กบข.เปิดปมระบบบำนาญไทย
วันที่เขียน 1/3/2554 10:16:53     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:33:38
เปิดอ่าน: 17824 ครั้ง

กบข.

 กบข. เปิดปมระบบบำนาญไทย

เกษม

เปิดปมระบบบำนาญไทย

                   ระบบบำเหน็จบำนาญของไทย  เริ่มขึ้นในสมัยรัชการที่ 5   โดยการตราพระราชบัญญัติเพื่อจ่ายเบี้ยบำนาญเมื่อปี พ.ศ. 2444   เรียกว่า  “พระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญรัตนโกสินทร์ ศก 120” ระบบดังกล่าวมีการพัฒนาต่อเนื่องจึงถึงสมัยรัชกาลที่ 9  ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตรา “พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพุทธศักราช  2549”  ขึ้นมา

ที่มาของการเปลี่ยนแปลงและการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

                   ปี  พ.ศ. 2534   คณะรัฐมนตรีมติให้กระทรวงการคลัง  พิจารณาปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้เป็นระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง (Central Provident fund)  โดยให้ใช้กลักการคำนวณมิให้ข้าราชการเสียสิทธิ์  และผลของการศึกษาในที่สุดออกมาเป็นการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

เหตุผลและความจำเป็นในการปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญ

  • ระบบบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 นั้น  จะใช้เงินเดือนสุดท้ายเป็นหลักในการคำนวณ(เงินเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ ÷ 50)  ทำให้รัฐไม่สามารถปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการ ที่ยังรับราชการอยู่ให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่แท้จริงได้  เพราะหากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการ ก็จะส่งผลให้รายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการที่ออกจากงานไปแล้วเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
  • ที่ผ่านมารัฐมีภาระผูกพัน   ในการจ่ายบำเหน็จบำนาญโดยเพียงแต่ตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีตามแต่จะคำนวณภาระเงินได้ในแต่ละปีเท่านั้น  ไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้า   ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการบริหารการคลังที่ดี  และเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า  ภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น   เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนกับรายจ่ายประจำแล้ว  จะเพิ่มสูงมาก   ทำให้ขาดกลักประกันแก่ผู้รับบำนาญและกับข้าราชการในปัจจุบัน

พัฒนาการของการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)

                   ในระยะแรกของการศึกษาเพื่อจัดตั้ง  กบข.  กระทรวงการคลังได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งเป็นกองทุนบำเหน็จกลาง  โดยในหลักการจะออกเป็นพระราชบัญญัติเป็นการเฉพาะขึ้นใหม่   ให้กองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคล  โดยข้าราชการและลูกจ้างประจำทุกคนต้องเป็นสมาชิก  ซึ่งต้องสะสมเงินเข้ากองทุนโดยรัฐบาลจะจ่ายสมทบให้เป็นประจำทุกเดือน เมื่อข้าราชการออกจากราชการจะได้รับเงินบำเหน็จเท่านั้น  ยกเว้นข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนการจัดตั้งกองทุน  ซึ่งอาจจะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญจากงบประมาณอีกส่วนหนึ่งด้วย  อย่างไรก็ดี เมื่อนำร่างกฎหมายดังกล่าวเสนคณะรัฐมนตรี  ได้มีข้อสังเกตและให้กลับไปทบทวนอีกครั้ง  โดยเกรงว่าอาจจะมีการได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้นระหว่างข้าราชการที่บรรจุก่อน และหลังวันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้

                   ต่อมากระทรวงการคลัง  ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อศึกษาการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จกลางอีกครั้ง  โดยในการศึกษาของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี  และข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน  ระหว่างประเทศ (International Monetary fund หรือ IMF ) มาพิจารณา และในที่สุดได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา  ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการออกกฎหมายเป็นลำดับ  จนในที่สุดได้ตราเป็นพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.  2539  และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  28 กันยายน  2540  ซึ่งถือว่าเป็น “วัน กบข.”  และ  “วันสมาชิก”   เนื่องจากเป็นวันที่  กบข. มีสมาชิกกลุ่มแรกจำนวน  1,069,013 คน

             ข้าราชการที่รับราชการก่อนตั้ง  กบข. (ก่อนปี  2540)  สามารถเลือกเข้า กบข.  หรือไม่ก็ได้   ผู้สมัครใจเข้าจะได้รับชดเชย    สูตรบำนาญที่เปลี่ยนไปด้วย   1) เงินประเดิม  และ 2) เงินชดเชย

        1. เงินประเดิม  เพื่อเป็นการ  “ชดเชยเงินที่หายไปในช่วงเวลาก่อนสมัครเป็นสมาชิก กบข.” เงินส่วนนี้รัฐมีสูตรคำนวณชัดเจนและจ่ายเป็นเงินก้อน

        2. เงินชดเชย  เพื่อเป็นการ  “ชดเชยเงินที่หายไปในช่วงเวลาหลังสมัครเป็นสมาชิก กบข.”  กรณีนี้รัฐชดเชยให้ 2%  ทุกเดือนจนกว่าจะเกษียณ

เงินประเดิม  และเงินชดเชยถูกส่งเข้า กบข.  เพื่อให้นำไปลงทุนบริหารให้เกิดดอกผล  มีสถานะเป็นเงินของรัฐ  จนกว่าสมาชิกจะเกษียณ และเลือกรับบำนาญเท่านั้น   กรณีสมาชิกเลือกรับบำเหน็จจะไม่ได้รับเงินก้อนนี้  เนื่องจากสูตรคำนาณบำเหน็จจะไม่ได้รับเงินก้อนนี้  เนื่องจากสูตรคำนวณบำเหน็จของระบบเก่าและระบบใหม่เหมือนกันจึงไม่มีความจำเป็นต้องชดเชย”

 

สิ่งที่เปลี่ยนไปเมื่อเป็นสมาชิก กบข.

                  ความแตกต่างของข้าราชการที่สมัครใจเข้าเป็นสมาชิก กบข.  และข้าราชการที่ยังคงอยู่ในระบบราชการเดิมสิทธิทุกอย่างเหมือนเดิม  ยกเว้น

                                                   ข้าราชการระบบเดิม           ข้าราชการสมาชิก กบข.

สูตรคำนวณบำนาญ                             เงินเดือนสุดท้าย x               เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x

                                                     เวลาราชการ ÷ 50             เวลาราชการ÷ 50 แต่ไม่เกิน

                                                                                           ร้อยละ70 ของเงินเดือนเฉลี่ย  60 เดือนสุดท้าย   

เงินประเดิม                                        ไม่ได้รับจากรัฐ                    รัฐบาลจ่ายชดเชยสำหรับระยะเวลาก่อนเข้า

                                                                                            กบข. จ่ายให้เฉพาะผู้สมัครใจเป็นสมาชิก

                                                                                            กบข. ปี  2540 และเลือกรับบำนาญ

เงินชดเชย                                         ไม่ได้รับจากรัฐ                   รัฐบาลจ่ายชดเชยสำหรับระยะเวลาหลังเข้า

                                                                                            กบข. ในอัตรา 2% ต่อเดือน จ่ายให้เฉพาะ

                                                                                            ผู้สมัครใจเป็นสมาชิก กบข. ปี 2540 และ

                                                                                            เลือกรับบำนาญ

เงินสะสม                                             ไม่ต้องสะสม                     รัฐบังคับสะสม 3% ต่อเดือน สมาชิกสามารถ

                                                       3 % ต่อเดือน                     เลือกสะสมเพิ่มได้อีก 12%   เงินสะสมนำไป

                                                                                             หักภาษีได้      

เงินสมทบ                                           ไม่ได้รับสมทบจาก                 รัฐสมทบให้ 3%  ต่อเดือน

                                                       รัฐ3 % ต่อเดือน    

     

สวัสดิการที่                                         ไม่มีสิทธิ                             มีสิทธิ          

กบข.จัดหา

ประเด็นที่สมาชิกเรียกร้อง

                  ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. โดยความสมัครใจในปี  2540  ส่วนหนึ่งเริ่มร้องเรียน กบข. ในประเด็นเรื่องสูตรคำนวณบำนาญที่เปลี่ยนไป  ทั้งที่   ในความเป็นจริง เงินบำนาญคือเงินที่สมาชิกข้าราชการรับโดยตรงจากกรมบัญชีกลาง  ไม่ได้รับจาก กบข. นโยบายการปรับเปลี่ยนสูตรคำนวณบำนาญ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตามมติคณะรัฐมนตรีในปี  พ.ศ. 2534

                  อย่างไรก็ดี  กบข. มิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาดังกล่าวของสมาชิก     ในปี  2550 กบข. ได้รวบรวมข้อร้องเรียนของสมาชิกเรื่องสูตรบำนาญที่มีมาอย่างต่อเนื่อง  ส่งให้กรมบัญชีกลางที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไข    และในปี 2552  กรมบัญชีกลาง ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาสูตรคำนวณบำนาญและการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพที่เหมาะสม

การดำเนินการของ กบข. ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสูตรบำนาญ  ในปี 2553

  • กบข. จัดสัมมนาผู้แทนสมาชิกทั่วประเทศเพื่อรับฟังปัญหา  ข้อร้องเรียน และความคิดเห็นในประเด็นการแก้ไขสูตรบำนาญ
  • กบข. ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาปมประเด็นสูตรบำนาญที่สมาชิกร้องเรียน และนำเสนอคณะกรรมการ กบข.
  • กบข. ทำรายงานสรุปผลการศึกษา และสรุปข้อร้องเรียนของสมาชิกประเด็นสูตรบำนาญส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงการคลัง

ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ โดย กบข. เป็นผู้ประสานงานการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.  2539  ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มี  2  เรื่องดังนี้

1. การแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  พ.ศ. 2539 ให้ผู้รับบำนาญปกติ หรือผู้รับบำนาญพิเศษพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพสามารถ นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้

2. การแก้ไขสูตรบำนาญตามมาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

 กบข. รายงานสมาชิก

ฉบับที่ 11

2554

และหากว่าท่านเป็นอีกแรงหนึ่งในการช่วยกันผลักดัน การแก้ไขสูตรบำนาญตามความน่าจะเป็นแล้ว  ก็ขอความกรุณาช่วยแสดงความคิดเห็นในเว็ปไชด์   http://www.gpf.or.th/web/ ออกเสียง กระทุงภาครัฐซึ่งก็หนีไม่พ้น กรมบัญชีกลาง  กระทรวงการคลัง  เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมที่เป็นจริงได้ ต่อไป

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=84
ความคิดเห็นทั้งหมด (6)
พ.ต.กวี ธัญญกรรม     วันที่เขียน : 20/6/2554 0:00:00

ได้เรียกร้องเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.กบข.ตั้งแต่ มิ.ย.51  จนรัฐบาลยุบสภา อยากให้ สส.ผลักดันให้แก้ไข พ.ร.บ.ปี 2539 เงินเดือน สส.นายกรัฐมนตรียังเสนอให้ขึ้นได้ แต่การแก้ไข พ.ร.บ.กบข.ตามสถาบันวิจัยธรรมศาสตร์ รัฐกลับไม่สนับสนุนด้วยเสียง 278 เสียง สมาชิกก็ดูเอาเองว่ารัฐมองสมาชิก กบข.อย่างไร เลือกตั้งงวดนี้ตรองใด้ดี ๆ อยากให้แก้ไข พ.ร.บ.ดังนี้  1.ผู้ที่สมัครเมื่อ 27 มี.ค.40 สามารถลาออกได้(อ้างว่าเป็นกฎหมายไม่สามารถกระทำได้ ไอ้ที่เสนอขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ สส.มำไมมันทำได้) 2.แก้ไขสูตรบำนาญของสมาชิก(ปัจจุบันอายุราชการ 50 ปี คิดบำนาญ กบข.35 ปี(50X70%)ชีวิตการรับราชการโดยทั่ว ๆ ไปจะได้แค่ 40 ปี จะเหลือให้ กบข.คิด 40X70%=28 จะได้แค่ 28 ปี ยังจะไอ้เฉลี่ย 60 เดือนสุท้ายอีกมันจะเหลือเท่าไร 50% มั้ง) 

 

พ.ต.กวี ธัญญกรรม     วันที่เขียน : 20/6/2554 0:00:00

ได้เรียกร้องเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.กบข.ตั้งแต่ มิ.ย.51  จนรัฐบาลยุบสภา อยากให้ สส.ผลักดันให้แก้ไข พ.ร.บ.ปี 2539 เงินเดือน สส.นายกรัฐมนตรียังเสนอให้ขึ้นได้ แต่การแก้ไข พ.ร.บ.กบข.ตามสถาบันวิจัยธรรมศาสตร์ รัฐกลับไม่สนับสนุนด้วยเสียง 278 เสียง สมาชิกก็ดูเอาเองว่ารัฐมองสมาชิก กบข.อย่างไร เลือกตั้งงวดนี้ตรองใด้ดี ๆ อยากให้แก้ไข พ.ร.บ.ดังนี้  1.ผู้ที่สมัครเมื่อ 27 มี.ค.40 สามารถลาออกได้(อ้างว่าเป็นกฎหมายไม่สามารถกระทำได้ ไอ้ที่เสนอขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ สส.มำไมมันทำได้) 2.แก้ไขสูตรบำนาญของสมาชิก(ปัจจุบันอายุราชการ 50 ปี คิดบำนาญ กบข.35 ปี(50X70%)ชีวิตการรับราชการโดยทั่ว ๆ ไปจะได้แค่ 40 ปี จะเหลือให้ กบข.คิด 40X70%=28 จะได้แค่ 28 ปี ยังจะไอ้เฉลี่ย 60 เดือนสุท้ายอีกมันจะเหลือเท่าไร 50% มั้ง) 

 

จรัล ยุคลธง     วันที่เขียน : 16/4/2554 0:00:00

อยากให้แก้ไขการรับบำนาญให้สมาชิกได้รับมากกว่านี้..มิใช่มากีดกัน...ควรแก็มาตรา 63

เกษม     วันที่เขียน : 8/4/2554 0:00:00

เห็นด้วยกับการแก้ไขบำนาญของข้าราชการกบชให้เหมือนกับข้าราชการอื่น เพราะถูกหักเงินแล้วยังได้รับบำนาญน้อยลงไม่คุ้มกับเงินที่ได้รับด้วย

จ.ส.อ.สมสฤษฎิ์ สถิตไชยนนท์     วันที่เขียน : 3/4/2554 0:00:00

เห็นด้วยกับการแก้ไขสูตรการคำนวณบำนาญ เหมือนกับข้าราชการที่ไม่ได้เข้า  กบข. เพราะเงินบำนาญที่ได้รับจาก  กบข. น้อยมาก  และเงินก้อนที่จะได้รับจาก กบข. ลดลงทุกปี  ขอฝากให้ สมาชิก กบข.ที่เป็นนักวิชาการ พยายามให้รายละเอี่ยดความเสียเปลียบ แก่สมาชิก กบข.ที่ยังไม่เข้าใจด้วย  เงินก้อนที่ได้รับ  ประมาณ   ๓๐๐,๐๐๐  บาท กับเงินบำนาญที่ลดลง เดือนละประมาณ  ๘,๐๐๐ บาท เอาแปดพัน หาร สามแสน  เราได้ใช้เงิน สามแสน ใช้เดือนละ แปดพันแค่สามปี  เงินก็หมดแล้ว   แต่ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ เดือนละ แปดพันที่ลดลงไปเราไม่มีเงินแปดพันใช้ ภาวะค่าครองชีพก็แพงขึ้นทุกวัน เราจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้น  กบข.ไม่ดีสำหรับข้าราชการทุกคน  ผมยากไปเดินขบวนด้วย  แต่ติดที่หน่วยงาน  น่าจะมี ผ้นำล่ารายชื่อ ผู้ที่เห็นด้วยกับการแก้สูตรการคำนวณ  เพื่อยื่นเสนอ  เพราะส่วนใหญ่เห็นด้วยอยู่แล้ว  แต่ไม่กล้าพูด  หรือรู้แต่พูดไม่ได้ก็มี  ขอภานาให้มีการแก้ไขสูตรคำนวณบำนาน เป็นเหมือน ข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.โดยเร็ว 

นายสำเริง กิ่งพวง     วันที่เขียน : 5/3/2554 0:00:00

กบข.ควรแก้ไขการรับบำนาญเป็นอายุราชการคูณ24เดือนสุดท้ายแล้วจึงหารด้วย50เพราะข้าราชการที่เกษียณแล้วบำนาญไม่พออใช้จ่ายสมควรแก้ไขมาตรา63ใหมครับโดยใหม่ให้มีผลต่อผู้ที่เกษียณอายุราชการด้ดว้ยครับ

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 8:23:30   เปิดอ่าน 1975  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง