รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : การใช้ประโยชน์
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » เทคโนโลยีการหาลำดับเบส Next Generation Sequencing
Next Generation Sequencing (NGS) คือ เทคโนโลยีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์หรือลำดับเบสของดีเอ็นเอ เพื่อศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ ปัจจุบันเทคนิค NGS ได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยอย่างแพร่หลาย การใช้ NGS ศึกษาด้านการปรับปรุงพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ เทคนิค NGS สามารถนำมาใช้ในการศึกษา Genotyping-By-Sequencing (GBS) มีประโยชน์ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์และพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอ ซึ่งจะนำมาช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ดีทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
คำสำคัญ : NGS  การใช้ประโยชน์  การหาลำดับเบส  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 20125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 10/9/2564 14:35:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/11/2567 13:44:29
การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น » การเตรียมเอนไซม์อาหารสัตว์จากก้อนเพาะเห็ดเก่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์เศรษฐกิจในท้องถิ่น
ก้อนเห็ดหมดอายุเป็นแหล่งของเอนไซม์ กลุ่มย่อยโพลิแซคคาไรด์หลายชนิดที่นำมาใช้เป็นเอนไซม์เสริมในอาหารสัตว์ได้ และจากผลวิเคราะห์ค่ากิจกรรมเอนไซม์ย่อยโพลีแซคคาไรด์ในก้อนเห็ดหมดอายุ 4 ชนิด ได้แก่ เห็ดยานางิ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดลม พบว่า ก้อนเห็ดลมมีกิจกรรมของเอนไซม์เหลือมากที่สุด คือ เซลลูเลส 5.48 อะมัยเลส 5.20 แมนนาเนส และไซลาเนส 16.07 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง และพบว่าการสกัดด้วยระบบวนชะสามารถสกัดเอนไซม์ได้ดีกว่าการสกัดแบบครั้งคราว อัตราการไหล 8 มล./นาที 2 รอบ สกัดเอนไซม์รวมได้ 31.29 ยูนิต/กรัม น้ำหนักแห้ง เอนไซม์หยาบที่ผลิตได้นี้สามารถย่อยพื้นผิวของแกลบได้ ดังนั้นคาดว่าน่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในแง่ของการเสริมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มการย่อยได้ของสัตว์
คำสำคัญ : ก้อนเห็ดหมดอายุ เอนไซม์อาหารสัตว์ การใช้ประโยชน์ได้ของอาหารสัตว์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2330  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 13/9/2562 14:30:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 9:52:32