Espel
วันที่เขียน 30/7/2564 10:55:54     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 11:23:42
เปิดอ่าน: 1364 ครั้ง

องค์ประกอบของมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติ มีขั้นตอนประกอบไปด้วย การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร

องค์ประกอบของมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการแบ่งเป็น 7 องค์ประกอบ  

องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย

          เป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายและแผนด้านความปลอดภัย โครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย ส่วนอำนวยการ ส่วนบริหารจัดการ และส่วนปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังกำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบระดับองค์กรและหน่วยงาน

องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสารเคมีโดยใช้ระบบบันทึกข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการซึ่งสามารถบันทึกโดยใช้โปรแกรม Chemlnvent จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ การเก็บสารเคมีและการเคลื่อนย้ายสารเคมี ซึ่งสารเคมีร้ายแรงได้แก่ สารก่อมะเร็ง สารพิษต่อระบบสืบพันธุ์ และสารออกฤทธิ์เฉียบพลัน

องค์ประกอบที่ 3 ระบบการจัดการของเสีย

ประกอบด้วย การจัดการข้อมูล การจำแนกประเภท การรวบรวมและจัดเก็บ การบำบัดและกำจัด และการตรวจติดตามประเมินและรายงานผลการดำเนินการด้านต่าง ๆ ของการจัดการของเสีย ซึ่งควรมีการจัดทำระบบบันทึกข้อมูลของสารเคมีและของเสียที่มีการนำเข้าและนำออกในห้องปฏิบัติการ ระบุกลุ่มของเสียอันตราย (hazardous waste) ในห้องห้องปฏิบัติการ

องค์ประกอบที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือ

ประกอบด้วยงานสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรมภายใน งานวิศวกรรมโครงสร้าง งานวิศวกรรมไฟฟ้า งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม งานวิศวกรรมระบบปรับอากาศและระบายอากาศ และงานระบบฉุกเฉินและระบบติดต่อสื่อสาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานที่หรือห้องปฏิบัติการที่ต้องอยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย พื้นที่ห้องเหมาะสมและเพียงพอกับการใช้งานหรือจำนวนผู้ใช้งาน มีการแยกส่วนพื้นที่ห้องปฏิบัติการ (lab) ออกจากพื้นที่อื่น ๆ (non-lab) มีแสงสว่างเพียงพอ ระบบสายไฟและเต้าเสียบได้มาตรฐาน ไม่มีการต่อสายไฟพ่วง (ในกรณีที่จำเป็นต้องต่อสายพ่วง ไม่ควรนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง) มีการแยกระบบน้ำทิ้งทั่วไปออกจากระบบน้ำทิ้งที่ปนเปื้อนสารเคมี มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนออกสู่รางน้ำสาธารณะ ระบบระบายอากาศเหมาะสมกับการทำงาน

องค์ประกอบที่ 5 ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย

ประกอบด้วยการบริหารความเสี่ยง ความพร้อม/ตอบโต้กรณีฉุกเฉิน และข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไป ซึ่งเป็นการบ่งชี้ความเป็นอันตราย การประเมินจัดการและบริหารความเสี่ยง

องค์ประกอบที่ 6 การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

เป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการแก่บุคคลในองค์กรได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าห้องปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงาน พนักงานทำความสะอาด ผู้เข้าเยี่ยมชม เป็นต้น โดยการฝึกอบรม

องค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร

ประกอบด้วยระบบการจัดกลุ่ม ระบบการจัดเก็บ ระบบกานำเข้า-ออก และติดตาม ระบบการทบทวนและปรับปรุงให้ทันสมัย

      ภายหลังจากจากอบรม มีการทำแบบทดสอบหลังการอบรม ซี่งมีเกณฑ์การผ่านการฝึกอบรมที่คะแนน 70% จึงจะได้รับประกาศนียบัตร

 ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

พัฒนาในการสอนได้แก่ วิชา ชว 354 การควบคุมคุณภาพทางเทคโนโลยีชีวภาพ ชว 450 เทคโนโลยีการหมัก ชว451 การออกแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพ วท 497 สหกิจศึกษา และวท 498 การเรียนรู้อิสระ

ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

มีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ

คำสำคัญ :
Espel  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1177
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 8:33:46   เปิดอ่าน 15  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง