ดอกไม้ในสวน
วันที่เขียน 14/9/2557 11:42:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 22:11:35
เปิดอ่าน: 13998 ครั้ง

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 สำนักข่าว BBC รายงานข่าวว่า ทางสภาพฤกษศาสตร์นานาชาติ ได้ตกลงกันที่จะยกเลิกการใช้ภาษาละติน เป็นภาษาหลักในการบันทึกข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์อีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่านี่เป็นเหตุการทางประวัติศาสตร์ของวงการวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว จึงขอแปลบทความเกี่ยวกับข้อมูลทางด้าน พฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการใช้ภาษาละตินในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พรรณไม้

ดอกไม้ในสวน 


แปลจาก

T้he Botanical Magazine Vol. V; or, Flower-Garden Displayed:

, by William Curtis, 2006. 

Via The Project Gutenberg EBook

แปลโดย จรัสพิมพ์ บุญญานันต์

ภาพประกอบและเนื้อหาทั้งหมดอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์  (CC-BY-NC-SA)

 


 

ชบา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus Rosa Sinensis

ชื่อสามัญ China-Rose Hibiscus

ชั้นและอันดับ Monadelphia Polyandria

 

ลักษณะทั่วไป

วงกลีบเลี้ยงคู่ ใบหลายใบแตกออกจากภายนอกลำต้นหรือกิ่ง ผลแบ่งออกเป็น 5 ส่วนมีปลอกหุ้ม มีเมล็ดจำนวนมาก

 

ลักษณะเฉพาะและคำที่คล้ายคลึงกัน

Hibiscus Rosa Sinensis foliis ovatis acuminatis serratis, caule arboreo. Linn. Syst. Vegetab. ed. 14. Murr. p. 629. Ait. Hort. Kew. p. 629.

Alcea javanica arborescens, flore pleno rubicundo. Breyn. cent. 121. t. 56.

Hibiscus javanica. Mill. Dict. ed. 6. 4to. by whom cultivated in 1731.


 

      ในผลงานหนังสือ “เฮอบาเรียม แอมบอยเนนซี (Herbarium Amboinense)” รัมเฟียส1 ได้จัดทำรายงานอันยอดเยี่ยมเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ท้องถิ่นจากหมู่เกาะอินดีสตะวันออก (East Indies) 2 พร้อมกับแสดงภาพประกอบของดอกไม้ชนิดนี้ 2 ดอก ซึ่งได้อธิบายว่า พันธุ์ไม้นี้มีการปลูกเลี้ยงอยู่่ในสวนของอินเดียตะวันออก และในประเทศจีนด้วย เขาให้ข้อมูลแก่เราว่าพันธุ์ไม้ชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตเต็มที่จนมีขนาดเดียวกับต้นฮาเซล (Hazel) และมีหลากหลายสี นอกจากดอกสีขาว

      เขาให้ข้อสังเกตุว่าชาวอินเดียตะวันออก3 จะชื่นชอบอะไรก็ตามที่เป็นสีแดงเป็นพิเศษ พวกเขาคิดว่าสีแดงคือสีแห่งความสุขสดชื่น เบิกบานใจ ดังนั้พวกเขาไม่เพียงแต่จะเพาะปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไว้ทั่วไปในสวนของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังใช้มันในโอกาสงานรื่นเริงต่างๆ หรือแม้แต่ในพิธีศพก็ตาม เขายังได้กล่าวถึงการนำดอกไม้ชนิดนี้ไปใช้ด้วยเหตุผลของความประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งตรงกันข้ามกับความสวยงามและความสง่างามของมัน นอกจากนี้ยังมีการนำดอกไม้ชนิดนี้ไปใช้ในการขัดรองเท้าสีดำ ซึ่งนี่เป็นที่มาของชื่อ Rosae calceolariae โดยการนำเอาส่วนของดอกชบาไปวางบนรองเท้า ขัดถูด้วยมือ เพื่อให้เป็นเงางาม และเกิดเฉดสีออกน้ำเงินใช้แทนน้ำมะนาวซึ่งใช้อยู่เดิมได้

      สำหรับพวกเราแล้ว ควรปลูกเลี้ยงไว้ในห้องที่อบอุน เพื่อที่มันจะเจริญเติบโตและพร้อมที่จะออกดอกตลอดช่วงฤดูร้อน ดอกจะเบ่งบานครั้งเดียวในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ความพิเศษที่เกิดจากโครงสร้างที่สวยงามของดอกจะช่วยชดเชยระยะเวลาการบานในช่วงสั้นๆได้

     ต้นชบามักจะแตกกิ่งก้านเพิ่มมากขึ้นจากการตัดแตกกิ่ง

 

บรรณานุกรม

 

Curtis, William. 2006. Hibiscus Rosa Sinensis.The Botanical Magazine. 26 August;2006(5):158.http://www.gutenberg.org/files/19123/19123-h/19123-h.htm

 

1จอร์จ อีเอร์ฮารฺท รัมเฟียส (Georg Eberhard Rumphius ) เป็นนักพฤกษศาสตร์สัญชาติเยอร์มันที่มีชีวิตอยู่ในช่วง ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.. 1627 ถึง วันที่ 15 มิถุนายน ค.. 1702 เขาทำงาเก็บตัวอย่างพรรณไม้ ให้กับ บริษัท ดัทช์ อีสท์ อินเดีย ในพื้นที่หมู่เกาะ ซึ่งในปัจจุบันคือบริเวณ ตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย___ผู้แปล

2ปัจจุบันคือ หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย___ผู้แปล

3หมายถึงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน___ผู้แปล

 

 


 

 

เข็ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora Coccinea.

ชื่อสามัญ Scarlet Ixora.

ชั้นและอันดับ Tetrandria Monogynia.

 

ลักษณะทั่วไป

 

กลีบดอกรวมอยู่ในแกนเดียวกันรูปกรวยยาว เกสรตัวผู้อยู่เหนือกลีบดอก 1 ผลมี 4 เมล็ด

 

ลักษณะเฉพาะและคำที่คล้ายคลึงกัน

 

Ixora coccinea foliis ovalibus semiamplexicaulibus, floribus fasciculatis. Linn. Syst. Vegetab. ed. 14. Murr. Ait. Hort. Kew. p. 148.

Jasminum indicum, lauri folio, inodorum umbellatum, floribus coccineis. Pluk. alm. 196. t. 59. s. 2.

Cerasus zeylanica humilis sylvestris, floribus holosericeis intense rubris umbellatim congestis, fructibus nigris. Mus. Zeyl. p. 15.

Flamma Sylvarum Rumph. Amb. 4. p. 105. t. 46.


 

     เราเชื่อว่ามันเป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้อ่านส่วนใหญ่ของเราที่ได้รับทราบข้อมูลว่าต้น Ixora coccinea หรือต้นเข็มในปัจจุบันซึ่งมีจำหน่ายตามเรือนเพาะชำบางแห่งในราคาเพียง 5 กินนี จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศนี้มาตั้งแต่เมื่อประมาณ 100 ปี ที่ผ่านมาแล้ว และคุณ ไอตัน (Aiton) ผู้ที่ใช้ความพยายามอย่างน่ายกย่อง ในการค้นคว้าถึงช่วงเวลาที่ชัดเจน เมื่อครั้งที่บรรดาพันธุ์ไม้ต่างถิ่นที่ได้ทำการเพาะเลี้ยงในสวนพฤกษศาสตร์คิว ได้เผยโฉมต่อสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก เขาได้ให้ข้อมูลแก่เราในฐานะของแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ว่าพันธุ์ไม้ชนิดนี้ได้รับการแนะนำโดย นายเบนทิค (Bentick) ในปี ค.. 1690

 

     มีเหตุผลสนับสนุนหลายอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า พันธุ์ไม้ต่างถิ่นที่พิเศษนี้ ไม่ได้เป็นที่รู้จักกันต่อมาภายหลังจากได้รับการแนะนำในคราวนั้น จากการสืบค้นข้อมูล เราเรียนรู้ว่ามันได้รับการแนะนำอีกครั้งเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดย ดร. จอห์น ฟอทเทอร์กิลล์ ( Dr. John Fothergill) ต่อวงการแพทย์และพฤกษศาสตร์ในชุดสะสมที่ยอดเยี่ยมที่อัปตัน และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง นายทอเบิร์น นักเพาะเลี้ยงพันธุ์ไม้ที่ บรอมพ์ตัน (Brompton)ได้ทำการเพาะเมล็ดพันธุ์ต้นเข็มสองสามเมล็ด จากเมล็ดพันธุ์ต่างประเทศ และจากเหตุการณ์เหล่านี้นี่เอง เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่างถึงว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเพาะเลี้ยงพันธุ์ไม้นี้ภายในประเทศนี้1

 

     ทั้งรีด (Rheede) และรัมเฟียส (Rumphius) ต่างได้อธิบายลักษณะและแสดงภาพประกอบในผลงานของพวกเขาที่ชื่อ the Hortus Malabaricus และ The Herbarium Amboinense ตามลำดับ พันธุ์ไม้ชนดนี้ยังได้รับการกล่าวถึงโดยนักเขียนอื่นๆอีกหลายท่าน จากรายการหลากหลายของพวกเขาที่เราได้สืบพบ ว่าในแต่ละส่วนของประเทศอินเดีย ที่ซึ่งมันขึ้นเองตามธรรมชาติ พันธุ์ไม้นี้มีทั้งในรูปทรงพุ่ม หรือเติบโตเป็นต้นไม้ซึ่งมีความสูงประมาณ 6 ฟุต โดยทั้งไปจะมีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง มีดอกเป็นกลุ่ม มองเห็นได้จากระยะไกล ดอกมีสีสันสดใสมากจนเปรียบได้กับถ่านที่ติดไฟลุกไหม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่ามืดทึบ นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ Flamma Sylvarum  พันธุ์ไม้ชนิดนี้เติบโตในป่า ออกดอกในช่วงเตือนกันยายนและเดือนตุลาคม มีผลสีดำขนาดเท่าผลเชอรีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นอาหารของพวกนกยูง และนี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อCerasa Pavonina ชาวจีนเรียกมันว่า Santanhoa ในประเทศจีนมันจะให้ดอกและผลตลอดทั้งปี พวกเขาให้ความสำคัญต่อการบานของดอกเนื่องจากมันจะถูกใช้ในการแสดงความเคารพต่อผู้ที่นับถือ กล่าวกันว่ารากของมันมีความขมและชนพื้นเมืองนำไปใช้รักษาอาการปวดฟัน

 

     ในประเทศของเรานิยมเพาะเลี้ยงต้นเข็มไว้ในเรือนกระจก ซึ่งบางทีมันอาจจะไม่ใช่การดูแลที่ดีเหมือนที่เราคิด มันออกดอกในเดือนกรกฎาคมและเตือนสิงหาคม แต่ยังไม่พบการให้ผล มันจะแตกกิ่งได้ไม่ยากนักโดยการตัดแต่ง

 

     ภาพวาดที่เห็นนี้เอามาจากพันธุ์ไม้ต้นเล็กๆแต่แข็งแรงดีในเรือนกระจกของ คุณ วิทเลย์ (Whitley) ที่บรอมป์ตัน (Brompton)

 

     ลินเนียส (Linnaeus) และนักเขียนคนอื่นๆบางท่านได้แสดงภาพพันธุ์ไม้ชนิดนี้พร้อมด้วยลำต้น แต่ในภาพของเราไม่มี เนื่องจากต้นไม้ยังอายุน้อย

 

 

1หมายถึงประเทศอังกฤษ

 

บรรณานุกรม

Curtis, William. 2006. Hibiscus Rosa Sinensis.The Botanical Magazine. 26 August;2006(5):158.http://www.gutenberg.org/files/19123/19123-h/19123-h.htm

 


 

 

กุหลาบร้อยกลีบพันธุ์มัสโคซา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rosa muscosa

 ชื่อสามัญ: Moss Rose

ชั้นและอันดับ: Icosandria Polygynia

 

ลักษณะทั่วไป

 

Petala 5. Cal. urceolatus, 5-fidus, carnosus, collo coarctatus. Sem. plurima, hispida, calycis interiori lateri affixa.

 

ลักษณะเฉพาะและคำที่คล้ายคลึงกัน

 

ROSA muscosa caule petiolisque aculeatis, pedunculis calycibusque pilosissimis. Miller's Dict.

 

 

     ถ้าจะมีพืชสกุลใดที่ได้รับการชื่นชมจากทั่งโลกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ พืชชนิดนั้นก็คงหนีไม่พ้น “กุหลาบ” ซึ่งเหล่ากวีต่างก็ร่ายบทกลอนเพื่อเฉลิมฉลองในความงาม และบรรดาจิตรกรต่างใช้เป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเขา

 

     ในความเห็นของมิลเลอร์ (Miller) กุหลาบมอส (Moss Rose) ตามชื่อที่เป็นที่นิยมเรียกนี้ เป็นพืชสกุลที่หายาก ลินเนียส (Linnaeus) จำแนกสายพันธุ์ย่อยที่แตกออกไปเพียง สายพันธุ์ Centifolia เท่านั้น นอกจากนี้มันยังพบได้ในเรือนเพาะชำแบบสองขั้นตอน (Double state nursery) ภายในประเทศของเราเท่านั้น และเนื่องจากเราละเลยข้อมูลเกี่ยวกับประเทศอื่นๆที่เพาะปลูกพันธุ์ไม้ดอกชนิดนี้ จึงละเว้นขอให้เรื่องนี้ ไว้เพื่อการสังเกตและค้นคว้าเก็บข้อมูลในอนาคต

 

     แม้ว่ามันอาจจะไม่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วโดยการแตกหน่อ รวมทั้งไม่เพิ่มขึ้นในทันทีโดยการตอนกิ่ง เหมือนสายพันธุ์ Centifolia อย่างไรก็ดี ไม่เป็นการยากในการ ขยายพันธุ์โดยทั้งสองวิธี แต่วิธีหลังนั้นมักจะถูกนำมาใช้อยู่บ่อยๆ

 

บรรณานุกรม

Curtis, William. 2006. Hibiscus Rosa Sinensis.The Botanical Magazine. 26 August;2006(2):69.http://www.gutenberg.org/files/17531/17531-h/17531-h.htm#Rosa

 



 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=333
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
งานบริการวิชาการและวิจัย » มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1
โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจ...
โดรน สถาปัตยกรรม ออกแบบ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน ธวัชชัย มานิตย์  วันที่เขียน 13/9/2562 14:31:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 4:40:18   เปิดอ่าน 16528  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปั...
การดำเนินโครงการพัฒนาโดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 9:25:05   เปิดอ่าน 5529  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแ...
การพัฒนาพื้นที่โดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 18:15:18   เปิดอ่าน 4554  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง