รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : เซลล์
สรุปรายงานจากการอบรม » วิธีการเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อแสดงการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
การเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่วิธีการเตรียมสไลด์ ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในหลักสูตรพันธุศาสตร์ ได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนต่อไป การศึกษาตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหรือส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยผนึกลงบนสไลด์ แล้วนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นวิธีการที่ดีทําให้สามารถศึกษาส่วนประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ การทําสไลด์ถาวร จะช่วยให้ศึกษาถึงรายละเอียดของสิ่งมีชีวิตได้ มีความสะดวกในการใช้งาน ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวอย่างพืช (ดอกข้าวโพด) และไม่เสียเวลาทําใหม่เหมือนกับสไลด์ชั่วคราว
คำสำคัญ : สไลด์ถาวร การแบ่งเซลล์ ไมโอซิส meiosis  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 238  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 26/9/2566 11:21:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:56:50
สรุปรายงานจากการอบรม » การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์เบื้องต้น
Cell culture หมายถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ขึ้นในหลอดทดลอง โดยใช้อาหารเลี้ยงเซลล์ที่แตกต่างกันตามชนิดของเซลล์ ปัจจุบันนักวิจัยได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์มาใช้ในการทดสอบสิ่งต่างๆ เช่น การทดสอบยาต้านเชื้อจุลินทรีย์ การทดสอบวัคซีน การผลิตโปรตีนที่จำเพาะในเซลล์ และการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ เป็นต้น แทนการทดสอบในสัตว์โดยตรง ซึ่งมีความยุ่งยากในการควบคุมปัจจัยต่างในการดำเนินชีวิตของสัตว์ มีค่าใช้จ่ายสูง และยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้แนวทางการทดสอบสิ่งต่างๆในเซลล์สัตว์ที่ทำการเพาะเลี้ยงขึ้นในหลอดทดลองแทน ประโยชน์ของการเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลองคือ สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมที่จะให้เซลล์อยู่ได้ เซลล์จะมีความเหมือนและมีลักษณะเฉพาะตัว ประหยัด และสามารถคาดเดาผลที่จะเกิดกับสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยสารต่างๆ
คำสำคัญ : การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 41529  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 5/9/2559 0:50:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 4:25:11
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » เทคนิค Flow cytometry และการประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์จำนวนชุดของโครโมโซมในพืช
Flow cytometry เป็นเทคนิคที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของเซลล์ โดยอาศัยหลักการกระเจิงของแสงเลเซอร์เมื่อตกกระทบเซลล์หรือโมเลกุลของสารเรืองแสงที่ติดกับสารภายในเซลล์ ทำให้สามารถวัดขนาดของเซลล์ ทราบถึงความซับซ้อนขององค์ประกอบภายในเซลล์ ทราบถึงชนิดของเซลล์ ทราบปริมาณสารภายในเซลล์ เทคนิคนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การนับจำนวนเซลล์ การแยกชนิดของเซลล์ การวัดขนาดของจีโนม การประมาณจำนวนชุดของโครโมโซมภายในเซลล์พืช ในการวิเคราะห์ขนาดของจีโนมและการวิเคราะห์จำนวนชุดของโครโมโซม ทำได้โดยการย้อมดีเอ็นเอด้วยสารสีเรืองแสงแล้วจึงนำนิวเคลียสนั้นไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง flow cytometer นำค่าความเข้มของแสงฟลูออเรสเซนส์ที่วัดจากการเรืองแสงของสารสีเรืองแสงของตัวอย่างซึ่งเป็นค่าที่สะท้อนถึงปริมาณดีเอ็นเอภายในเซลล์ไปเปรียบเทียบกับค่าความเข้มของแสงฟลูออเรสเซนส์ของเซลล์มาตรฐานและเซลล์อ้างอิงที่ทราบถึงขนาดของจีโนมและทราบจำนวนชุดของโครโมโซมที่แน่นอนแล้ว จะทำให้เราทราบขนาดของจีโนมหรือจำนวนชุดของโครโมโซมของพืชที่ศึกษาได้
คำสำคัญ : flow cytometry  โครโมโซม  จำนวนชุดของโครโมโซม  เซลล์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 43722  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 16/3/2558 10:18:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 2:40:04
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » การศึกษาชุดโครโมโซมในเซลล์พืช ด้วยเครื่อง Flow Cytometry (Plant DNA Ploidy Analysis with Flow Cytometry)
เครื่อง Flow Cytometry เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่มีความสามารถในการวิเคราะห์คุณสมบัติหลายๆ ประการของเซลล์ สามารถนำเอาเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่ศึกษาในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ทั้ง สัตว์ พืช และจุลชีพ
คำสำคัญ : Flow cytometry, เซลล์, Ploidy, โครโมโซม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5077  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 10/3/2558 16:03:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 23:53:11