เปิดสมุดบันทึกเก่าๆ ดู มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ ..คือ เมื่อต้นปี 49 ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายของ คุณจักรภพ เพ็ญแข ที่ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15 เมื่อวันที่ 11 มค. 49 ผมขออนุญาตเขียนเป็นข้อๆ ตามที่บันทึกเลยเพื่อ เข้าใจได้โดยง่ายนะครับ
เรื่องทั่วไป
- ครู หมอ ปราชญ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวมากที่สุดเมื่อได้รับการกระทบกระเทือนและอำนาจต้องประดับด้วยปัญญา เมื่อวางอำนาจลงไปมีความเหนี่ยวนำให้เกิดความฉ้อฉลเสมอ (power tend to corupt)
- มหาวิทยาลัยท้องถิ่นจะต้องเป็นหน่วยงานที่เชื่อมโยงกับชุมชน งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ น่าจะมาจากโจทย์ของชุมชน และสามารถแก้ปัญหาได้
- โลกานุวัฒน์ ไวต่อการเปลี่ยนแปลง เราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงและรอดู ทีท่า อนุรักษ์นิยม ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงหรือของที่มาใหม่นั้นจะแย่กว่าเดิมบางคนโหดกับเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากไม่มีความสุขทางบ้าน
- ความดีกับความด้าน ทุกวันนี้คนเรามีดีลดลง แต่ความด้านเพิ่มมากขึ้น (ด้านเพราะไม่ทำความดี ..โดนใครบางคนเลย) คนครอบครัวพูดกันน้อยลง และถูกสิ่งยั่วยุไม่ให้ทุกข์
ต่างประเทศ
- ในอเมริกา คนที่ทำงานราชการถูกมองว่ามีประสิทธิด้อยกว่าเอกชน และคนที่ทำงานเอกชนดีกว่าราชการ (ต่างจากประเทศไทยเลย) การเมืองของอเมริกาขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ เป็น “การเมืองแบบมีเศรษฐกิจนำ”
- การกีดกันทางการค้า หมายถึงการตั้งมาตรฐานของสินค้าให้สูงขึ้น
- ประเทศจีน มีการเมืองแบบทุนนิยมและปัญหาของประเทศจีน คือ ความแตกต่างภายในประเทศมีมากเกินไป
- ประเทศสหภาพยุโรปลด หรือชะลอการซื้อของจากประเทศในแถบเอเชีย เนื่องจากกลุ่มสมาชิกใหม่ เช่น โปแลนด์ เช็ค ฮังการี สามารถผลิตได้เองและราคาพอๆ กัน และในปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วมักไม่ค่อยทำงานรับใช้กันจึงต้องจ้างแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน
นี่เป็นช่วงแรก เนื่องการบรรยายใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง กับความคิดและการวิเคราะห์ เมื่อ 4 ปี ที่แล้วกับ คุณจักรภพ เพ็ญแข ในตอนที่ 2 (สุดท้าย) จะกล่าวถึงประเทศไทย และสรุป ...หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ
.......นายบ้านโปง