มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2564 : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นโยบายส่งเสริมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ. 2562 –2665) และมาตรการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
- มุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติผลักดันให้เกิดการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารอันตรายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในด้านมาตรฐานการวิจัยอย่างเป็นระบบ
- มุ่งขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเชื่อมโยงกับการจัดสรรทุนวิจัย
- มุ่งพัฒนาระบบการจัดการและสร้างเครือข่ายเพื่อความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและขยายผลครอบคลุมสารอันตราย
- พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ทั้งผู้วิจัย ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมมือในการดาเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
- สร้างความเข้มแข็งให้หน่วยงานเครือข่ายมีบุคลากรทุกระดับที่มีความสามารถในการบริหารจัดการรวมถึงระบบตรวจสอบติดตามความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี
- เกิดมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเทียบได้กับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ
ก่อให้เกิดประโยชน์ของมาตรฐานการวิจัยดังนี้
- ปกป้องคุ้มครองสิทธิของอาสาสมัคร
- ป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพมนุษย์ และความหลากหลายทางชีวภาพ
- ผลการวิจัยได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล
- ควบคุมการเลี้ยง และการใช้สัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณ
- ป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและสิ่งแวดล้อม
- รักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงของนักวิจัย
การประเมินในระบบการสำรวจสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558) โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (2555) ได้ให้ความหมายของ ห้องปฏิบัติการปลอดภัยว่า คือ ห้องปฏิบัติการที่มีการป้องกันและลดความเสี่ยงอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกิดความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
มาตรฐาน ESPReLChecklist ได้แก่
ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ การบริหารระบบ การจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ลักษณะ ทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการจัดการของเสีย ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร การจัดการข้อมูลสารเคมี และการจัดการความเสี่ยงระบบการจัดการสารเคมี ข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องทราบ สารนั้นคืออะไร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน ความเป็นอันตรายอย่างไร การจัดเก็บปลอดภัยต้องทำอย่างไร การใช้งานอย่างไรต้องปลอดภัย
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัย
- ต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง มากเท่าไหร่ และความเสี่ยงอย่างไร
- เก็บสารเคมีในภาชนะที่เหมาะสม มีฉลากชัดเจน มีการตรวจสอบสม่ำเสมอ
- แยกตามความเป็นอันตราย /ความเข้ากันไม่ได้
- เก็บสารเคมีในตู้บริเวณเหมาะสมและป้ายเตือนอันตรายที่ชัดเจนไม่วางขวดบนพื้นหรือโต๊ะปฏิบัติการ
- ไม่เก็บสารไวไฟไว้มากเกินไป
- มีเอกสาร SDS ของสารเคมีทุกชนิดที่จัดเก็บ
- มีการประเมินความเสี่ยง การจัดเตรียมมาตรฐานรองรับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม