กรณีวิกิลีกส์ (ภาษาชาวบ้านเรียกจารกรรมข้อมูล)
วันที่เขียน 18/1/2554 11:55:04     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/11/2567 14:09:13
เปิดอ่าน: 6904 ครั้ง

ความลับควรมีอยู่ในโลกดิจิตอลหรือไม่

เคเบิลเกต หรือ วิกิลีกส์ ทำไม HIT AND HOT !!! เวลานี้..

     ช่วงนี้ข่าวคราวในวงการสื่อที่เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตและมีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อประเทศสหรัฐอเมริกา  และเราไม่อาจมองข้ามไปได้เพราะเกี่ยวข้องกับประเทศไทยของเราอยู่มากเหมือนกัน ผู้อ่านคงพอได้ยินบ้าง คือเรื่อง วิกฤติวิกิลีกส์หรือเคเบิลเกตหรือภาษาชาวบ้าน ๆ ก็เรียกว่าวินาศกรรมด้านการข่าวก็ว่าได้  ณ ที่นี้ เราลองมาทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวว่า มันเป็นเรื่องอะไร แล้วประเทศไทยของเราไปเกี่ยวข้องกับวิกฤติดังกล่าวอย่างไรบ้าง แล้วใครเป็นสาเหตุให้ปัญหานี้เกิดขึ้น..และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ใครถูก ใครผิด กันแน่..

     ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าวิกิลีกส์นี้ก่อนว่าคืออะไร และทำอย่างไรถึงโด่งดังไปทั่วโลก ณ ขณะนี้   วิกิลีกส์คือเว็บไซต์  (Wikileaks.org) ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ มีภาษาให้เลือกอ่านมากกว่า 30 ภาษา โดยมีภาษาอังกฤษเป็นหลัก  เป็นองค์กรสื่อไม่แสวงหาผลกำไรระหว่างประเทศ  มีเว็บไซต์ไว้เผยแพร่เอกสารข้อมูลที่ถูกปกปิด ก่อตั้งมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 โดยนายจูเลียน แอสเซนจ์ วัย 39 ปี  ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลีย และนักเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ต ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้สื่อข่าว และประชาชนทั่วไป   และที่เป็นข่าวครึกโครมในปัจจุบันเพราะเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาเว็บไซต์ดังกล่าวได้มีการเผยแพร่เอกสารข้อมูลลับของกองทัพสหรัฐเกี่ยวกับการทำสงครามอัฟกานิสถาน ประมาณเก้าหมื่นกว่าชิ้น และต่อมาในเดือนตุลาคม เว็บไซต์วิกิลีกส์ก็ได้เผยแพร่ข้อมูลลับเกี่ยวกับการทำสงครามอิรักของรัฐบาลสหรัฐ ออกมาอีกจำนวน 400,000 ชิ้น และที่แน่ ๆ ก็คือเอกสารที่ถูกเผยแพร่โดยเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ธรรมดาแน่ ๆ  เพราะประกอบไปด้วยข้อมูลลับทางการฑูตระหว่างสถานฑูตสหรัฐอมริกาที่อยู่ทั่วโลกกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ   ว่ากันว่าเอกสารที่มีการเผยแพร่ในเรื่องการรบที่อัฟกานิสถานและการรบในสงคราม อิรักล้วนเป็นเอกสารที่แฉด้านดำมืดของสงคราม และหลังจากนั้นเว็บไซต์ดังกล่าวก็ถูกปิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

     แล้วประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิกฤตินี้อย่างไรบ้าง จากมติชนรายวัน หน้า 30 วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2553 “ลุ้นระทึกข้อมูลไทยโผล่ เคเบิลเกต” วิกิลีกส์ระบุบนเว็บมีข้อมูลจากสถานฑูตในไทยด้วย 2,941  ชิ้นรอเผยแพร่ โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นเอกสารที่อยู่ในชั้นความลับสุดยอดเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับสูงแต่ห้ามเจ้าหน้าที่ที่เป็นชาวต่างชาติเข้าถึง 15 ชิ้น อยู่ในชั้นความลับ 60 ชิ้น ชั้นปกปิด 1,326 ชิ้น อยู่ในชั้นที่สามารถเปิดเผยได้สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น 536 ชิ้น และเป็นรายงานทั่วไป 987 ชิ้น และแน่นอนว่าชิ้นที่เป็นข่าวใหญ่โตก็คือเรื่องบันทึกลับทางการฑูตของสหรัฐอเมริกาถึงการพิจารณาคดีส่งตัวนายวิคเตอร์ บูท  นักค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย เจ้าของฉายาพ่อค้าความตาย เป็นผู้ร้ายข้ามแดนจากไทยไปสหรัฐอเมริกา โดยมีการแฉว่ามีการวิ่งเต้นติดสินบนไม่ให้ส่งตัวไปดำเนินคดีที่สหรัฐอเมริกา ขณะที่อเมริกาพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำตัวนายวิคเตอร์ บูท กลับไป
ดำเนินคดี ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวได้เปิดโปงข้อมูลความลับในวงในของสถานฑูตสหรัฐในกรุงเทพฯ ซึ่งอ้างว่าเป็นบันทึกลับทางการทูตเกี่ยวกับคดีการพิจารณาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน (รายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากมติชนรายวัน หน้า 3 ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2553)

     สหรัฐอเมริกามองเรื่องนี้อย่างไร ในฐานะที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการก่อวินาศกรรมด้านการข่าว และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการฉีกหน้ากากสหรัฐ โดยผ่านกระบวนการการแฮกข้อมูล   โดยผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่ากรณีนี้ สร้างสถานการณ์ที่เย็นยะเยือกให้กับการติดต่อสื่อสารทางการทูตของสหรัฐ ในเรื่องดังกล่าวได้มีการเผยแพร่แถลงการณ์แสดงความเสียใจและขอประณามกรณีที่มีการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้อื่น และรัฐบาลสหรัฐยังคงพยายามยับยั้งการรั่วไหลของข้อมูล และประธานาธิบดี บารัค โอบามา พยายามที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนานาชาติในเรื่องนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ และนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่นักการฑูตของสหรัฐจะต้องเจรจากับเจ้าหน้าที่ต่างชาติอย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากความกลัวว่าข้อมูลดังกล่าวจะถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ  

          มุมมองด้านคนทำสื่อมองเรื่องดังกล่าวอย่างไร นิวยอร์ก ไทม์ส ให้เหตุผลว่า การปฏิเสธเอกสารเหล่านี้ก็เหมือนกับปฏิเสธผู้อ่านของตัวเอง  แต่เหตุผลที่สำคัญก็คือเอกสารลับเหล่านั้นได้บอกถึงวิธีการตัดสินใจของรัฐบาลในประเด็นสำคัญ ๆ จนทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียทั้งชีวิตและเงินมหาศาล ถ้าหากไม่นำเสนอตามข้อเสนอแนะของทางการก็อาจมองได้ว่าประชาชนไม่มีสิทธิ์ที่จะรับรู้ว่ามีการทำอะไรลงไปในชื่อของชาวอเมริกันบ้าง และนี่คือภารกิจอันยิ่งใหญ่ของสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อยุคไร้พรมแดน ซึ่งมักจะไม่ค่อยมีข้อจำกัดมากนักในเรื่องการได้รับการตรวจสอบ ความลับในยุคดิจิตอลจะยังคงมีอยู่หรือไม่? คำถามนี้คุณผู้อ่านคงต้องลองถามตัวเองดู  เพราะปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกระดาษที่ส่งผ่านระบบโทรสาร แบบเดิมแต่เป็นไฟล์ข้อมูลดิจิตอลจำนวนมหาศาล และช่องทางการติดต่อสื่อสารจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และธรรมชาติของข้อมูลดิจิตอลเขาว่ากันว่า “’ง่ายและถูก”  กว่าถ้าจะเผยแพร่ และจะ “ยากและแพง” กว่ามากถ้าจะปกปิดมันไว้ โดยในเรื่องดังกล่าว เจมส์ คอลลินส์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำรัสเซีย ให้ความเห็นไว้กับซีเอ็นเอ็นได้ถูกต้องและน่าใคร่ครวญอย่างยิ่งว่า การเปิดโปงครั้งนี้ของวิกิลีกส์  จะเร่งให้ทุกคนทำทุกอย่างเหมือนที่คนธรรมดาทำและด้วยวิธีที่ศิวิไลซ์ได้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรขอบคุณเทคโนโลยีหรือควรประณามกันแน่

อ้างอิง

มติชนรายวัน

  1. หน้า  28 ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
  2. หน้า 3 ฉบับวันที่ 7 ธันวาคม 2553
  3. หน้า 30 ฉบับวันที่ 2 ธันวาคม 2553
  4. หน้า 3 และ หน้า 17 ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2553


คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=54
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 12:12:47   เปิดอ่าน 201  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง