การออกแบบที่จอดรถใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ มศว. ประสานมิตร
วันที่เขียน 13/6/2559 21:41:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 7:55:22
เปิดอ่าน: 17858 ครั้ง

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอโศกหรือถนนสุขุมวิท 21 อันเป็นทำเลทองแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และได้พบเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในเรื่องของการจัดการที่จอดรถและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย จึงได้ถ่ายภาพที่จอดรถใต้ดินแห่งนี้มาฝากท่านผู้อ่าน หวังว่าจะเป็นกรณีศึกษาที่ประโยชน์สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และฝ่ายบริหารต่อไป

 

การออกแบบที่จอดรถใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

ณ มศว. ประสานมิตร

โดย ผศ.จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

 



 

          เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอโศกหรือถนนสุขุมวิท 21 อันเป็นทำเลทองแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ สาเหตุก็เนื่องจากได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมการคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2559 ในสาขามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ แต่ที่จะมาเล่าวันนี้ไม่ใช่เรื่องภารกิจที่กล่าวมาแล้วแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในเรื่องของการจัดการที่จอดรถและภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัย

          ผู้เขียนเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยรถยนต์ เนื่องจากเป็นช่วงเช้าวันเสาร์ดังนั้นสภาพการจราจรจึงไม่ติดขัดมากนัก เมื่อรถเลี้ยวเข้าไปในมหาวิทยาลัยก็ต้องแปลกใจที่มีอุโมงค์ลอดลงไปชั้นใต้ดิน ในใจก็ลังเลว่าตนเองเข้ามาผิดทางหรืออย่างไร แต่เมื่อสอบถามพนักงานที่ตู้รับบัตร จึงทราบว่าที่นี่แหละพื้นที่จอดรถของมหาวิทยาลัยถูกต้องแล้ว หลังจากได้หาที่จอดเรียบร้อยแล้วจึงค้นพบว่าตนเองได้เข้ามาอยู่ภายในที่จอดรถใต้ดินขนาดใหญ่ มีถึงสองชั้น จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ก็ได้ทราบคำตอบว่าที่จอดรถแห่งนี้สามารถจอดรถได้ถึงกว่า 400 คัน สร้างเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2553 ผู้เขียนได้มีโอกาสถ่ายรูปมาให้ท่านทั้งหลายได้ชมเป็นกรณีศึกษาสำหรับการออกแบบที่จอดรถใต้ดินในพื้นที่ซึ่งต้องการพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่

          ที่จอดรถแห่งนี้ด้านบนออกแบบให้เป็นสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ สำหรับทางเข้าออกของรถยนต์ลงไปสู่ชั้นใต้ดินนั้นมีสองทิศทาง คือจากทางเข้าด้านหน้ามหาวิทยาลัย เรียกได้ว่า เลี้ยวรถเข้ามาก็ต้องลอดอุโมงค์ลงสู่ที่จอดรถกันเลย กับอีกทางหนึ่งเข้ามาจากภายในของมหาวิทยาลัยเอง นอกจากนี้ยังมีบันไดทางขึ้นลงซึ่งเป็นทางเดินเท้าเชื่อมต่อกับที่จอดรถจากสี่ทิศ  และมีลิฟท์รวมไปถึงทางลาดสำหรับผู้พิการอีกด้วย ด้านหนึ่งของพื้นที่จัดให้เป็นอาคารพาณิชย์เรียงแถวด้านบนปกคลุมไว้ด้วย สวนหลังคาซึ่งปูสนามหญ้าสีเขียวเชื่อมต่อกับสนามฟุตบอล แสงสามารถส่องลงไปสู่ชั้นใต้ดินได้โดยการทำช่องแสงด้วยบลอคแก้ว (glass block) เรียงเป็นแถวอยู่ด้านหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีสภาพโดยรวมของบริเวณใต้ดินนั้นค่อนข้างมืดต้องอาศัยแสงไฟฟ้าประดิษฐ์เป็นส่วนใหญ่เรียกได้ว่าต้องใช้พลังงานไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงนับว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือสามารถที่จะสร้างพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่สำหรับบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย สำหรับทำกิจกรรม ทั้งพักผ่อน เล่นกีฬา เป็นพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวขนาดใหญ่ที่ไร้ซึ่งรถรามาวิ่งให้เกิดมลภาวะ แต่ในขณะเดียวกันข้อเสียก็คือก็ต้องสูญสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากพอสมควร เพื่อใช้สำหรับระบบไฟฟ้า ระบบระบายอากาศ และระบบสูบน้ำกรณีที่ฝนตก ด้วยเหตุนี้ทางมหาวิทยาลัยจึงมีการเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ใช้บริการจอดรถใต้ดิน ผู้เขียนได้ถ่ายภาพมาฝากที่จอดรถใต้ดินแห่งนี้มาฝากท่านผู้อ่านหลายภาพ จะได้นำเสนอดังต่อไปนี้

 

 
 
ภาพที่ 1  ภาพสามมิติ แสดงผังบริเวณของมหาวิทยาลัย จะสังเกตเห็นสนามฟุตบอล ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่จอดรถใต้ดิน ลึกลงไปถึง 2 ชั้น
 
 
 
 
ภาพที่ 2  สนามฟุตบอล ภายใต้เป็นที่จอดรถ อยู่ท่ามกลางอาคารสูงภายในมหาวิทยาลัย
 
 
 
ภาพที่ 3  บันไดทางขึ้นลงเชื่อมต่อทางเดินเท้ากับที่จอดรถใต้ดิน ตั้งประจำทั้งสี่ทิศ
 
 
 
ภาพที่ 4  ลิฟท์และทางลาดสำหรับให้บริการผู้พิการและการขนของ ณ จุดขึ้นลงที่จอดรถ
 
 
 
ภาพที่ 5  สภาพทั่วไปภายในที่จอดรถ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าให้แสงสว่างตลอดเวลา
 
 
ภาพที่ 6  มีการใช้บลอกแก้วมาที่หลังคา (บริเวณที่ติดผนัง) เพื่อให้แสงธรรมชาติลอดลงมาใต้ดิน
 
 
 
ภาพที่ 7  ลักษณะการใช้บลอกแก้วบริเวณทางเดินเท้า เพื่อให้แสงธรรมชาติลอดลงไปใต้ดิน
 
 
ภาพที่ 8  ด้านหนึ่งของพื้นที่ ออกแบบให้เป็นอาคารพาณิชย์และลานเอนกประสงค์
 
 
ภาพที่ 9  ส่วนด้านหน้าของพื้นที่อาคารพาณิชย์ ลดระดับจากลานเอนกประสงค์ และทางเดินโดยรอบ
 
 
ภาพที่ 10  บันไดและทางลาด เชื่อมโยงลานเอนกประสงค์และอาคารพาณิชย์ กับทางเดินเท้าและอาคารเรียนใกล้เคียง
 
 
ภาพที่ 11  บนหลังคาของอาคารพาณิชย์ ทำเป็นสวนหลังคา ปูหญ้าเชื่อมโบงกับสนามฟุตบอลที่อยู่เหนือที่จอดรถ
 
 
ภาพที่ 12  ด้านหลังของอาคารพาณิชย์ เชื่อมต่อกับที่จอดรถใต้ดิน
 
 
 
ภาพที่ 13  รางระบายน้ำโดยรอบ (เริ่มมีการชำรุด)
 
 
 
ภาพที่ 14  อุโมงรถยนต์ที่เชื่อมไปยังที่จอดรถใต้ดิน จากภายในมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
 
ภาพที่ 15  ปิดท้ายด้วยภาพน้องหมาเจ้าถิ่นนอนพักผ่อนอย่างสบาย
 
 
  ผู้เขียนก็ขอจบเรื่องราวไว้ที่ภาพน้องหมาน้อยตัวนี้ก็แล้วกัน หวังว่าบทความสั้นๆนี้จะเป็นกรณีศึกษาที่มีประโยชน์ สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และฝ่ายบริหารต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
งานบริการวิชาการและวิจัย » มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1
โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจ...
โดรน สถาปัตยกรรม ออกแบบ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน ธวัชชัย มานิตย์  วันที่เขียน 13/9/2562 14:31:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 23:26:05   เปิดอ่าน 15785  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปั...
การดำเนินโครงการพัฒนาโดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 6:29:08   เปิดอ่าน 5317  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแ...
การพัฒนาพื้นที่โดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 14:05:13   เปิดอ่าน 4443  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง