การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016)
วันที่เขียน 22/2/2560 11:17:02     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 17:02:28
เปิดอ่าน: 3767 ครั้ง

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และ มีการส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีการส่งออก คิดเป็น ร้อยละ ๙o.๕๗ ของปริมาณการส่งออกของโลก ในกระบวนการผลิตยางแผ่น หากยางแผ่นมีเชื้อราเกิดขึ้น ทำให้คุณภาพของยางแผ่นลดลง ส่งผลให้เกษตรกรขายยางแผ่นในราคาที่ถูกลง อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกร หรือ คนงานในโรงงานยางแผ่นรมควัน ประกอบกับ ราคาน้ำยางธรรมชาติ ราคาถูก คณะผู้วิจัย จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าของน้ำยางธรรมชาติในเชิงพาญิชย์ และ นำสารสกัดซีรัมน้ำยางพารา กำจัดเชื้อราเชื้อราปนเปื้อนแผ่นยางดิบ และ นำซีรัมน้ำยางธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เชิงเภสัชกรรม คณะผู้วิจัย จึงทำการแยกและพิสูจณ์เอกลักษณ์สารสกัดจากซีรัมน้ำยางพารา พบสาร L-quebrachitol จากซีรัมน้ำยางพาราสด ร้อยละ o.o๕๔ และ จากน้ำทิ้งในกระบวนการรีดยางแผ่น ร้อยละ o.o๓๖ เมื่อเทียบกับน้ำยางพาราสด จากนั้น ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราจากสารสกัดหยาบซีรัมน้ำยางพารา และ สาร L-quebrachitol ด้วยวิธี Agar disc diffusion และ ทดสอบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อรา (Minimal Inhibitory Concentration; MICs) พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol มีฤทธิ์ต้านเชื้อราปนเปื้อนยางแผ่น จีนัส Aspergillus sp. และ Penicillium sp. ดีที่สุด และ เมื่อนำสารสกัดดังกล่าว มาเคลือบบนยางแผ่น พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol สามารถลดการปนเปื้อน และ ลดการเจริญของเชื้อราบนแผ่นยาง ได้ นาน ๒ เดือน เมื่อใช้ที่ความเข้มข้น ๒o ppm

การนำไปใช้ประโยชน์  ข้าพเจ้า ได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ  ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016) มาเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ในส่วนของการพัฒนา และ ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ซีรัมน้ำยางพารา จำนวน ๒ ชนิด ภายใต้ โครงการวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้ซีรัมน้ำยางพาราให้เกิดประโยชน์ทางด้าน การแพทย์ การเกษตร และ อุตสาหกรรมยาง ( Application of Latex Serum for Medicinal, Agricultural and Rubber Industrial) ภายใต้ทุนสนับสนุน จาก โครงการ คอบช ประจำปี ๒๕๕๙ สัญญาเลขที่ RDG5950022 โดยมีเนื้อหาสรุป ดังนี้

          ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และ มีการส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีการส่งออก คิดเป็น ร้อยละ ๙o.๕๗ ของปริมาณการส่งออกของโลก ในกระบวนการผลิตยางแผ่น หากยางแผ่นมีเชื้อราเกิดขึ้น ทำให้คุณภาพของยางแผ่นลดลง ส่งผลให้เกษตรกรขายยางแผ่นในราคาที่ถูกลง อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกร หรือ คนงานในโรงงานยางแผ่นรมควัน ประกอบกับ ราคาน้ำยางธรรมชาติ ราคาถูก คณะผู้วิจัย จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าของน้ำยางธรรมชาติในเชิงพาญิชย์ และ นำสารสกัดซีรัมน้ำยางพารา กำจัดเชื้อราเชื้อราปนเปื้อนแผ่นยางดิบ และ นำซีรัมน้ำยางธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เชิงเภสัชกรรม

          คณะผู้วิจัย จึงทำการแยกและพิสูจณ์เอกลักษณ์สารสกัดจากซีรัมน้ำยางพารา พบสาร                          L-quebrachitol จากซีรัมน้ำยางพาราสด ร้อยละ o.o๕๔  และ จากน้ำทิ้งในกระบวนการรีดยางแผ่น ร้อยละ o.o๓๖ เมื่อเทียบกับน้ำยางพาราสด จากนั้น ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราจากสารสกัดหยาบซีรัมน้ำยางพารา และ สาร L-quebrachitol ด้วยวิธี Agar disc diffusion และ ทดสอบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อรา (Minimal Inhibitory Concentration; MICs) พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol มีฤทธิ์ต้านเชื้อราปนเปื้อนยางแผ่น จีนัส Aspergillus sp. และ Penicillium sp. ดีที่สุด และ เมื่อนำสารสกัดดังกล่าว มาเคลือบบนยางแผ่น พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol สามารถลดการปนเปื้อน และ ลดการเจริญของเชื้อราบนแผ่นยาง ได้ นาน ๒  เดือน เมื่อใช้ที่ความเข้มข้น ๒o ppm สาร L-quebrachitol แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Penicillium sp. ได้ ๔๕ % และ สารสกัดหยาบเมทานอล แสดงผลการยับยั้งเชื้อรา Aspergillus sp. ได้ ๒o % ตามลำดับ เมื่อทดสอบ ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราบนยางแผ่น พบว่า ยางแผ่นที่ชุบด้วยสารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol ยับยั้งเชื้อรา Aspergillus sp. และ Penicillium sp. ได้ดีที่สุด เป็นระยะเวลา ๒ เดือน และ ศึกษาสมบัติทางกายภาพ พบว่า สารเคลือบแผ่นยาง ไม่ส่งผลต่อความทนแรงดึงสูงสุดและความหนาแน่นของแผ่นยางดิบอย่างมีนัยสำคัญ

          ในการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคท้องร่วงและแบคทีเรียสาเหตการเกิดสิว และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดซีรัมน้ำยางพารา พบว่า สารสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตท สามารถ ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้เกือบทุกชนิด ยกเว้น Staphylococcus epidermidis และ Propionibacterium acnes โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใส ระหว่าง ๗.๓ - ๑๒ mm สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol สามารถยับยั้งแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดสิว Staphylococcus aureus (๑๗.๘ mm),  S. epidermidis (๗.๔ mm) และ P. acnes (๙.๖ mm) ได้ และ มีผลยับยั้งต่อแบคทีเรียสาเหตุโรคท้องร่วง Escherichia coli ได้เพียงชนิดเดียว และ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสาร L-quebrachitol มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ๕๗.๒๓ % รองลงมา ได้แก่ สารสกัดหยาบเอทิลอะซีเตท และ สารสกัดหยาบน้ำรีดยางแผ่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ๓๙.๙o % และ ๓๗.๕๘ % ตามลำดับ

          จากฤทธิ์ทางชีวภาพ ดังกล่าว จึงพัฒนาชีวภัณฑ์ต้นแบบ ๒ ชนิด ได้แก่ เจลซีรัมน้ำยางพารายับยั้งการเกิดสิวและชลอริ้วรอยแห่งวัย ทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์เจลซีรัมน้ำยางพารา พบว่า ยังคงสภาพปกติ เมื่อเทียบกับเจลพื้นฐาน และ ผลิตภัณฑ์เคลือบแผ่นยาง จากสารละลาย L-quebrachitol เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อรา ภายหลังจากการเคลือบด้วยสาร L-quebrachitol สามารถยับยั้งการปนเปื้อนของเชื้อราบนยางแผ่น จีนัส Penicillium sp. ได้ ระยะเวลา นาน ๒ เดือน ชีวภัณฑ์ต้นแบบ สามารถพัฒนาในเชิงพาญิชย์ต่อไป สาร L-quebrachitol ที่ผลิตจากงานวิจัยชิ้นนี้ มีต้นทุนการผลิตต่ำ และ ราคาถูกกว่าราคา L-quebrachitol ทางการค้า ๔๔ เท่า  

         ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ  ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016) ได้นำมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัย ดังกล่าว นำมาผลิตเป็น ชีวภัณฑ์ซีรัมน้ำยางพารา ทั้ง ๒ ชนิด  ชีวภัณฑ์ ดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานได้จริง และ สามารถต่อยอดเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=619
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 12:12:47   เปิดอ่าน 201  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง