สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมประชุมประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 5/9/2561 13:58:57     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:23:07
เปิดอ่าน: 2971 ครั้ง

การตรวจสอบหาพ่อแม่พันธุ์แตงกวาเพื่อผลิตแตงกวาลูกผสมที่มีลักษณะดีเด่น ในการทดลองได้ทดสอบผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ที่มีดอกเป็นดอกกระเทยทั้งหมด 23 พันธุ์และพันธุ์แม่ที่มีแต่ดอกเพศเมียจำนวน 2 พันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ลูกผสม 3 คู่ผสมให้ผลผลิตสู มีลักษณะดีเด่นที่ดีกว่าพ่อแม่ อาจเป็นเพราะสายพันธุ์พ่อแม่ที่ใช้สำหรับคู่ผสมนี้มีฐานพันธุกรรมที่แตกต่างกันมาก สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งในแปลงรวบรวมพันธุ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยเทคนิค RAPD พบว่าฝรั่งพันธุ์สาลี่ทองและพันธุ์กิมจูมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ 0.96 สอดคล้องกับลักษณะฟีโนไทป์ที่มีความหนาเนื้อ จำนวนเมล็ดน้อยใกล้เคียงกันกัน ส่วนพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ ฝรั่งพันธุ์จิตรลดา และพันธุ์หวานพิรุณ ซึ่งฝรั่งพันธุ์จิตรลดาจะมีความแตกต่างจากฝรั่งพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะใบหยิก และมีผลขนาดเล็ก เมื่อแสดงผลในรูปแผนภูมิความสัมพันธ์ (dendrogram) สามารถแบ่งฝรั่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ซึ่งค่าความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ฝรั่ง เพราะพันธุ์พ่อและแม่ที่มีฐานทางพันธุกรรมต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันลูกผสมที่ได้จะมีโอกาสเกิดความดีเด่นของลูกผสม (Heterosis) ในอัตราสูง

          เรื่องความดีเด่นของแตงกวาลูกผสมโดยใช้สายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยเป็นสายพันธุ์พ่อ แตงกวาเป็นพืชที่มีการแสดงเพศดอกอยู่ 3 แบบ คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกกระเทย โดยในแต่ละต้นนั้นอาจมีโอกาสที่จะพบดอกเพียงเพศเดียว สองเพศ หรือพบได้ทั้ง 3 เพศ ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกของเพศดอกได้แก่ พันธุกรรมทั้งชนิด (Species) หรือสายพันธุ์ (Variety) สภาพแวดล้อมขณะพืชเจริญ เติบโต และปัจจัยของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือฮอร์โมนพืช การผลิตแตงกวาลูกผสมเพื่อการค้าในปัจจุบันใช้คู่ผสมระหว่าง gynoecious (มีดอกเพศเดียวใน1ต้น) x monoecious (มีดอกผู้และเมียแยกดอกกันใน 1 ต้น) ทาให้ได้แตงกวาลูกผสมที่มีการแสดงเพศดอกผันแปรไปตามฤดูกาล ในงานวิจัยนี้ต้องการสร้างแตงกวาลูกผสมที่เกิดจากแตงกวาต้นพ่อที่มีดอกเป็นดอกกระเทย (hermaphrodite) ทั้งหมด 23 พันธุ์ ผสมกับแตงกวาต้นแม่ที่มีแต่ดอกเพศเมีย (gynoecious) จำนวน 2 พันธุ์ เพื่อทดสอบหาต้นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่เหมาะสมในการผลิตแตงกวาลูกผสมต่อไป จากการทดลองทดสอบคุณภาพลูกผสมทั้ง 46 คู่ผสมที่เกิดขึ้น พบว่ามีสายพันธุ์แตงกวาลูกผสม 3 คู่ผสม ได้แก่ 1) gy.0650103-1/H4-48-15-12 2) gy.0650103-1/H10-19-35-3 และ 3) gy.0650103-1/H10-20-25-6 ให้ผลผลิตต่อไร่สูง มีค่าน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล และความกว้างของผลไม่แตกต่างจากพันธุ์การค้า นอกจากนี้ยังแสดงค่าเปอร์เซ็นต์ความดีเด่นเหนือค่าเฉลี่ยพ่อแม่สูงในลักษณะผลผลิตต่อไร่ ลักษณะน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล และลักษณะความยาวผลอีกด้วย การที่ลูกผสมทั้ง 3 คู่ให้ค่าลักษณะทางการเกษตรสูงดีกว่าพันธุ์พ่อแม่ หรือค่า heterosis เป็นบวกเกือบทุกลักษณะนั้นอาจเป็นเพราะสายพันธุ์พ่อและแม่มีฐานพันธุกรรมที่แตกต่างกันมาก

            จากข้อมูลข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า สายพันธุ์แม่ gy.0650103-1 เมื่อนำมาผสมกับสายพันธุ์พ่อ H4-48-15-12, H10-19-35-3 และ H10-20-25-6 สามารถทำให้ได้ลูกผสมที่มีค่าเฉลี่ยของผลผลิตสูงและลักษณะทางการเกษตรที่ดี และลูกผสมชั่วที่ 1 ระหว่างสายพันธุ์แม่ที่มีเพศดอกแบบ gynoecious และสายพันธุ์พ่อที่มีเพศดอกแบบhermaphrodite ที่ใช๎ในการทดลองนี้นั้นเป็นคู่ผสมที่เหมาะสาหรับนำไปใช้ในการผลิตแตงกวาลูกผสมพันธุ์ใหม่ในอนาคต

            สรุปเนื้อหาเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งในแปลงรวบรวมพันธุ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี จากการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งทั้งหมด 15 สายพันธุ์จากแปรงรวบรวมพันธุ์ของม.แม่โจ้ ด้วยเทคนิค RAPD โดยใช้ไพรเมอร์ 60 ชนิดพบว่า 44 ชนิดสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ และให้แถบที่ชัดเจน โดยเป็นแถบดีเอ็นเอที่แสดงความแตกต่าง (polymorphic bands) จำนวน 104 แถบ คิดเป็น 68.42 % และ มี % polymorphism อยู่ในช่วง 25-100 % ซึ่งมี 10 ไพรเมอร์ที่ให้เปอร์เซ็นต์ polymorphic สูงสุด คือ 100 % เมื่อนำแถบดีเอ็นเอที่ได้ไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยโปรแกรม NTSys-pc และเลือกวิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA โดยคำนวณค่าดัชนีความเหมือน พบว่าฝรั่งทั้ง 15 พันธุ์ มีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.73 - 0.96 โดยที่ฝรั่งพันธุ์สาลี่ทองและพันธุ์กิมจูมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ 0.96 สอดคล้องกับลักษณะฟีโนไทป์ที่มีความหนาเนื้อ จำนวนเมล็ดน้อยใกล้เคียงกันกัน ส่วนพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ ฝรั่งพันธุ์จิตรลดา และพันธุ์หวานพิรุณ ซึ่งฝรั่งพันธุ์จิตรลดาจะมีความแตกต่างจากฝรั่งพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะใบหยิก และมีผลขนาดเล็ก เมื่อแสดงผลในรูปแผนภูมิความสัมพันธ์ (dendrogram) สามารถแบ่งฝรั่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ซึ่งค่าความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ฝรั่ง เพราะพันธุ์พ่อและแม่ที่มีฐานทางพันธุกรรมต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันลูกผสมที่ได้จะมีโอกาสเกิดความดีเด่นของลูกผสม (Heterosis) ในอัตราสูง

จากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนทั้งวิชาพันธุศาสตร์เบื้องต้น (ชว 340) และวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาของหลักสูตรฯ ได้

  

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=856
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 0:36:37   เปิดอ่าน 14  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:41:56   เปิดอ่าน 28  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 18:10:07   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง