Blog : สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าประชุมวิชาการแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าประชุมวิชาการแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561
ข้าพเจ้า นางสาวสมคิด ดีจริง ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความรู้จากการร่วมรับฟังการเสวนา เรื่อง ดิจิทอลพลิกโลกเกษตร โดยพันเอก รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งวิทยากรกล่าวถึง การทำการเกษตรยุคดิจิทอล ซึ่งเป็นการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ (smart farm หรือ intelligent farm) โดยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร หุ่นยนต์ และอื่น ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่ประเทศดิจิทอลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และวิทยากรยังกล่าวถึงยุคเทคโนโลยีแห่งอนาคตเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence, AI) ซึ่งจะเข้ามาช่วยการให้เกิดการเรียนรู้และสนับสนุนกิจกรรมที่มนุษย์ต้องการให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และจะเป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านจีโนมิกส์มาเกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร นอกจากนี้ วิทยากรยังกล่าวว่า หลักสูตรทางด้านการศึกษาที่เปิดสอนนักศึกษาควรเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ - เรื่อง สมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ โดยอาจารย์สุภักตร์ ปัญญา ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้คือ สมาร์ฟาร์ม เห็ดแม่โจ้นำเทคโนโลยีระบบควบคุมและแจ้งเตือนอัจฉริยะ ผ่านระบบอินเทอเนตโดยอัตโนมัติส่งไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อให้ทราบถึงสถานะปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงผลิตเห็ดโดยติดตั้งเซนเซอร์วัดความชื้น และควบคุมระบบการเปิดปิดน้ำ นอกจากนี้ ยังมีระบบจัดเก็บบันทึกข้อมูลความชื้นและอุณหภูมิตลอดระยะเวลาการผลิตเห็ด ผลการวิจัย พบว่า ระบบสมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ที่สร้างขึ้น สำหรับใช้ในการผลิตเห็ดหลินจือสามารถนำมาใช้ได้ผลดี และมีระดับความพึงพอใจอยูในระดับมาก - เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดโดย สมชาย อารยพิทยา ซึ่งพบว่า การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติจากอุปกรณ์โทรศัพทย์เคลื่อนที่ได้ - เรื่อง องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบใน เครื่องสำอางโดย ณัฐวุฒิ หวังสมนึก พบว่า ใบดาหลามีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 246.52 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด โดยมี isoquercitin, catechin และ gallic acid เป็นชนิดเด่น ส่วนฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า สารสกัดใบดาหลามีประสิทธิภาพขจัดอนุมูลเอบีทีเอสและดีพีพีเอชได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าใบดาหลาเป็นแหล่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว - เรื่อง ผลิตภัณฑ์วุ้นมะพร้าวในน้ำกระเจี๊ยบแดงและการเก็บรักษา โดย จารุวรรณ มณีศรี พบว่า สูตรที่ใช้อัตราส่วนของกระเจี๊ยบแดงแห้งต่อน้ำและความเข้มข้นของน้ำตาลที่ 1:100/13 % และ 1:150/13 % (w/v) เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด และคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ในช่วง 14 วันแรก มีค่าพีเอชลดลง ปริมาณของแข็งที่ละลายเพิ่มขึ้น ค่าความสว่างเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์หลังจาก 14 วัน มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และคุณภาพด้านเนื้อสัมผัสของชิ้นวุ้นมะพร้าว พบว่า ค่าความแข็งแรงและความยืดหยุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุการเก็บรักษานานขึ้น และพบว่า เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปริมาณจุลินทรีย์ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จึงสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการบรรยายในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เรื่อง ทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารการแสดงในสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการวิจัยขั้นสูง โดยธนสิน ชุตินธรานนท์ พบว่า ทักษะศตวรรษที่ 21 ที่มีความจำเป็นสูงสุด ประกอบด้วย 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร คุณธรรมจริยธรรม ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาน ตามลำดับ เมื่อนิสิตนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในสาขาดังกล่าวแล้วควรเป็นบัณฑิตผู้มีคุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ 1) เป็นนักการสื่อสารที่มีคุณภาพ 2) มีจรรยาบรรณและวิจารณทัศน์ และ 3) มีความรู้ด้านการใช้ตัวเลขวิเคราะห์เชิงปริมาณในระดับพื้นฐาน และยังได้ความรู้จากผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ดังนี้ - เรื่อง ผลกระทบของการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในดินปลูก ข้าวต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสมบัติบางประการของดินเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการน้ำแบบขังน้ำ โดยชฎาภา ใจหมั้น พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากดินภายใต้การปลูกข้าว และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดิน ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการลดการใช้น้ำในการปลูกข้าว และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ - เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากดินป่า โดยขวัญจรัส เชิงปัญญา พบว่า ได้แบคทีเรียที่มีกิจกรรมเอนไซม์เอนโดกลูคาเนส และเซลโลไบโอไฮโดรเลส และเบต้า-กลูโคซิเดสดีที่สุด ซึ่งแบคทีเรียที่คัดเลือกได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อไป - เรื่อง การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa โดยศรีกาญจนา พบว่า ใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก และยังตรวจพบปริมาณ Rosmarinic acid สูงสุดเท่ากับ 0.78 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบการเพาะเลี้ยงเนื้
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้