มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1
วันที่เขียน 13/9/2562 14:31:05     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:19:30
เปิดอ่าน: 15835 ครั้ง

โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจสภาพสิ่งก่อสร้าง การขนส่ง การเฝ้าระวัง การถ่ายภาพทางอากาศ สร้างแผนที่ 3D ตลอดจนใช้เพื่อเล่นเป็นงานอดิเรก

มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1

          โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจสภาพสิ่งก่อสร้าง การขนส่ง การเฝ้าระวัง การถ่ายภาพทางอากาศ สร้างแผนที่ 3D ตลอดจนใช้เพื่อเล่นเป็นงานอดิเรก

ประเภทของโดรน

 โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV มี 3 ประเภท 1.เครื่องบินปีก 2.เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ (โรเตอร์เดี่ยว) 3.เครื่องบินโดรน แบบมัลติโรเตอร์ ขึ้นลงทางดิ่ง ซึ่งมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน

ซึ่งปัจจุบันมีการนำเครื่องบินโดรน แบบมัลติโรเตอร์ ขึ้นลงทางดิ่ง มาช่วยในการถ่ายทางอากาศในการทำแผนที่มากขึ้น เนื่องจากการบำรุงรักษาน้อย น้ำหนักเบาพกพาสะดวกเหมาะสำหรับมือใหม่ จนถึงมืออาชีพ การวางแผนพัฒนาพื้นที่หรือการใช้ที่ดินนั้น มีการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) กันอย่างแพร่หลาย ข้อมูลบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งการมีข้อมูลเชิงพื้นที่หรือแผนที่ที่มีความเป็นปัจจุบัน จะช่วยให้การวางแผนที่สัมพันธ์กับพื้นที่นั้นมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเวลาและความถูกต้อง

 

เครื่องบินโดรน แบบมัลติโรเตอร์ ขึ้นลงทางดิ่ง

จุดเด่นของการถ่ายภาพทางอากาศ 

               การถ่ายภาพทางอากาศสามารถแสดงให้เห็นถึงภาพกว้างและจุดเด่นของพื้นที่ และจากการที่เป็นการบันทึกภาพนิ่งจึงเป็นการบันทึกในเชิงเวลาซึ่งจะคงอยู่ตลอดไป สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน (Existing Area) ในเชิงการรับรู้จากกระยะไกลนั้น ภาพถ่ายทางอากาศยังสามารถเก็บค่าแสงในช่วงคลื่น (Wave length) และรายละเอียดทีสายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น และจำแนกได้ดีกว่าอีกด้วย จุดเด่นข้อสุดท้ายคือด้วยความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทำให้สามารถนำมาใช้ลดเวลาในการสำรวจในเชิงพี้นทีได้เป็นอย่างดี

การเตรียมพร้อมก่อนบิน  

              โดรนที่ใช้ถ่ายภาพทำแผนที่มีด้วยกันหลายรุ่นที่ใช้ทำการบินในครั้งนี้ ใช้โดรนของ DJI รุ่น Mavic 2 Zoom ที่สามารถถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูง และบินได้นานสูงสุด 31 นาที มีความละเอียดของกล้อง 12 ล้านพิกเซล เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศ ซึ่งไม่ควรใช้กล้องที่ละเอียดน้อยกว่านี้ ซึ่งสามารถบันทึกค่าพิกัดลงบนภาพเลยทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น และหากต้องการความถูกต้องมาขึ้นสามารถใช้ GCP (Ground Control Point) เพื่อปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูล ก่อนขึ้นบินควรตรวจเช็คสภาพของโดรนที่จะใช้บินก่อนว่ามีส่วนไหนของโดรนได้รับความเสียหายหรือชำรุดหรือไม่

 

DJI รุ่น Mavic 2 Zoom

              การเตรียม BATTERY (แบตเตอรี่) ในการบินถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่นั้น อย่างน้อยควรเตรียมแบตเตอรี่สำรองไว้อย่างน้อย 2 ก้อน พร้อมแท่นชาร์จแบตเตอรี่ ที่สามารถเสียบชาร์จแบตเตอรี่ได้พร้อมกัน ก่อนบินให้เช็คระดับ Battery ให้เต็ม 100% ก่อนบินทุกครั้ง

การวางแผนการบิน

        การวางแผนการบิน (Flight Plan) ก่อนอื่นต้องทำการดาว์โหลดแอปพลิเคชัน DJI GO 4 สำหรับตั้งค่าการใช้งานและฟังก์ชันต่างๆ ของโดรน ทำการ Calibrate เข็มทิศก่อนบิน และรอให้ตัวโดรนเจอสัญญาณ GPS อย่างน้อย 8-10 ดวง และทำการบันทึก home point ก่อนบิน   นอกจากนี้ต้องศึกษาพื้นที่อย่างละเอียดให้เข้าใจถึง ภูมิประเทศ รวมถึงสภาพอากาศก่อนวันที่จะบิน ลม ฟ้า อากาศ ล้วนมีผลต่อการถ่ายภาพ การบินใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Pix 4D Capture ซอฟแวร์สำหรับทำแผนที่สามมิติ ของ ซอฟแวร์ Pix4D Mapper Photogrammetry และควรบินโดรนให้อยู่ในสายตาที่มองเห็นตลอด เผื่อหน้าจอดับไปขณะบิน เราจะสามารถนำโดรนกลับมาลงจอดได้อย่างปลอดภัย

         การวางแผนการบินใน Pix4D Capture นั้น โดยในแต่ละแนวบินจะมีส่วนซ้อนในแนวบิน (Overlap) p = 60% และในการบินวนซ้ำกลับมาในแนวบินข้างเคียงจะมีส่วนซ้อนด้านข้าง (Sidelap) q=20%-40%ใช้ที่ความสูง 110 เมตร ใช้ความเร็วการบิน slow 90 องศา ในลักษณะ vertical

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปั...
การดำเนินโครงการพัฒนาโดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:44:01   เปิดอ่าน 5324  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแ...
การพัฒนาพื้นที่โดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 5:59:16   เปิดอ่าน 4448  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม » การออกแบบที่จอดรถใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ มศว. ประสานมิตร
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอโศกหรือถนนสุขุมวิท 21 อันเป็นทำเลทองแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และได้พบเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้บริหารมหาวิทยา...
parking  underground  จรัสพิพม์  ใต้ดิน  บุญญานันต์  ประสานมิตร  ศรีนคริทรวิโรฒ  อาคารจอดรถ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน จรัสพิมพ์ บุญญานันต์  วันที่เขียน 13/6/2559 21:41:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 11:58:31   เปิดอ่าน 17889  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง