รหัสอ้างอิง :
1514
|
|
ชื่อสมาชิก :
เยาวลักษณ์ ลิลิต
|
เพศ :
หญิง
|
อีเมล์ :
yaowaluck@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
18/4/2557 16:04:43
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
18/4/2557 16:04:43
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : KM คณะวิศวกรรมฯ ด้านการบริหารจัดการฯ
เป็นบทความที่ได้จากการจัดกิจกรรมKM ของคณะวิศวกรรมฯ ซึ่งผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการรวบรวมความรู้ที่ได้มา และจัดเนื้อหาความรู้เป็นหมวดหมู่ และสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี นำมาสู่การเผยแพร่บทความอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติใช้ได้จริง
|
KM คณะวิศวกรรมฯ ด้านการบริหารจัดการฯ
»
องค์ความรู้จากการจัดการความรู้ หัวข้อโครงการจัดการถนนสีเขียว
|
ด้วยวิสัยทัศน์มหาแม่โจ้ คือ มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีควรเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานา ชาติซึ่งกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (GO Eco U) ภายใต้ภารกิจการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพ โดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นทางด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งน้อมนำองค์ความรู้ของศาสตร์พระราชา ทั้งเกษตรทฤษฏีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นรากฐานในการพัฒนา
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีภารกิจ 4 ด้านหลัก คือ การจัดการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมเกษตรและอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม นอกจากภารกิจหลักทั้ง 4 ด้านดังกล่าวแล้ว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ต้องการสนับสนุนให้บุคลากรของคณะฯ ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนการศึกษาได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญในยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและบูรณาการทางวิชาการในภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติงานจริง อีกทั้งสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาองค์กรตามทิศทางมหาวิทยาลัยและยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ คณะฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าว ประกอบกับคณะฯ ได้จัดทำโครงการบูรณาการทางด้านเมืองสีเขียว (Green City) การพัฒนาการผลิตภาคเกษตรแบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ การลดการเผาของเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะเป็นฐานอยู่แล้ว เพื่อให้บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถมองเห็นคุณค่าและขับเคลื่อนองค์กรไปพร้อมกัน โดยจัดกิจกรรมการผลิตเตาไบโอชาร์และดินไบโอชาร์
ซึ่งกระบวนการผลิตไบโอชาร์จะอาศัยความร้อน เพื่อทำให้เกิดการแยกสลาย แล้วจะสามารถให้พลังงานทดแทนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ถ่านชีวภาพผลิตจากชีวมวลรวมถึงขยะแห้ง เศษวัสดุทางการเกษตร เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดเป็นต้น ทำให้ช่วยในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรีย์วัตถุได้ เป็นในการกำจัดของเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนไว้ในถ่านแล้วนำถ่านไปใช้ในดิน การใช้ถ่านชีวภาพเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน ลดภาวะโลกร้อนและเพิ่มพื้นที่สีเขียว
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานคลังและพัสดุ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2335
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เยาวลักษณ์ ลิลิต
วันที่เขียน
10/10/2562 14:43:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/4/2568 14:59:15
|
|
|
|
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้