โครงการ "Fin ดี Happy Life!!! ส่งเสริมทักษะทางการเงินของคนวัยทำงาน"
วันที่เขียน 17/12/2565 15:08:23     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:19:19
เปิดอ่าน: 4552 ครั้ง

โครงการ "Fin ดี Happy Life!!! ส่งเสริมทักษะทางการเงินของคนวัยทำงาน" เพื่อปรับพฤติกรรมและสร้างทักษะทางการเงินให้แก่กลุ่มคนวัยทำงาน โดยวิทยากรจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการฝึกอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็น Fin. Trainer ในการถ่ายทอดความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินและการบริหารจัดการหนี้ รวมถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นพฤติกรรมและติดตามผลของเพื่อนพนักงานในหน่วยงานของตน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายด้าน จัดในวัน ที่ 24-25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30-16.30 น. ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom และในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9.00 -16.30 น. ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย ชั้น 5 ซึ่งจัดโดยสำนักงานมหาวิทยาลัย กองบริหารทรัพยากรบุคคล งานสวัสดิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำแบบประเมินสุขภาพทางการเงิน ทำให้ทราบสุขภาพทางการเงินของตนเอง เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหา และปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • หลักสูตร “การวางแผนการเงิน” ทำให้ทราบว่าเราต้องสำรวจรายรับ รายจ่ายของตนเอง รายรับมากกว่ารายจ่ายหรือไม่ ควรมีการออมเงิน 25% ของรายรับ ควรมีการออมเงินฉุกเฉิน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ปรับพฤติกรรมกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่ากาแฟ ล็อตเตอรี่ การวางแผนทางการเงิน ขั้นที่ 1 สำรวจตัวเอง ขั้นที่ 2 ตั้งเป้าหมายแบบ smart คือ ปฏิบัติได้จริง ความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน คือ มีรายได้เพียงพอ มีเงินสำรองฉุกเฉิน มีเงินออมหลังเกษียณ
  • หลักสูตร “การวางแผนทางการเงิน” (หัวข้อ ทางเลือกการออมและการลงทุน) ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำแบบทดสอบระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำเงินไปลงทุน ซึ่งมีหลายแบบและมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น ตราสารหนี้ หุ้นสามัญ Crypto Currency กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการลงทุน
  • หลักสูตร “รู้คิด พิชิตหนี้” วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมโครงการคิดก่อนใช้เงิน ไม่ควรเป็นหนี้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ การคิดดอกเบี้ยแบบต่าง ๆ การบริหารจัดการหนี้สามารถทำได้โดย สำรวจหนี้/จัดทำแผนปลดหนี้/ทำตามแผน
  • หลักสูตร “สะกิดพฤติกรรมอย่างไรให้โดนใจเพื่อนพนักงานด้วยหลัก EAST” วิทยากรให้ตัวอย่างกิจกรรมที่สะกิดพฤติกรรม ควรเป็นกิจกรรมที่ ทำได้ง่าย (Easy)/ดึงดูดใจ (Attractive)/เป็นที่นิยม (Social) และถูกเวลา(Timely)
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ได้พบวิทยากรจากธนาคารแห่งประเทศไทย หลักสูตร How to be “Fin. Trainer” มีการพบปะพูดคุยกับบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่สมัครเข้าอบรม มีการให้ความรู้เรื่อง How to… ใช้บัตรเครดิต และ How to… ซื้อบ้าน ซึ่งทำให้ทราบข้อมูลและมีวิธีการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้อง ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้บัตรเครดิตที่จัดการไม่ได้ การซื้อบ้าน สามารถมาทำการปรึกษาพูดคุยกับธนาคารหรือหน่วยงานที่ให้กู้เพื่อให้ลดดอกเบี้ยให้ได้ทุก 3 ปี
  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • สามารถนำมาปรับใช้กับตนเอง เพื่อการวางแผนการเงิน การมีเงินออมฉุกเฉิน การคิดก่อนใช้ ลดการใช้จ่าย ป้องกันการเกิดหนี้ที่บริหารจัดการไม่ได้
  • สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น รายวิชาคณิตศาสตร์การเงิน รายวิชาการคำนวณทางธุรกิจและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่
  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • มี Trainer ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนหน่วยงานในการถ่ายทอดความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินและการบริหารจัดการหนี้ รวมถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นพฤติกรรมและติดตามผลของเพื่อนพนักงานในหน่วยงาน
  • ช่วยแก้ไขปัญหาทางการเงินของคนในองค์กร
  • บุคลากรมีสุขภาพทางการเงินดีขึ้น ช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมา

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1317
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง