การปฏิบัติงานอย่างมีความสุข
วันที่เขียน 18/1/2554 12:53:24     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/5/2567 8:04:46
เปิดอ่าน: 4996 ครั้ง

การปฏิบัติธรรมในที่ทำงาน

     เคยมีใครไหมครับที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับบางคนในที่ทำงาน ไม่อยากไปทำงานเพราะไม่อยากพบคนที่เราไม่ถูกใจ คนที่เราคิดว่าเป็นคนไม่ดี คนที่ชอบคิดร้ายกับผู้อื่น อาจเป็นหัวหน้าที่สุดห่วย ทุจริต ยกตนข่มท่าน เอาแต่ชอบ ไม่รับผิด มีชู้ เพื่อนอาจารย์ที่ไม่ยอมสอน เป็นกาฝาก แถมยังยุยงแบ่งแยกความสามัคคีในที่ทำงานอีกต่างหาก

     เคยมีใครไหมครับที่ย้ำทำย้ำคิด เฝ้าแต่ถามตัวเองและคนรอบข้างว่าทำไม ๆๆๆ สิ่งรอบข้างที่ไม่ถูกใจจึงไม่หมดไปสักที มีใครไหมครับที่หมดกำลังใจที่จะทำงาน รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ รอวันที่ฟ้าจะเป็นสีทอง วัน ๆ เอาแต่บ่นกับเพื่อนกับครอบครัวถึงแต่ปัญหาและเรื่องที่ทำงาน โดยลืมคิดไปว่าหน้าตาตัวเองนั้นในขณะนั้นดูเศร้าหมองเพียงใด หมดสง่าราศรี ใบหน้าที่เคยร่าเริงเป็นสุขมีรอยยิ้มแย้มก็หายไป คนใกล้เคียงก็พลอยอึดอัด เซ็งไปด้วย สักวันโรคเครียดก็คงถามหา แล้ว “โรคจิต” ก็จะตามมา

ถ้าเป็นเช่นนั้น ลองมาฟังข้อแนะนำดูหน่อยไหมครับ

      ให้เราลองคิดใหม่เสียว่า “โลกเราก็เป็นอย่างนี้เอง ธรรมชาติก็เป็นเช่นนี้เอง” ไม่มีที่ใดในโลกที่สมบูรณ์พร้อม โลกเกิดมานานมากแล้ว มีทั้งด้านโหดร้ายและด้านสวยงามในเวลาเดียวกันเสมอ ไม่เคยมีที่ใดที่มีสีเขียวเสมอกันหมด ในต้นไม้ต้นเดียวจะมีสีเขียวอ่อนมาก ๆ สลับสีเขียวอ่อนเฉย ๆ มีสีเขียว สีเขียวแก่ สีเขียวเข้ม สีเขียวยอดตองอ่อน สีเขียวดำ สีเขียวอมฟ้า

     ไม่เคยมีที่ใดในโลกที่เป็นสีขาวล้วนหรือสีดำล้วน ในโลกแห่งความเป็นจริงจะมีสีขาวเจือดำเป็นสีเทา หรือสีดำปนขาว ปะปนกันไป โลกก็เป็นเช่นนี้เอง โลกไม่มีความแน่นอนเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แล้วนับประสาอะไรกับในที่ทำงานของเรา คนที่เราคิดว่าไม่ดี ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นสีดำสนิท เพราะด้านดีหรือดำปนขาวก็ย่อมยังมีอยู่บ้าง และเผลอ ๆ ในด้านดีของเขานั้น อยากให้ถามตัวเราว่าเราสามารถทำได้ถึงครึ่งหนึ่งของเขาหรือเปล่า เราไม่มีทางเปลี่ยนวิถีของโลกได้ และเช่นเดียวกันครับ เราไม่มีวันเปลี่ยนคนที่เราไม่ถูกใจในที่ทำงานได้ นั่นจึงเป็นความแน่นอน ที่ใดมีคนดีที่นั่นก็มีคนไม่ดี ที่ใดมีคนถูกใจที่นั่นก็ย่อมมีคนไม่ถูกใจเป็นธรรมดาของโลก ทางเดียวที่เปลี่ยนได้ก็คือ “เปลี่ยนตัวเรา” ลองปรับเปลี่ยนตัวเราให้เป็นไม่ต้องใส่ใจคนไม่ค่อยดีเหล่านั้นดู เริ่มในวันนี้เลยซิครับ รับรองว่าง่ายกว่าเยอะเลย

     คนไม่ค่อยดีเหล่านั้นถ้าหากมีวันใดเกิดพูดเพราะ ๆ ขึ้นมา หรือกลับมาเป็นเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความเกรงใจ มีความเป็นผู้ดีทั้งกาย วาจา ใจ ก็คงต้องรอวันโลกแตก เพราะมันจะไม่มีวันเกิดขึ้น ดังนั้น อย่ารอให้ถึงวันนั้นแล้วเราจึงจะมีความสุขได้

     ลองหันกลับไปทำงานที่เราต้องรับผิดชอบให้เต็มที่ดู อย่าเสียสมาธิไปกับเรื่องราวที่มากระทบประสาทสัมผัส (หู ตา) แล้วคอยดื่มด่ำกับผลลัพธ์ที่เราจะได้จากการทำงานเต็มที่ ถ้าเราทำงานได้เต็มที่ จะอย่างไงก็ตามก็ย่อมต้องมีใครสักคนได้รับอานิสงค์ของการทำดีของเรา จะมากจะน้อยก็ตาม นั่นหมายถึงการได้บุญแล้วแหละครับ

     ถ้าเราเข้าใจในเรื่องนี้ เราก็พอจะมีความสุขตามอัตภาพได้ ไม่ต้องมาบ่น ทำหน้าเศร้าหมอง บูดเบี้ยว บ่น ให้เพื่อนร่วมงานอึดอัดใจ หรือทำให้คนในครอบครัวเสียใจที่เราไม่ได้ทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้พวกเขา แต่กลับแบ่งเวลาส่วนใหญ่ไปกับความไม่ถูกใจในที่ทำงาน

     มีพระสอนให้พวกเราปฏิบัติธรรมในที่ทำงานด้วย ท่านสอนให้เราอย่าเบียดบังตัวเองโดยการทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ซึ่งนั่นหมายถึงการทำบาป ท่านสอนให้เราแผ่เมตตาให้กับทุกคนเพื่อให้เขาพ้นทุกข์ และเป็นคนดีแบบที่เราเป็น (หรือเปล่า) ซึ่งเราจะได้บุญจากการที่คิดดี และท่านยังสอนให้เราให้อภัย ท่านสอนว่าการให้อภัยหรืออถัยทานยังจะได้บุญมากกว่าการทำบุญกับพระอรหันต์ 100 องค์ เพราะอภัยทานจะทำให้จิตใจเราหมดความเศร้าหมอง ทำให้ผู้ที่ได้รับบุญเต็ม ๆ ก็คือเรานั่นเอง

  • เรามาปฏิบัติธรรมในที่ทำงานกันเถอะ มีสติรู้ว่าจิตใจเรากำลังเป็นอย่างไร อยู่ในสถานะอะไร เมื่อฝึกสติได้ดี ก็เกิดปัญญาตามมา
  • เราที่เคยหน้าตาเศร้าหมอง บูดเบี้ยวเพราะความโกรธ หงุดหงิด ก็จะเริ่มสวยงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส ใคร ๆ ก็ย่อมที่จะอยากเข้าใกล้
  • เราจะเป็นคนแบบไหน เราเลือกได้ครับ
  • ชีวิตใครชีวิตมัน ใครทำไม่ดีก็ปล่อยให้เขาได้รับผลของกรรมนั้น เราจะไม่ไปเกี่ยวข้องอะไรด้วยครับ เราจะทำดีต่อตัวเรา ต่อจิตใจเรา และต่อการงานของเรา

     ทำงานให้เต็มที่อย่าหวังผลตอบแทน เปรียบเสมือนการเป็นนักศึกษาที่ต้องเรียนให้เต็มที่ ส่วนการตัดเกรดเป็นเรื่องของอาจารย์ หมดหน้าที่ของเราแล้ว การทำงานให้เต็มที่โดยไม่หวังผลเป็นการสร้างบารมีสร้างประสบการณ์ เป็นภาพหรือทัศนะคติที่ดีของคนรอบข้างที่มีต่อเรา และยากที่จะลบได้ และในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ปฏิบัติไม่ชอบก็ย่อมได้รับภาพหรือทัศนะคติที่แย่ ๆ น่ารังเกียจจากคนรอบข้างซึ่งยากต่อการลบทำลายได้ เราจะเลือกเป็นแบบใดดี

     ผมเคยจดข้อความท้ายรถของ อ.ดร.วีระศักดิ์ ปรกติ แล้วนำมาปฏิบัติและนำไปสอนลูกศิษย์อยู่เสมอครับ ข้อความนั้นคือ “ผู้ใดทำกรรมใดไว้ (มัน) ผู้นั้นจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นทุกประการ ไม่ว่ากรรมดีหรือชั่วก็ตาม” ผมเขียนแล้วยังขนลุกอยู่เลยครับ

ขอพระอยู่กับผู้อ่านทุกท่านครับ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=61
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/4/2567 11:27:50   เปิดอ่าน 3073  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/5/2567 6:35:10   เปิดอ่าน 95296  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง