ประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับ พรบ. มีดังนี้
1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 มีผลบังคับใช้ 23 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป
* ผลของ พรบ. ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้
2. พรบ.จัดซือจัดจ้าง มีทั้งหมด 15 หมวด 132 มาตรา
- มาตรา 1-5 นิยาม
- มาตรา 6-15 หมวด 1 บททั่วไป
- มาตรา 16 - 19 หมวด 2 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต
- มาตรา 20-45 หมวด 3 คณะกรรมการ
- มาตรา 46-50 หมวด 4 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
- มาตรา 51-53 หมวด 5 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ
- มาตรา 54-68 หมวด 6 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
- มาตรา 69-78 หมวด 7 วิธีการจ้างที่ปรึกษา
- มาตรา 79-92 หมวด 8 วิธีการจ้างออกแบบหรือควบคุมงาน
- มาตรา 93-99 หมวด 9 การทำสัญญา
- มาตรา 100-105 หมวด 10 การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ
- มาตรา 106-108 หมวด 11 การประเมินผลการปฎิบัติงานของผู้ประกอบการ
- มาตรา 109-111 หมวด 12 การทิ้งงาน และการเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
- มาตรา 112-113 หมวด 13 การบริหารพัสดุ
- มาตรา 114-119 หมวด 14 การอุธรณ์
- มาตรา 120-121 หมวด 15 บทกำหนดโทษ
- มาตรา 122-132 บทเฉพาะกาล
3. หน่วยงานของรัฐ
- ราชการส่วนกลาง
- ราชการส่วนภูมิภาค
- ราชการส่วนท้องถิ่น
- รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
- องค์การมหาชน
- องค์กรอิสระ
- องค์กรตามรัฐธรรมนูญหน่วยธุรการของศาล
- มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
- หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา
- หน่วยงานอิสระของรัฐ
- หน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. วิธีการการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ (ยกเว้นงานจ้างที่ปรึกษา และงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง)
4.1 วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ
4.2 วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอเว้นแต่ในงานนั้น มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กําหนดน้อยกว่าสามราย
4.3 วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
5. แบบสัญญา
- เต็มรูป
- ลดรูป
- ไม่มีแบบรูป
6. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุแบ่งออกเป็น 5 ระยะคือ
- ระยะที่ 1 วางแผน/จัดทำโครงการและการของบประมาณ
- ระยะที่ 2 การเตียมการจัดซื้อจัดจ้าง
- ระยะที่ 3 การจัดซื้อจัดจ้าง
- ระยะที่ 4 การบริหารสัญญา
- ระยะที่ 5 การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ
เอกสารประกอบเพิ่มเติม ศึกษาได้จาก : http://www.okmd.or.th/upload/pdf/2560/Procument/summary-procument-2560.pdf