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment)
  4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
  5. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application)

แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จหรือนำไปสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ และมีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ที่ได้บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งองค์ประกอบแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ประกอบด้วย หลักการ/ความเป็นมา, เป้าหมายของการดำเนินงาน, กระบวนการ/ขั้นตอน, ผลประโยชน์ที่ได้รับ และความโดดเด่นของการนำไปขยายผลกับหน่วยงานอื่น

องค์ความรู้ด้านการเตรียมความพร้อมนักศึกษาพิการสู่สถานประกอบการ 

• สิ่งที่นักศึกษาพิการต้องเตรียมพร้อม 

  1. ทำความรู้จักเกี่ยวกับสถานประกอบการในเบื้องต้น
  2. ตรวจสอบวัน เวลา และสถานที่ในการสมัครและรายงานตัว
  3. ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อบังคับขององค์กร
  4. มีความตรงต่อเวลา
  5. มีความซื่อสัตย์และตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีสัมมาคารวะ
  6. ศึกษาเรียนรู้งานในหน้าที่และความรับผิดชอบ
  7. เตรียมความพร้อมเพื่อทำความรู้จักกับเพื่อร่วมงานในหน้าที่
  8. ข้อมูลผู้ดูแลการฝึกงานในสถานประกอบการ

• สิ่งที่หน่วย DSS ต้องเตรียมความพร้อม

  1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ข้อมูลสารสนเทศของสถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. การติดตามภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
  4. ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการจ้างงานผู้พิการ ให้กับนักศึกษาพิการได้รับทราบ
  5. จัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเตรียมความพร้อมทักษะให้กับนักศึกษาพิการ
  6. มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา

• สิ่งที่สถานประกอบการต้องการให้มหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อม 

  1. ชี้แจงและอบรมการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาพิการ
  2. เตรียมทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
  3. พัฒนาบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่จำเป็น
  4. การเตรียมแฟ้มประวัติหรือเอกสารเกี่ยวกับตนเอง
  5. ข้อมูลของสถานประกอบการ กฏระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงาน
  6. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  7. พื้นฐานอาชีพและความเชี่ยวชาญในสายงาน

• สิ่งที่ต้องการให้สถานประกอบการเตรียมความพร้อม 

  1. มีเจ้าหน้าที่คอยอธิบายลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาพิการ
  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ
  3. มีลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
  4. มีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการ และให้โอกาสในการทำงานร่วมกับคนทั่วไป
  5. มีเจ้าหน้าที่ประสานงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการกับมหาวิทยาลัย

องค์ความรู้ด้านกระบวนการรับคนพิการเข้าทำงาน  

          สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประชุมเครือข่ายสำนักงานจัดหางานและสถานประกอบการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ดังนี้

• กระบวนการรับคนพิการเข้าทำงาน 

  1. สถานประกอบการมีการประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานผ่านทางออนไลน์เว็บไซต์ และแจ้งตำแหน่งงานไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา
  2. ผู้พิการมาสมัครด้วยตนเองที่บริษัท/ได้รับการบอกต่อจากบุคคลที่รู้จักหรือบุคคลที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการนั้น ๆ
  3. การสมัครงาน/สัมภาษณ์เหมือนบุคคลทั่วไป 
  4. งานนั้นไม่เป็นอันตรายสำหรับคนพิการ
  5. การพิจารณาตำแหน่งงานสำหรับคนพิการจะดูตามความเหมาะสมความสามารถและความถนัดของคนพิการเป็นสำคัญ

 

• กระบวนการรับคนพิการเข้าทำงาน 

  1. แฟ้มสะสมผลงานประวัติการทำงานประสบการณ์ต่าง ๆ
  2. การทำงานหรือการมอบหมายงานจะดูตามความสามารถ และความถนัดของผู้พิการเป็นหลัก
  3. สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงานทั่วไป
  4. มีการอำนวยความสะดวก เช่น มีรถบริการรับ-ส่ง
  5. ศึกษาลักษณะงานและการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง

• การเตรียมความพร้อมนักศึกษาพิการก่อนออกฝึกประสบการณ์หรือก่อนทำงาน

  1. นักศึกษาต้องรู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไรบ้าง
  2. เมื่อไปฝึกงานหรือเข้าไปทำงานยังสถานประกอบการจะต้อนแสดงศักยภาพของตนเองให้เต็มที่
  3. มีการฝึกฝนตนเองในเรื่องทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะทางภาษาอังกฤษ ทักษะการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ลักษณะบุคลิกภาพทางทักษะการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม
  4. แฟ้มสะสมผลงานน ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ต่าง ๆ

องค์ความรู้ด้านการเตรียมนักศึกษาพิการสู่สหกิจศึกษา

          สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประชุมบุคลากรมหาวิทยาลัยเพื่อทำฐานข้อมูลสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ ดังนี้

  • ขั้นตอนการออกฝึกประสบการณ์
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการของแต่ละหลักสูตรมาเป็นกรรมการฝึกประสบการณ์
  2. นัดหมายกิจกรรมการประชุม
  3. นักศึกษากรอกข้อมูลเบื้องต้น
  4. สาขาวิชาประชุมชี้แจงแหล่งฝึกประสบการณ์
  5. นักศึกษาเลือกสถานประกอบการ
  6. อาจารย์ประจำสาขาพิจารณาอนุมัติให้นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์
  7. ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เพื่อขอฝึกประสบการณ์ไปยังสถานประกอบการ
  8. ปฐมนิเทศก่อนส่งตัวนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์ มีการชี้แจงหลักเกณฑ์ คู่มือ หนังสือส่งตัว และการประเมินในการออกฝึกประสบการณ์
  • แนวทางการเลือกสถานประกอบการ
  1. ข้อมูลเครือข่ายสถานประกอบการที่สาขาวิชามี และเคยส่งนักศึกษาออกไปฝึกประสบการณ์ประกอบการพิจารณาคัดเลือก
  2. สถานประกอบการต้องมีความเหมาะสมตรงกับสาขาวิชาที่นักศึกษาพิการเรียน เพื่อให้นักศึกษาพิการได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน
  3. บุคลากรของสถานประกอบการสามารถสอนงานให้นักศึกษาพิการได้อย่างมีคุณภาพ
  4. ความสะดวกในการเดินทางจากที่พักไปยังสถานประกอบการ นักศึกษาสามารถเดินทางไปได้และไม่อันตราย
  5. สวัสดิการที่สถานประกอบการมอบให้นักศึกษาพิการ
  • การสนับสนุนจากอาจารย์ประจำสาขา และหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ
  1. ประสานขอข้อมูลสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย
  2. อาจารย์นิเทศนักศึกษาพิการฝึกประสบการณ์ เป็นอาจารย์ที่คุ้นเคยและมีประสบการณ์ในการสอนหรือนิเทศนักศึกษาพิการ
  3. การจัดประชุมบุคลากรทุกฝ่ายก่อนออกไปนิเทศทั้งอาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
  4. ควรมีการจัดสถานที่ให้พร้อมเพื่อให้สถานประกอบการสามารถสัมภาษณ์นักศึกษา และรับสมัครนักศึกษาเข้าทำงานในคราวเดียวกัน
  5. มีการวางแผนการเรียนให้นักศึกษาพิการก่อนออกฝึกประสบการณ์
  6. 6. อาจารย์ประสานขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการไปเป็นตัวกลางช่วยในการสื่อสารในช่วงการออกฝึกประสบการณ์
  7. หลักสูตรควรหาสถานที่ฝึกประสบการณ์ที่เหมาะสมกับความสามารถของนักศึกษาพิการ และไม่เป็นอันตรายเมื่อเข้าไปฝึกประสบการณ์
  8. มีการอบรมให้ความรู้สาขาที่มีนักศึกษาพิการออกฝึกประสบการณ์ ให้มีพี่เลี้ยงหรือเพื่อนประกบ
  9. อาจารย์นิเทศนักศึกษาพิการควรเป็นอาจารย์ที่เคยมีประสบการณ์สอน หรือนิเทศนักศึกษาพิการ และเข้าใจนักศึกษาพิการ

3. รูปแบบระบบงานบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ (Disability Support Services: DSS) ในและต่างประเทศ 

          งานบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ (Disability Support Services: DSS) เป็นงานที่ช่วยเหลือนักศึกษาเพื่อให้เข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป
เพื่อลดอุปสรรคซึ่งจำกัดโอกาสของนักศึกษาพิการในการเรียน และช่วยให้นักศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษา

บทบาท/รูปแบบจัดบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ

-หลักการสำคัญของหน่วยการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ

      → สร้างความเข้าใจ เจตคติที่ดีแก่ชุมชนมหาวิทยาลัย

      → เสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อตนเองให้แก่นักศึกษาพิการ

      → เสริมสร้างศักยภาพ ความเชื่อมั่นในความสามารถของตน รู้สิทธิและหน้าที่โดยยึดหลักการ 3 ประการ

- โอกาสความเท่าเทียมกัน “สิทธิ” ที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากอุปสรรค ที่จะมีส่วนร่วมในสังคม ที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ

- ธรรมชาติความเป็นองค์รวมของมนุษย์

- ความเป็นบุคคลหนึ่ง ทุกคนมีคุณค่าในตนเอง มีแรงจูงใจใฝ่ดี

บทบาทหน้าที่ของหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ

1. บริการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนนักศึกษาพิการ

2. ช่วยเหลือให้นักศึกษาพิการให้เข้าถึงการเรียนการสอน

3. เป็นแหล่งข้อมูล เอกสาร ตำรา ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาพิการ

4. ผลิตสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาพิการ

5. สร้างเครือข่ายและประสานงานกับหน่วยงานทุกระดับ (สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน)

6. อำนวยความสะดวกในการจัดที่พักอาศัยของนักศึกษาพิการ

7. จัดอบรมความรู้พื้นฐาน (ภาษามือ การอ่าน การเขียนอักษรเบรลล์) ให้นักศึกษา

รูปแบบระบบงานบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ

• การเตรียมการให้บริการของงานบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ ต้องมีการเตรียมการ ดังนี้

1.1.  คน/บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

- หัวหน้า

- เจ้าหน้าที่ประสานงาน

- เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนนักศึกษาแต่ละประเภท

- เพื่อน

1.2. สถานที่ตั้งหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ

1.3. สวัสดิการ สื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวก

1. นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น

1.1.  หนังสือเบรลล์ หนังสือเสียง เอกสาร และข้อสอบอักษรเบรลล์

1.2. เครื่องบันทึกเสียง

1.3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์อ่านจอภาพ

1.4. เครื่องขยายตัวอักษร

1.5. ราวจับบริเวณาภายในอาคารและห้องน้ำ

2. นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

2.1.  ล่ามภาษามือ

2.2. การสอนซ่อมเสริม

2.3.  บทเรียน คำบรรยาย

2.4.  เครื่องช่วยฟัง

2.5.  ผู้ช่วยจดคำบรรยาย

3. นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ

3.1.    ทางลาด

3.2.   ราวจับในห้องน้ำ

3.3.   ลิฟท์

               อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ : เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสืบค้น

สวัสดิการช่วยเหลือนักศึกษาพิการ (ทั่วไป)

1. เงินอุดหนุนทางการศึกษา (ค่าเทอม)

2. ส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาพิการเพื่อให้เกิดการยอมรับของสังคม

3. ให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับนักศึกษาพิการ และบุคคลทั่วไป

4. การติดตามนักศึกษาพิการที่สำเร็จการศึกษาในด้านการประกอบอาชีพ

3. การอภิปราย: การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา

    > การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล

          มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้งหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ โดยให้บริการสนับสนุนทางการศึกษาแก่นักศึกษาที่มีความพิการ เพื่อสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป โดยลดอุปสรรคและจัดหาบริการสนับสนุน เพื่อช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาได้ ซึ่งจะจัดบริการให้ตามความต้องการความจำเป็นของนักศึกษารายบุคคล รวมทั้งสร้างสังคมของมหาวิทยาลัยแห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างคนทั่วไปและคนพิการ โดยให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. อำนวยความสะดวกในการสอบ เช่น การขยายเวลาสอบ ผู้ช่วยอ่านข้อสอบ ฯลฯ

