งานประชุมวิชาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วันที่เขียน 27/9/2565 8:22:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 11:48:27
เปิดอ่าน: 756 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19-23 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสนำทีมงานและนักวิจัยทำงานสนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กว่า 15 คน ในนามของศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. และได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย: 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช และได้รับมอบธง เพื่อเป็นเจ้าภาพงานต่อในปี 2568

เมื่อวันที่ 19-23 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสนำทีมงานและนักวิจัยทำงานสนองพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กว่า 15 คน ในนามของศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. และได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย: 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญคือ การเข้าร่วมจัดนิทรรศการ การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10 การประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น และพิธีการรับมอบธงเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 12 ทรัพยากรไทย: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน

โดยในวันที่ 19 กันยายน รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี  พร้อมด้วยรองอธิการบดี รศ.ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง และผศ.ดร.ณัฐวุฒิ  ดุษฎี  เข้าร่วมพิธีเปิดงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมและให้กำลังใจคณะทำงานในการร่วมจัดนิทรรศการของศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. ซึ่งภายในนิทรรศการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำเสนอที่มาของโครงการและผลงานสรุปตลอด 28 ปี ที่ได้สนองพระราชดำริโครงการ อพ.สธ. บทบาท และขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ผลิตภัณฑ์และผลงานวิจัยชุดโครงการกล้วยไม้นกคุ้มไฟ  ผลงานวิจัยชุดโครงการกล้วยไม้เอื้องคำ ผลงานวิจัยชุดโครงการงานวิจัยรวงผึ้ง ผลงานวิจัยมะเกี๋ยง ผลงานวิจัยผึ้งชันโรง และผลงานวิจัยไผ่ ซึ่งในบูทนิทรรศการมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าชม อาทิ การออกขวดกล้วยไม้ โดยชุมชนบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถนำกลับไปปลูกต่อที่บ้านได้ (โดยได้รับคำแนะนำการปลูกที่ถูกต้องทางวิชาการ) การเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรง การนำพืชมาทำเป็นของที่ระลึก

ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งเชียงใหม่ แพร่และชุมพร เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ รวมทั้งสิ้นกว่า 10 ผลงาน และมีผลงานชุดโครงการวิจัยที่ได้รับรางวัลการนำเสนอทั้งในรูปแบบบรรยาย และโปสเตอร์หลายผลงาน

ในวันที่ 23 กันยายน 2565 ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดพิธีการส่งมอบและรับมอบธงเจ้าภาพการจัดงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 12: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน แก่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2568 โดยมี ผศ.พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. และคณะทำงานศูนย์ประสานงานฯ เข้าร่วมในพิธี  ในการนี้ได้รับเกียรติจากนายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีครั้งนี้  ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดชุดการแสดง “เกษตรแม่โจ้แห่งภูมิปัญญา สืบสาน อนุรักษ์ ฮักษา: หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน” จากกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการแสดงที่งดงามตระการตาและสร้างความประทับใจแก่ผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1306
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 14:31:04   เปิดอ่าน 17  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:48:13   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 4:33:02   เปิดอ่าน 74  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง