Internet of Things (IoT) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หมายถึงการที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถูกเชื่อมโยงโดยอินเทอร์เน็ต จึงทำให้เราสามารถสั่งการ ควบคุม อุปกร์ต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การเฝ้าระวัง ติดตาม การเปิด-ปิด อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการเกษตร เป็นต้น
อุปกรณ์ IoT มีLoRaWAN หรือ LPWAN (Low-Power WAN) จะเป็นชื่อที่เราได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ มันคือการวางโครงข่ายไร้สายความเร็วต่ำ แต่กินพลังงานต่ำ มีพื้นที่ครอบคลุมเป็นวงกว้าง ใช้สำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ต้องสื่อสารตลอดเวลา แต่ส่งข้อมูลไม่เยอะในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ LoRaWAN เป็นความถี่สาธารณะจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ
สำหรับ LoRaWAN ในประเทศไทยผู้ให้บริการโดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) - CAT แนวโน้มคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีจะเกิดอุปกรณ์ IoT บนโลกเพิ่มขึ้นหลายหมื่นล้านอุปกรณ์สำหรับประเทศไทยปัจจุบันทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจและมีแนวโน้มการใช้งาน IoT มากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องสร้างโครงข่ายสื่อสารใหม่คือ LoRaWan ขึ้นเพื่อจะรองรับให้อุปกรณ์ IoT จำนวนมหาศาลนี้เชื่อมโยงส่งข้อมูลสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย LoRaWan (Long-Range Wide Area Network) หรือเรียกว่าโครงข่าย LoRa คือ โครงข่ายบนคลื่นความถี่เฉพาะเพื่อใช้งานกับ IoT เสมือนเป็นถนนเลนพิเศษ แยกจากคลื่นโทรศัพท์มือถือที่เราใช้สื่อสารทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ขณะนี้โครงข่าย LoRa ได้เปิดใช้งานแล้วในหลายพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ชลบุรี น่าน ระยอง สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา สงขลา ขอนแก่น ภูเก็ต และจะเร่งขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปีนี้
สำหรับการใช้งาน และเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมอุปกรณ์ IoT ปัจจุบันทำได้ง่ายเนื่องจากจะมี Software Development Kit - SDK ให้อยู่แล้วเพียงจึงทำให้ระยะเวลาในการพัฒนาสั้น และมีอุปกรณ์ให้เลือกหลากหลาย เช่น หากต้องการใช้อุปกรณ์ IoT สำหรับตรวจสอบ วัดความดันอากาศ (Barometer), วัดอุณภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity) ก็สามารถพัฒนาโดยใช้ภาษา C/C++ ดังรูป
รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ IoT - LoRAWAN ที่ใช้ทดสอบ
รูปที่ 2 แสดงการ Complie โปรแกรมใส่อุปกร์ LoRaWAN โดยใช้ Keil (http://www.keil.com)
รูปที่ 3 แสดงการแสดงผลผ่านเว็ปไซต์โดยใช้ Cayenne (https://cayenne.mydevices.com)
รูปที่ 4 แสดงการแสดงผลผ่านอุปกรณ์ Smart Phone โดยใช้ Cayenne (https://cayenne.mydevices.com)
ทั้งนี้จะเห็นว่าการแสดงผล ไม่ว่าจะทาง Web หรือ Mobile Application ผู้ใช้ไม่จำเป็นที่ต้องพัฒนาเอง ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ให้สามารถใช้งานได้ฟรี เพียงแต่ส่งข้อมูลให้กับตัวระบบให้ถูกต้อง ดังรูปจะเห็นว่าการแสดงผลจะใช้ Cayenne ดังนั้นปัจจุบันการพัฒนาหรือการประยุกต์ใช้ ผู้พัฒนา จะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มบางส่วน ก็สามารถสร้างระบบ IoT ของตัวเองได้แล้ว