การเขียนข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)
วันที่เขียน 28/9/2559 14:05:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 9:39:40
เปิดอ่าน: 3440 ครั้ง

สรุปความรู้ที่ได้จาการเข้าร่วมสัมมนา ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย โครงการ "วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย" (Training for the trainers) (แม่ไก่) และโครงการ "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2559 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม โรงแรมมารวย การ์เด้นท์ กทม.

การสัมมนาครั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มย่อย ซึ่งผู้เขียนอยู่ในกลุ่ม "การเขียนข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" วิทยากรประจำกลุ่มคือ นางสุนันทา สมพงษ์ อดีตที่ปรึกษาด้านการวิจัย วช. และนายศิลป์ชัย นิลกรณ์ หัวหน้างานพัฒนาทรัพยากรบุคคล วช. บทสรุปของหัวข้อนี้คือ ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้สอบได้สอบตก เงินไม่ใช่ปัญหาของการเขีบน แต่ปัญหาอยู่ที่คุณภาพของข้อเสนอ ข้อเสนอโครงการที่ดี 1) ต้องรู้ชัดว่าโจทย์วิจัยคืออะไร 2) ตอบสนองต่อปัญหาหรือไม่ หรือตอบสนองต่อปัญหาของชุดโครงการในประเด็นไหน 3) มีเป้าหมายชัดเจน สอดคล้องกับบริบท/สภาพแวดล้อม 4) กรอบคิดของโครงการต้องชัดเจน 5) มีการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับลึกและระดับกว้างพร้อมการสังเคราะห์ 6) ระเบียบวิธีวิจัยมีทฤษฎีรองรับ ระยะเวลา/งบประมาณเหมาะสม 7) ทีมงานต้องมีความรู้ ความสามารถ และจำนวนเหมาะสม 8) ผลที่คาดว่าจะได้จากงานวิจัยต้องชัด 9) ต้องชัดว่าใครคือผู้ที่จะเอาผลงานไปใช้ 10) มีหน่วยงานอื่นร่วมวิจัย 11) การเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานอื่น 12) สามารถสร้างนักวิจัยหน้าใหม่

ระเด็นสำคัญของการพิจารณาข้อเสนอการวิจัน ที่คณะกรรมการพิจารณาได้แก่ 1) คุณภาพของงานวิจัย ข้อค้นพบที่สำคัญ หรือนวัตกรรมใหม่และสามารถแก้ปัญหาที่สำคัญและองค์ความรู้ใหม่ที่มีนัยสำคัญ 2)คุณภาพของข้อเสนอการวิจัย สามารถนำเสนอข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนดไว้ได้ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย 3) ความเหมาะสมของนักวิจัย/ทีมวิจัย นักวิจัยมีความรู้ความเชี่ยวชาญครอบคลุมทุกสาขาวิชาการในเรื่องที่วิจัย มีความพร่อมและสามารถอุทิศเวลาให้งานวิจัย 4)จริยธรรมการวิจัย ดำเนินการวิจัยตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย 5) งบประมาณการวิจัย มีความเหมาะสม คุ้มค่าการวิจัย 

เกณฑ์การประเมินผลงานวิจัย 1) ความสอดคล้อง (10 คะแนน) 2) คุณค่าทางปัญญาของแผนงานวิจัย (60 คะแนน)       3) ผลกระทบของแผนงานวิจัย (impact) (30 คะแนน)

ความสอดคล้อง กับ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ 3) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น 4) ยุทธศาสตร์ประเทศ 5) นโยบาย/เป้าหมายของรัฐบาล มีความสอดคล้องกับนโยบาย/เป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย ระเบียบวาระแห่งชาติ โครงการท้าทายไทย และนโยบายรัฐบาล

คุณค่าทางปัญญาของแผนงานวิจัย  ประกอบด้วย 1) ปัจจัยการวิจัย (input) (20 คะแนน) 1.1 กระบวนการวิจัย (process) (20 คะแนน) 1.2 ผลผลิตการวิจัย (output) (20 คะแนน) 2. ผลกระทบของแผนงานวิจัย (30 คะแนน)

ทั้งนี้ หากนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ผ่านการอบรมลูกไก่สนใจเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย ควรศึกษากรอบ TOR ทั้ง 9 กรอบ บนเว็ปไซต์ www.nrct.go.th ได้ แล้วพิจารณาว่าตนเองถนัดเรื่องใด ที่จะสามารถตอบโจทย์กรอบ TOR นั้นได้ การตั้งโจทย์วิจัยและเขียนข้อเสนอวิจัยจะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมากับการทำเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 23:34:21   เปิดอ่าน 1626  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง