Blog : ISO

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ISO
ISO 22000:2005 เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารอีกตัวหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจกรรมในอุตสาหกรรมอาหารโดยตรง รวมถึงความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อาหาร ตัวมาตรฐาน ISO 22000 จะครอบคลุมข้อกำหนดทั้ง GMP, HACCP รวมถึงข้อกำหนดที่สำคัญภายในระบบการจัดการขององค์กร มาตรฐานมุ้งเน้นไปที่ผู้ประกอบการให้รักษาความปลอดภัยของอาหารที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการรวมข้อกำหนดจากมาตรฐานต่างๆ ที่นำมาใช้ในปัจจุบัน เป็นตัวช่วยให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทางของห่วงโซ่อาหาร มีการควบคุมอันตรายร่วมอยู่ด้วย ทุกขั้นตอนจะมีการตรวจสอบอย่างถูกต้อง โดยจะนำเอาข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายมาทำการพิจารณา เพื่อให้เกิดความถูกต้องกับความต้องการของลูกค้า มาตรฐานของ ISO 22000 จะเน้นเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารที่ถูกผลิตในอุตสาหกรรมโลก ซึ่งจะเป็นอาหารที่ถูกผลิตขึ้นในปริมาณมากๆ มีขั้นตอนที่ซับซ้อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ถูกยกขึ้นมาให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารมากขึ้น และคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐและผู้ผลิตอาหารจะช่วยดูแลสุขภาพของประชาชนได้ ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ประกอบอาการอาหารเป้นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนเพื่อสร้างความปลอดภัยที่รับประกันได้ในกระบวนการ Supply chain อันซับซ้อน ในการนำระบบมาตรฐานอาหาร ISO 22000:2018 มาใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐาน (prerequisite program) ที่ดี เพราะสามารถนำมาใช้ควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงาน ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับอาหาร โปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานต้องเหมาะสมกับองค์กรและบริบทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร เหมาะสมขนาดชนิด และลักษณะธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต การประเมินอันตรายต้องมีเกณฑ์ในการประเมินที่แน่นอนชัดเจน เช่น การใช้คำถามและจะประเมินความเสี่ยงออกมา 3 ระดับ คือ ความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง หลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว ทำการควบคุมความเสี่ยงนั้น ๆ โดยต้องมีมาตรการอย่างเป็นระบบ สามารถวัดผลได้ มีการเฝ้าระวัง การตรวจติดตามเพื่อตรวจสอบ
ISO »
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน  วันที่เขียน  แก้ไขล่าสุดเมื่อ

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้