2. บริการผลิตสื่อการเรียนการสอน เช่น เอกสารอักษรเบรลล์ สื่อภาพนูน เอกสารขยายใหญ่ ฯลฯ

3. บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

4. บริการอาสาสมัคร

5. บริการให้คำปรึกษา

6. บริการล่ามภาษามือ และผู้ช่วยจดคำบรรยาย

          และมีจุดบริการนักศึกษาพิการ จำนวน 2 จุด คือ หน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ งานบริการและสวัสดิการ กองกิจการนักศึกษา ซึ่งจะให้บริการนักศึกษาพิการจากคณะ, สถาบัน, วิทยาลัย และวิทยาเขตต่าง ๆ และหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ วิทยาลัยราชสุดา ซึ่งให้บริการนักศึกษาพิการที่ศึกษาในวิทยาลัยราชสุดา

          หน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการจะให้บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ เฉพาะด้านการเรียนเท่านั้นโดยได้กำหนดการให้บริการดังนี้

บริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการทางการมองเห็น

  1. บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอดหรือสายตาเลือนราง
  2. บริการจัดทำเอกสารขยายขนาดตัวอักษร
  3. บริการบันทึก และสำเนาเทปเสียงการเรียนการสอน
  4. บริการจัดทำหนังสือเสียงระบบเดซี่การเรียนการสอน
  5. บริการจัดรูปแบบเอกสารหรือรายงานไม่เกิน ๓๐ หน้าโดยจะต้องพิมพ์มาเรียบร้อยแล้ว
  6. บริการจัดทำ PowerPoint โดยพิมพ์มาเรียบร้อยแล้ว
  7. บริการอ่านหนังสือ อัดเสียง mp 3
  8. บริการพิมพ์เอกสารหรือหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนลง Microsoft Word ไม่เกิน 30 หน้า ต่อ 1 ครั้ง
  9. บริการแปลงไฟล์ PDF เป็น Microsoft word
  10. บริการผลิตเอกสารเบรลล์
  11. บริการผลิตสื่อภาพนูน วันละไม่เกิน ๑ ภาพ
  12. บริการให้คำปรึกษา

บริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย

  1. บริการสื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
  2. บริการให้คำปรึกษา

บริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการทางการเคลื่อนไหว

  1. ดูและเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย เช่น ทางลาด ลิฟท์ ราวจับ ห้องเรียน ห้องน้ำ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้
  2. ให้ยืมสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น อุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนและพิมพ์ รถ wheelchair
  3. บริการให้คำปรึกษา

> DSS CMU กับการพัฒนานักศึกษาพิการให้เป็น Smart Student

          ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มุ่งพัฒนานักศึกษาพิการให้เป็น Smart Student ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย 6 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย

          Smart IT: นักศึกษามีทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล และมีศักยภาพในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวัน และการเรียนให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม

          Smart English: นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติ รวมทั้งสืบค้นข้อมูลเพื่อช่วยในการศึกษาหาความรู้และมีวิธีคิดที่เป็นสากล

          Smart Character: ส่งเสริมให้นักศึกษามีเอกลักษณ์ของความเป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีสง่าผ่าเผย และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนรวมถึงมีความกล้าในการแสดงออกในที่ชุมชนได้

          Smart Health: สนับสนุนให้นักศึกษาออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี

          Smart Brain: สร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประมวลผลองค์ความรู้ของตัวเอง เพื่อนวัตกรรมใหม่

          Smart Heart: นักศึกษามีจิตใจที่ดีงาม เป็นผู้ที่มีจิตอาสา มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ มุ่งทำความดี ช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ

          และทางศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาพิการ ดังนี้

  1. DSS ทำงานร่วมกับอาจารย์

• คุณครูโรงเรียนเดิม → การเตรียมความพร้อม/IEP/สระเกล้าดำหัว

• อาจารย์ที่ปรึกษา → Buddy System/การวางแผนการศึกษา/เทียบแทนวิชา

• อาจารย์ผู้สอน → หนังสือแจ้ง/เทคนิคการสอน/สอนเสริม

• ผู้บริหาร → นโยบาย/จำนวนรับ/งบประมาณ/UD

    2. DSS ทำงานร่วมกับนักศึกษา

• มีโอกาส → เพื่อนร่วมสาขาวิชา/รูมเมท/เพื่อนร่วม sec.

• ผู้มีความรู้ → นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ

• ผู้มีความจำเป็น → วิชา GE/ทุนทำงาน/กยศ.

• ผู้มีน้ำใจ → อาสาสมัคร/ชมรมเพื่อนผู้พิการ/โครงการกิจกรรมต่าง ๆ

          ในเรื่องการมีงานของนักศึกษาพิการ มีเพียงร้อยละ 50 ของนักศึกษาพิการที่ได้งานทำตามสายวิชาที่จบการศึกษามา ปัจจุบันทางศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการได้รับนักศึกษาพิการทางการได้ยินเข้ามาเป็นบุคลากรของกองพัฒนานักศึกษา ได้มีการพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหางานให้นักศึกษาพิการ และในการพัฒนาเป็น Smart Student ไม่ควรแยกนักศึกษาพิการออกมาทำกิจกรรม ให้ทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาปกติ

 > การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

          ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดีในปีการศึกษา 2553 โดยที่มีเอกลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการให้โอกาส จึงได้เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้พิการทุกประเภทสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ ทั้งโดยกระบวนการคัดเลือก  สอบคัดเลือกและมีประกาศให้สิทธิพิเศษสำหรับคนพิการที่มีวุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่าสมัครเข้าเรียนโดยตรง โดยไม่ต้องสอบแข่งขันปีละ 20 คน เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีนักศึกษาพิการศึกษาร่วมกับนักศึกษาปกติ ภายใต้การบริการสนับสนุนของศูนย์ฯ ทุกชั้นปี ทุกคณะในสาขาวิชาต่างๆมากกว่า 14 สาขาวิชา จำนวนรวมทั้งสิ้น 69 คน โดยแบ่งตามประเภทความพิการ ดังนี้

  1. ทางกายหรือการเคลื่อนไหว จำนวน 16 คน
  2. ทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย จำนวน 41 คน
  3. ทางการเห็น จำนวน 9 คน
  4. พิการซ้ำซ้อน จำนวน 2 คน
  5. ทางสติปัญญา จำนวน 1 คน

การรับนักศึกษาพิการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีพิเศษ ดังนี้

  1. จัดทำประกาศโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย อธิการบดีลงนาม
  2. รับสมัคร/สัมภาษณ์ เลือกสาขาวิชา
  3. ประเมินความเหมาะสม โดยอาจารย์ประจำสาขาวิชา
  4. ประกาศผลการเข้าเรียน/ขออนุญาตให้นักศึกษาพิการรายงานตัว
  5. แจ้งจำนวนนักศึกษาพิการที่รับใหม่ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
    และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทราบ
    1. รายงานตัวเข้าเรียน จ่ายค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา ค้างชำระค่าเทอม
    2. ร่วมปฐมนิเทศของมหาวิทยาลัย

• การบริการสนับสนุนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

- มีล่ามภาษามือในชั้นเรียน

- มีล่ามภาษามือสอบถามการดำรงชีวิตประจำวัน

- การอบรมภาษามือเพื่อนร่วมชั้นเรียน

- สอนปรับพื้นฐานก่อนเปิดภาคเรียน

 Ü การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

          ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดีในปีการศึกษา 2553 โดยที่มีเอกลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการให้โอกาส จึงได้เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้พิการทุกประเภทสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีได้
ทั้งโดยกระบวนการคัดเลือก  สอบคัดเลือกและมีประกาศให้สิทธิพิเศษสำหรับคนพิการที่มีวุฒิ ม.6
หรือเทียบเท่าสมัครเข้าเรียนโดยตรง โดยไม่ต้องสอบแข่งขันปีละ 20 คน เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีนักศึกษาพิการศึกษาร่วมกับนักศึกษาปกติ ภายใต้การบริการสนับสนุนของศูนย์ฯ ทุกชั้นปี ทุกคณะในสาขาวิชาต่างๆมากกว่า 14 สาขาวิชา จำนวนรวมทั้งสิ้น 69 คน โดยแบ่งตามประเภทความพิการ ดังนี้

  1. ทางกายหรือการเคลื่อนไหวว จำนวน 16 คน
  2. ทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย จำนวน 41 คน
  3. ทางการเห็น จำนวน 9 คน
  4. พิการซ้ำซ้อน จำนวน 2 คน
  5. ทางสติปัญญา จำนวน 1 คน

การรับนักศึกษาพิการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีพิเศษ ดังนี้

  1. จัดทำประกาศโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย อธิการบดีลงนาม
  2. รับสมัคร/สัมภาษณ์ เลือกสาขาวิชา
  3. ประเมินความเหมาะสม โดยอาจารย์ประจำสาขาวิชา
  4. ประกาศผลการเข้าเรียน/ขออนุญาตให้นักศึกษาพิการรายงานตัว
  5. แจ้งจำนวนนักศึกษาพิการที่รับใหม่ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
    และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทราบ
    1. รายงานตัวเข้าเรียน จ่ายค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา ค้างชำระค่าเทอม
    2. ร่วมปฐมนิเทศของมหาวิทยาลัย

• การบริการสนับสนุนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

- มีล่ามภาษามือในชั้นเรียน

- มีล่ามภาษามือสอบถามการดำรงชีวิตประจำวัน

- การอบรมภาษามือเพื่อนร่วมชั้นเรียน

- สอนปรับพื้นฐานก่อนเปิดภาคเรียน

• การบริการสนับสนุนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว

- อุปกรณ์ช่วยเดิน

- วีลแชร์ไฟฟ้า

- รถไฟฟ้า

• การบริการสนับสนุนนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

- โปรแกรมอ่านหนังสือ

- เครื่องพิมพ์เบรลล์

- เครื่องพิมพ์เบรลล์แบบพกพา

- เครื่องบันทึกเสียง

- เครื่องขยายภาพ/CCTV ตั้งโต๊ะ

• เพื่อนช่วย/ Buddy

• การบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม

- จัดทำทางลาด

- จัดทำที่จอดรถสำหรับคนพิการ

- จัดทำห้องน้ำให้ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้แบบ Universal Design

- ลิฟท์

  - ป้ายสัญญลักษณ์

นอกจากนี้ทางศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครยังได้มีกิจกรรมเสริมเพื่อการพัฒนาแก่นักศึกษาพิการ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้

1. การอบรมภาษามือเพื่อนช่วยร่วมชั้นเรียน

2. การพัฒนาบุคลิกภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพ คือ

2.1.   พาไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบร่างกายฟื้นฟู/ผ่าตัด

2.2.  พาไปพบแพทย์ตรวจหู ใส่เครื่องช่วยฟัง

2.3.  ตรวจสุขภาพ

2.4.  ฟื้นฟูจิตใจ/เสริมพลังใจ

3. การอบรมเสริมทักษะอาชีพ

4. การสัมมนาอาจารย์ผู้สอนนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ดูแลสนับสนุนนักศึกษาหูหนวก

5. การสอนปรับพื้นฐานก่อนเข้าเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ การเขียน/อ่านภาษาไทย นักศึกษาหูหนวก

6. การประชุมก่อนเปิดภาคเรียนผู้ปกครองและนักศึกษา

7. กิจกรรมสานสัมพันธ์ น้อง-พี่ บกพร่องทางการได้ยิน

8. ร่วมกิจกรรมวันคนพิการสากลของจังหวัดสกลนครประจำทุกปี

 

*******************************

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=961
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:50:53   เปิดอ่าน 1977  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง