การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11
วันที่เขียน 30/9/2566 13:49:26     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 22:06:27
เปิดอ่าน: 290 ครั้ง

การเข้าร่วม “การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11” เมื่อวันที่ ๒๒-๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอินทนิล สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การอบรมได้แบ่งออกเป็นภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติการ โดยภาคบรรยายได้แบ่งออกเป็น 10 หัวข้อ ดังนี้

  • กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) ซึ่งกล่าวถึงกฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง ข้อกำหนดของสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องและสถานปฏิบัติการต้องดำเนินการอยู่ภายใต้กฎดังกล่าว โดยเฉพาะพ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558
  • หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ซึ่งต้องจำแนกอันตรายในห้องปฏิบัติการ และปฏิบัติตามระดับห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Level, BSL)
  • การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ (Biorisk management) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงก่อนดำเนินการ เพื่อจัดการและควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ใช้ในการออกแบบห้องปฎิบัติการเพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย
  • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น แว่นตานิรภัย เสื้อกาวน์ ถุงมือ ถุงหุ้มรองเท้า ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติการ
  • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment) ถูกติดตั้งขึ้น เพื่อป้องกันอันตราย เช่น ตู้ชีวนิรภัย (Biological Safety Cabinet: BSC), Fume hood เป็นต้น
  • การทำลายเชื้อโรค เป็นการลดการปนเปื้อน การทำลายเชื้อ การทำให้ปราศจากเชื้อ ก่อนกำจัดทิ้ง
  • การขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการขนส่งอื่น ๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดการขยะติดเชื้อ จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ทั้งมูลฝอยติดเชื้อ กากกัมมันตรังสี และขยะเคมี
  • การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล ต้องมีการประเมินที่เกิดเหตุ และจัดการตามสถานการณ์ที่ประเมิน โดยใช้ Biological Hazard Spill Kit ในการจัดการตามขั้นตอนที่ได้รับการอบรมอย่างถูกต้อง

          สำหรับภาคปฏิบัติการ มีการอบรม 3 หัวข้อ ได้แก่ การสวมใส่และถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ และจำลองสถานการณ์ ซึ่งการฝึกปฏิบัติการนี้ ทำให้รับทราบถึงเทคนิคที่ควรใช้ และการปฏิบัติยามฉุกเฉิน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1398
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
เข้าร่วมโครงการ » สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ หลักสูตร Data Science
Data Science เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในโลกธุรกิจและการวิจัย การเข้าใจแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และการสื่อสารผลลัพธ์ จะช่วยให้สามาร...
Big Data  Data Analysis  Data Visualization  Machine Learning  Statistics     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 7/9/2567 5:45:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 18:01:10   เปิดอ่าน 105  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง