รหัสอ้างอิง :
440
|
|
ชื่อสมาชิก :
สมคิด ดีจริง
|
เพศ :
หญิง
|
อีเมล์ :
somkid_d@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
21/4/2554 11:36:00
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
21/4/2554 11:36:00
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปอบรมการเก็บรักษาจุลินทรีย์
ข้าพเจ้า นางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) เมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2559 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี และขอนำเสนอสรุปเนื้อหา ดังนี้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying)
วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ เพื่อเป็นวัสดุในการเรียนการสอน เพื่อเป็นวัสดุในงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการค้า อุตสาหกรรม เกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบธุรกิจการให้บริการ เป็นต้น
วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่
การเก็บรักษาโดยการทำให้แห้ง การเก็บรักษาโดยการแช่แข็ง วิธีอื่น ๆ เช่น เก็บเชื้อในน้ำมัน เก็บเชื้อในพาราฟินเหลว เก็บเชื้อในน้ำ เก็บเชื้อโดยการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่ เป็นต้น
การพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ ความสำคัญและมูลค่าของจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่รอดชีวิตในกระบวนการเก็บรักษา การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ความบริสุทธิ์ของจุลินทรีย์ เงินทุน จำนวนตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เก็บรักษา การให้บริการจุลินทรีย์ ความถี่ในการใช้จุลินทรีย์
วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์แบบแห้ง ได้แก่
การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในดิน (soil) หรือ ใช้ทราย (sand) การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในซิลิกาเจล (silica gel) หรือใช้เม็ดแก้ว (glass bead) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนกระดาษ หรือดิสก์ (paper strip or disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนผิววัตถุแห้ง (Predried plug) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนแผ่นเจลาติน (gelatin disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งจากของเหลว (Liquid drying หรือ L-drying) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze-drying หรือ lyophilization)
การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำให้แห้ง อาศัยหลักการนำน้ำออก หรือลดความชื้นจากเซลล์จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพแห้ง จะทำให้อัตราเมแทบอลิซึมต่ำลง ทำให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งการเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำแห้งจากของเหลว เป็นการทำให้ซัสเพนชันของจุลินทรีย์แห้งภายใต้สูญญากาศโดยไม่ต้องผ่านการแช่แข็ง เทคนิคนี้ใช้เก็บรักษาแบคทีเรีย ฟาจของแบคทีเรย ยีสต์ และราได้นาน โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ไวต่อการแช่แข็งหรือการทำแห้งแบบเยือกแข็ง วิธีการนี้ใช้เก็บเชื้อได้ทุกชนิดยกเว้นเชื้อราที่สร้าง zoospore และ sterile strain มักใช้วิธีการนี้ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ทนความแห้ง และไม่ทนต่อสภาพเย็นจัด
วิธีการเก็บเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ
เพาะเลี้ยงเชื้อในหลอดอาหารและบ่มให้เชื้อเจริญเต็มที่
ผสมเชื้อในสารป้องกันเซลล์ (protective agent)
ย้ายส่วนผสมลงหลอดบรรจุเชื้อจุลินทรีย์ (ampoule)
ตัดปลายสำลีให้เรียบ
ดันสำลีเข้าในหลอด (ลึก 3 เซนติเมตร)
ทำให้หลอดแก้วคอด
ทำให้แห้งภายใต้สภาวะสูญญากาศนาน 3-4 ชั่วโมง
ปิดหลอดภายใต้สูญญากาศ
เก็บหลอดเชื้อที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
ข้อดีและข้อเสียของการเก็บรักษาเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ
ข้อดี ข้อเสีย
-สามารถเก็บเชื้อให้มีชีวิตได้นาน -วัสดุและอุปกรณ์ราคาแพง
-โอกาสกลายพันธุ์เกิดได้น้อย -ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน
-โอกาสปนเปื้อนเกิดน้อย -ต้องการบุคลากรที่ชำนาญพิเศษ
-ไม่เปลืองพื้นที่เก็บ -เชื้อบางชนิดเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้
-สะดวกต่อการขนส่งทางไปรษณีย์ -ทำให้เชื้อบางชนิดกลายพันธ์ได้ เช่น เชื้อราที่ไม่สร้างสปอร์
จะเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้
ระบบการตรวจคุณภาพเชื้อที่เก็บรักษา
- การมีชีวิตภายหลังการเก็บรักษา เช่น ดูจากการเจริญของเชื้อ การนับจำนวนโคโลนี
- การปนเปื้อน เช่น ใช้อาหารเฉพาะชนิดของเชื้อ ใช้อาหารสำหรับแบคทีเรียทั่วไป
- การตรวจสอบเพื่อยืนยันคุณสมบัติและลักษณะที่ตรงตามชื่อ เช่น ขึ้นอยู่กับ ชนิดของจุลินทรีย์และผู้เชี่ยวชาญ
การนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย
ได้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ทำให้ทราบหลักการและวิธีการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาจุลินทรีย์ได้ยาวนานขึ้น
การพัฒนาการเรียนการสอน
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการการอบรมนี้ไปพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ชว 432 การเก็บรักษาจุลินทรีย์ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำความรู้ไปใช้ในการเขียนเอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นรายวิชาที่ผู้เข้าอบรมเคยเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวและกำลังจะเปิดสอนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคตต่อไป
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้