ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการอบรมสัมมนา เรื่อง Material Thermal Characterization: from Basic to Advance Application
วันที่เขียน 17/3/2564 16:51:37     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 10:13:01
เปิดอ่าน: 1936 ครั้ง

การวิเคราะห์ทางความร้อน (Thermal analysis) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของวัสดุและกับอุณหภูมิหรือเวลา โดยสามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งสารอินทรีย์ พอลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เภสัช วัสดุอนินทรีย์ เซรามิกส์ และโลหะ

การอบรมสัมมนา เรื่อง Material Thermal Characterization: from Basic to Advance Application เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เป็นการสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมี ดร.ชลันดา จุฬาคำ เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และหลักการของเครื่องมือของการวิเคราะห์ทางความร้อน (Thermal Analysis) ได้แก่ Thermogravimetric analysis (TGA) Differential scanning calorimetry (DSC) และ Simultaneous DSC & TGA (SDT) รวมทั้งการอธิบายผลการวิเคราะห์ตัวอย่างหรือวัสดุ และการประยุกต์ใช้เครื่องวิเคราะห์ทางความร้อนในด้านต่าง ๆ เช่น เช่น สารอินทรีย์ พอลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เภสัช วัสดุอนินทรีย์ เซรามิกส์ และโลหะ

ข้าพเจ้าได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา เกี่ยวกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางความร้อนที่มีความถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว ทันสมัย ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบการสอนทางด้านเคมีอนินทรีย์ การยกตัวอย่างในเนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับการเตรียมและวิเคราะห์สารประกอบโคออร์ดิเนชัน ซึ่งการใช้เทคนิค TGA ประกอบการวิเคราะห์เชิงปริมาณ จะทำให้สามารถทราบปริมาณขององค์ประกอบต่างๆ ในสารประกอบได้ รวมทั้งการบูรณาการกับงานวิจัยเพื่อพัฒนาหัวข้องานวิจัยที่มีประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการตอบข้อซักถามระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาจากหน่วยงานต่าง ๆ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1146
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 9:49:47   เปิดอ่าน 68  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2568 6:01:03   เปิดอ่าน 93  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย » ขอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
ตามที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย” ภายใต้ โครงการการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในวันพุธที่...
AI  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พรพรรณ อุตมัง  วันที่เขียน 21/2/2568 9:49:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/3/2568 22:00:48   เปิดอ่าน 178  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง