รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : เนื้อหาเข้าร่วมประชุมวิชาการแม่โจ้ ปี 2560
ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการแม่โจ้ ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ได้รับฟังการบรรยายและชมโปสเตอร์เรื่องที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ได้แก่
เรื่อง งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดย รศ. ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล โดยผู้บรรยายกล่าวถึง มหาวิทยาลัยจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เข้ากับนโยบายประเทศไทย 4.0 เนื่องจากการวิจัยเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยพัฒนาประเทศโดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2579) ซึ่งมีวิสัยทัศน์คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ” ซึ่งผู้บรรยายกล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ น่าจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยยุทธศาสตร์ทางด้านการเกษตรของชาติได้สถาบันอุดมศึกษาของไทยเป็นหนึ่งองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ตามนโยบายของรัฐบาล และควรขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 เช่นเดียวกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยมีพันธกิจด้านการวิจัยและในมหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่มีศักยภาพการขับเคลื่อนงานวิจัย ในการนำมาต่อยอดเพื่อการพัฒนาประเทศได้ และผู้บรรยายยังกล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลก็มีการสนับสนุนงบประมาณในการทำการวิจัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย และผู้บรรยายเสนอแนะว่าผู้วิจัยควรจะพัฒนาโจทย์วิจัยที่จะตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของชาติ ผู้บรรยายยังกล่าวถึง การทำงานวิจัยในปัจจุบันควรจะมีการบูรณาการงานวิจัยร่วมกันให้มากขึ้น และควรเป็นงานวิจัยที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อช่วยพัฒนาประเทศได้ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง สถานการณ์อุตสาหกรรมการแปรรูปแตงกวาดองในตลาดโลก โดยคุณชาติประชา สอนกลิ่น กรรมการบริหาร บริษัท พัลซาร์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ทำให้ทราบว่าสิ่งสำคัญของการทำอุตสาหกรรมแตงกวาดอง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ และการเพาะปลูกแตงกวา ระบบของการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น เดิมการบริโภคแตงกวาดองจะนิยมในแถบยุโรป แต่ความต้องการบริโภคแตงกวาดองมีมากขึ้นประกอบกับพื้นที่ทางการเกษตรแถบยุโรปมีน้อยลงและมีแรงงานลดลง แต่ปัจจุบันก็มีปลูกแตงกวาสำหรับดองอยู่ในยุโรปตะวันออกอยู่บ้าง จึงทำให้มีการนำเข้ามาปลูกแถบเอเชียครั้งแรกในประเทศอินเดียและศรีลังกา ซึ่งกระบวนการผลิตแตงกวาดองอาจทำได้ 3 แบบ ได้แก่ Brine processing, Acetic acid processing และ Vinegar processing
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ได้แก่
เรื่อง ผลของสารสกัดจากเมล็ดมะแขว่นที่ผ่านการกลั่นแยกน้ำมันหอมระเหยออกต่อการเจริญของจุลินรีย์ก่อโรค ได้แก่ Escherichia coli (TISTR No.527), Vibrio parahaemolyticus (TISTR No.1596) และ Staphylococcus aureus พบว่า สารสกัดมีคุณสมบัติที่ดีในการต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบ E. coli และ V. parahaemolyticus ได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก S. aureus
เรื่อง การคัดแยกแบคทีเรียที่มีศักยภาพสูงในการผลิตไลเปสจากตะกอนน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมัน พบว่า แยกได้แบคทีเรีย Acinetobacter radioresistens ซึ่งพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ไลเปสของเชื้อนี้ ได้แก่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และใช้น้ำมันปาล์มเป็นแหล่งคาร์บอน ซึ่งน่าจะนำแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ไปประยุกต์ในด้านต่าง ๆ ต่อไป
เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดจากไซยาโนแบคทีเรีย Oscillatoria sp. ในการยับยั้งเชื้อรา Sclerotium rolfsii สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก พบว่า สารสกัดจากเชื้อข้างต้นมีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคเหี่ยวในพริกได้ในระดับห้องปฏิบัติการซึ่งสามารถพัฒนาไปใช้ในระดับแปลงปลูกต่อไป
เรื่อง ฤทธิ์ต้านเชื้อราก่อโรคในข้าวของตะกอนที่แยกได้จากรากพาหมี พบว่า ตะกอนที่แยกได้ให้ผลในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคในข้าวได้
เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียในลำไส้ปลวกที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลส พบว่า ได้แบคทีเรียที่ย่อยสลายเซลลูโลสได้ดีคือ Staphylococcus warneri
เรื่อง การทดสอบกิจกรรมเอนไซม์แอสพาราจิเนสและเมไทโอนิเนสของแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่แยกได้จากงาขี้ม้อน พบว่า เชื้อที่ผลิตเอนไซม์นี้ได้สูงสุด คือ Bacillus subtilis และ B. pumilis ซึ่งน่าจะมีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์รักษาโรคได้
เรื่อง ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้อง 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวกล้องหอมแดง และข้าวกล้องหอมนิล พบว่า การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลททำให้จำนวนยีสต์ และเชื้อราในเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้องทั่วไปและข้าวกล้องอินทรีย์ผ่านมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข และพบว่า ความหลากหลายของแบคทีเรีย ยีสต์และรา ในเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้องอินทรีย์ไม่แตกต่างจากข้าวกล้องทั่วไป นอกจากนี้ ประเภทของข้าวกล้องไม่มีผลต่อคุณภาพทางจุลชีววิทยาของเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้อง
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว ได้แก่
เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพข้าวเหนียว กข6 ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงการปลูกข้าวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication; GI) ของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า คุณภาพของข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ที่ปลูกในพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ GI มีองค์ประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางความหนืดแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนลักษณะเนื้อสัมผัสของข้าวเหนียวหุงสุกจากทุกพื้นที่ที่ศึกษาไม่แตกต่างกันทางสถิติ สารประกอบที่ให้กลิ่นหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ในเมล็ดข้าว พบว่า ไม่แตกต่างทางสถิติ ส่วนคุณสมบัติทางเคมีดิน พบว่า ปริมาณธาตุอาหารที่พบในดินจากแปลงเกษตรกรที่เก็บตัวอย่างข้าวจากอำเภอเขาวง มีอินทรียวัตถุและปริมาณธาตุ P, K, Ca, Mg, Fe และ Mn ต่ำกว่าทุกตำบลในอำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอนาคูแตกต่างกันทางสถิติ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าคุณภาพข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 จากพื้นที่อำเภอนาคู ตำบลภูแล่นช้าง มีความหอม ความแข็งและความเหนียวไม่แตกต่างจากข้าว
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้