ขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
- สถานประกอบการในภาคการผลิตและบริการ
- บุคลากรด้าน วทน.
- หน่วยงานต้นสังกัดของบุคลากร
- สวทน.
ประเภทของสมาชิกมี 3 ประเภท คือ
- สถานประกอบการ จะได้รับการยกเว้นการจ่ายเงินค่าชดเชยแก่หน่วยงานต้นสังกัด การเข้าร่วมและจัดงาน Talent Mobility Fair, การใช้บริการ TM Clearing House และการใช้สถานที่ห้องประชุม ของ สวทน.
- สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยของรัฐ จะได้รับค่าชดเชยสำหรับการสรรหาบุคลากรทดแทน, การเข้าร่วมและจัดงาน Talent Mobility Fair, การใช้บริการ TM Clearing House และการใช้สถานที่ห้องประชุมของ สวทน.
- บุคลากร วทน. จะได้เข้าร่วมงาน Talent Mobility Fair, การใช้บริการ TM Clearing House และการใช้สถานที่ห้องประชุมของ สวทน.
กระบวนการดำเนินการของโครงการมีดังนี้
- สถานประกอบการแจ้งความต้องการบุคลากร วทน. มายังศูนย์อำนวยความสะดวก Talent Mobility (TM Clearing House) โดยมีโจทย์การทำงาน หรือ โครงการวิจัยที่ชัดเจน และปัญหาของกระบวนการทำงานที่เผชิญอยู่
- ทางศูนย์จะทำการติดต่อไปยังบุคลากรและต้นสังกัดจากฐานข้อมูลของ Talent Mobility โดยคัดเลือกบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถเหมาะสมกับความต้องการของสถานประกอบการ
- และเมื่อบุคลากรและต้นสังกัดตอบรับการไปทำงานวิจัยในสถานประกอบการแล้ว ทางศูนย์ จะทำการติดต่อไปยังสถานประกอบการ และประสานงานอำนวยความสะดวกในการทำสัญญาและตกลงในรายละเอียดระหว่างบุคลากร ต้นสังกัด และสถานประกอบการ ซึ่งในการดำเนินการโครงการนี้ ทางสถานประกอบการจะจ่ายค่าชดเชยเพื่อจัดหาบุคลากรปฏิบัติงานทดแทนให้กับหน่วยงานต้นสังกัด และ สนับสนุนเงินเพิ่มพิเศษแก่บุคลากรที่เข้าไปปฏิบัติงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลง
งบประมาณสนับสนุน
งบประมาณสนับสนุนสามารถได้รับจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- งบประมาณสนับสนุนจาก สวทน.
บุคลากร วทน. และสถานประกอบการสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการร่วมกันและเสนอเข้ามาเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก สวทน. ได้
1.ค่าชดเชยเพื่อจ้างบุคลากรทดแทนหรือการเพิ่มเวลาปฏิบัติงานของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ
งบชดเชย = 1.5 * เงินเดือน * FTE * จำนวนเดือน
สัดส่วนร้อยละของวันต่อสัปดาห์ที่ปฏิบัติงาน (FTE) และ 1.5 เท่าของเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 60,000 ให้กับหน่วยงานต้นสังกัด
2. ค่าตอบแทนผู้ช่วยนักวิจัย
ระดับการศึกษา
|
เงินสนับสนุนต่อเดือน
|
นักศึกษาระดับปริญญาเอก
|
12,000
|
นักศึกษาระดับปริญญาโท
|
10,000
|
นักศึกษาระดับปริญญาตรี
|
8,000
|
3. โดยอาจารย์/นักวิจัยต้องไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี และมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ
4. สถานประกอบการต้องเป็น SMEs เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย โดยกิจกรรมของสถานประกอบการต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
- การวิจัยและพัฒนา
- การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
- การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
- การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- ค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์/นักวิจัย วงเงินไม่เกิน 400,000 บาทต่อโครงการ
(ค่าตอบแทนระดับตำแหน่ง * ระยะเวลาปฏิบัติงาน)
ระดับการศึกษา
|
เงินสนับสนุนต่อเดือน
|
อาจารย์
|
4,000
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
|
5,000
|
รองศาสตราจารย์/ศาสตราจารย์
|
6,000
|
2. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น ค่าจ้างวิเคราะห์และทดสอบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ตามระเบียบของสถาบันอุดมศึกษา วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท
3. สถานประกอบการได้ทุกขนาด แต่ต้องมีลักษณะดังนี้
3.1 ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการหรือการพัฒนาด้านโครงสร้างองค์กรในเรื่องการสร้างและพัฒนาการวิจัยในองค์กร (R&D)
3.2 ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
4. อาจารย์/นักวิจัยผู้เสนอโครงการต้องเป็นอาจารย์/นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัด สกอ. ได้รับความเห็นชอบจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด
ดาวน์ไฟล์เอกสารไฟล์ PDFได้ที่นี้