การเขียนข่าวและการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์
วันที่เขียน 10/9/2562 15:40:44     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 10:14:53
เปิดอ่าน: 4396 ครั้ง

การเขียนข่าวและการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารเนื้อหาที่เกี่ยวกับองค์กร/หน่วยงาน เพื่อรายงานภารกิจ หรือกิจกรรมความก้าวหน้าของหน่วยงาน ให้แก่สาธารณชนหรือบุคคลทั้งภายนอกและภายในองค์กรทราบ และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีหรือด้านบวกให้กับองค์กร

การเขียนข่าวและการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ 

การเขียนข่าว 

     “ข่าว”(NEWS) คือ หัวใจของงานประชาสัมพันธ์ที่จะรายงานภารกิจ หรือกิจกรรมความก้าวหน้าของหน่วยงาน ให้แก่สาธารณชนทราบ ซึ่ง NEWS ย่อมากจาก N หมายถึง North (ทิศเหนือ) E หมายถึง East (ทิศตะวันออก) W หมายถึง West (ทิศตะวันตก) S หมายถึง South (ทิศใต้) และลักษณะของข่าวที่ดีต้องมีความกระชับ เขียนให้ตรงประเด็น และสื่อให้รู้เรื่อง ถูกต้องชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ถูกสถานที่ ถูกกลุ่มคนฟังเป้าหมาย โดยเน้นข้อเท็จจริง ผู้เขียน

     ข่าวประชาสัมพันธ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ใช้ภายในหน่วยงาน ยกตัวอย่างเช่น จดหมายข่าว แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงข่าวสารในระบบ Social Media ซึ่งหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (เว็บไซต์, Line, Facebook) หรือข่าวสารซึ่งหน่วยงานจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารดังกล่าวสู่สาธารณะ เพื่อให้ทราบและเข้าใจในหน่วยงาน รวมถึงเพื่อให้เกิดการยอมรับและภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน

ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์ ได้แก่

1. ข่าวแจ้งให้ทราบ เป็นการแจ้งให้ทราบรายละเอียดต่างๆ ของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่จะมีขึ้น เช่น ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และสาขาวิชาที่เปิดใหม่ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ หรือ ผลิตผลต่างๆ

2. ข่าวประกอบกิจกรรมพิเศษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องการได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นพิเศษ เช่น โครงการรณรงค์ต่างๆ การจัดกิจกรรม road show

3. ข่าวเหตุการณ์เร่งด่วน เผยแพร่กรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีเหตุการณ์เร่งด่วนที่ควรแจ้งให้บุคลากรได้รับทราบอย่างรวดเร็ว เช่น ข่าวภัยพิบัติต่างๆ

4. ข่าวตอบโต้เหตุการณ์ ในกรณีที่เรื่องราวของหน่วยงานที่รับรู้ไป ถึงสื่อมวลชนโดยมิได้ออกมาจากนักประชาสัมพันธ์ จนกลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์หรือตั้งข้อสงสัยจากหน่วยงานภายนอก เช่น ข่าวลือ ข่าวความขัดแย้ง ดังนั้นจึงต้องมีการชี้แจงอย่างละเอียดด้วยเหตุผลน่าเชื่อถือ

องค์ประกอบในการเขียนข่าว (5 W 1 H)

1. Who ใคร คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข่าว

2. What ทำอะไร คือ เกิดอะไรขึ้น หรือเหตุการณ์ใดที่สำคัญ

3. Where ที่ไหน คือ เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน

4. When เมื่อไร คือ เหตุการณ์เกิดขึ้นวัน และเวลาใด

5. Why ทำไม คือ ทำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิดขึ้น  

6. How อย่างไร คือ เหตุการณ์เป็นอย่างไร 

โครงสร้างการเขียนข่าว

1. พาดหัวข่าว เป็นการบอกประเด็นสำคัญของข่าว มักใช้ประโยคที่เป็นข้อความสั้นๆแต่ได้ใจความ เพื่อบอกประเด็นที่สำคัญของข่าวนั้นๆ ว่า ใคร (Who) ทำอะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อไร (When) อย่างไร(How) และ ทำไม (Why) โดยใช้ตัวอักษรตัวใหญ่กว่าธรรมดา เป็นข้อความสั้นๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย แต่ต้องดึงดูดความสนใจและสามารถนำเสนอสาระสำคัญให้แก่ผู้อ่านได้ เช่น “คณะสถาปัตย์ ม.แม่โจ้ เปิดหลักสูตรหมอต้นไม้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในไทย เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมสีเขียว”

2. ความนำ เป็นประเด็นสำคัญของเรื่องราว เขียนด้วยประโยคสรุปเรื่องหรือสรุปประเด็นสำคัญเพื่อขยายความพาดหัวข่าวว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร โดยจะมีความยาวประมาณ 3-6 ประโยค เป็นสาระสำคัญของเนื้อหาข่าวที่เขียนโดยย่อเพื่อสร้างความเข้าใจ ไปแก่ผู้อ่าน เช่น “เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้จัดกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ณ ห้องประชุมใหญ่ เพื่อเป็นการสำนึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์”

3. ความตาม หรือ ส่วนเชื่อมโยง เป็นข้อความสั้นๆที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง ความนำ กับ เนื้อข่าว เพื่อให้การเขียนข่าวนั้นเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นข้อความที่ขยายประเด็นของเรื่อง อาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ เช่น “ซึ่ง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี”

4. เนื้อข่าว เป็นส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยเป็นการบอกเรื่องที่เหลือจากที่บอกไว้แล้วในความนำ ซึ่งเป็นเป็นข้อเท็จจริงที่ขยายความให้ชัดเจนขึ้น เป็นเรื่องราวทั้งหมดของข่าวที่ตอบคำถาม 5 W และ 1 H เช่น “เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ประจำปี 2562 ณ ห้องประชุมใหญ่ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.พรศิลป์ รัตนชูเดช จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ มาเป็นผู้ทำพิธีพราหมณ์และพิธีครอบครูช่างดังกล่าว”

การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ 

     การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์  เป็นการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับองค์กร/หน่วยงานต่อสาธารณะชนหรือบุคคลทั้งภายนอกและภายในองค์กร เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีหรือด้านบวกให้กับองค์กร

แนวทางการถ่ายภาพเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 

1. มีความพร้อมของอุปกรณ์ (กล้อง/แฟลช/ฟิล์ม/ฟิลเตอร์)

2. ควรจัดองค์ประกอบของภาพให้ดี ต้องพิถีพิถันในเรื่องการจัดวางวัตถุในภาพ สีของภาพ แสงของภาพ ความชัดของภาพ และเลือกมุมกล้องที่ดีในการถ่ายภาพ

3. เน้นความเป็นเอกภาพ ให้ภาพถ่ายมีเรื่องเพียงเรื่องเดียว เพราะจะทำให้เข้าใจง่าย ไม่เกิดความสับสน

4. ในกรณีที่เป็นการถ่ายภาพบุคคล ต้องถ่ายให้เห็นบุคลิกภาพของบุคคลนั้นให้ดีที่สุด เครื่องแต่งกายเรียบร้อย กิริยาท่าทางควรดูสง่างาม บุคคลที่เป็นประธานควรอยู่ตรงกลางภาพ

5. ควรเลือกระยะชัด (Focus) เฉพาะจุดที่ต้องการเน้น

6. ช่างภาพต้องมีความว่องไว ในการถ่ายภาพเหตุการณ์

คุณสมบัติของภาพข่าวประชาสัมพันธ์ 

1. มีคุณภาพด้านเนื้อหาที่สมบูรณ์ พอที่จะบอกเรื่องราวให้ผู้อ่านเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

2. ต้องสื่อความหมายในเรื่องที่ต้องการจะสื่อได้อย่างชัดเจน

3. สามารถตอบคำถามให้แก่ผู้อ่านได้เหมือนกับการอ่านความนำข่าว (ใคร ทำอะไร ที่ อย่างไร)

4. ต้องมีความคมชัด และมีความละเอียดของภาพในขนาดที่สามารถลงในระบบออนไลน์ หรือตีพิมพ์ได้ โดยสื่อเรื่องราวทั้งหมดได้ครบถ้วน

5. มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ โดยต้องตรงกับเนื้อหา

ประโยชน์ของภาพข่าว 

1. ภาพข่าวช่วยให้ผู้อ่านมีโอกาสเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

2. เป็นหลักฐานยืนยันถึงสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียนบรรยายในข่าว

3. เป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆจากภาพข่าว

4. ช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้รับสื่อรู้จักบุคคลที่ปรากฎในข่าว

5. ช่วยสร้างความน่าสนใจในการอ่านข่าว

6. สามารถทราบเหตุการณ์จากภาพข่าวแทนตัวหนังสือได้

 

ตัวอย่างการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของคณะ

1. http://www.faed.mju.ac.th/dept_pr/v3/news.php?news_id=939


2. http://www.faed.mju.ac.th/dept_pr/v3/news.php?news_id=944


3. http://www.faed.mju.ac.th/dept_pr/v3/news.php?news_id=953


4. http://www.faed.mju.ac.th/dept_pr/v3/news.php?news_id=955




  

  

  

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1002
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมากับการทำเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 23:34:21   เปิดอ่าน 1626  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง