การนำ Competency ไปใช้ในภาคปฏิบัติ
โดย ดร. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กำลังดำเนินการ เพื่อนำเอา Competency ไปสู่การปฏิบัติ นั่นคือการฝึกอบรมพัฒนาและเรียนรู้ (Learning & Development) ของบุคลากรที่มีช่องว่าง ภายหลังจากการประเมินตนเองในรอบที่ 1 โดยมีแนวคิดในเรื่องนี้ ดังนี้
- เลือกหัวข้อ Competency เริ่มจาก Competency ไปสู่แผนพัฒนาและฝึกอบรม โดยวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) จากการประเมินตนเองของบุคลากร และมีแนวคิดว่าเพื่อให้สะดวกและง่าย จึงเลือกดำเนินการทีละ Competency น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำแผนอบรมเพื่อรองรับ Competency หลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กัน
- กำหนดพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวัง ทบทวนพฤติกรรมที่คาดหวังอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าพฤติกรรมที่กำหนดไว้นั้นครอบคลุม Competency ข้อนั้นในทุกมิติหรือไม่ และทบทวนเพื่อให้มั่นใจว่าพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นมานั้น สามารถแปลงไปสู่สิ่งที่จับต้องได้ สังเกตได้หรือไม่ และเพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นมานั้นไม่กว้างจนเกินไป
- กำหนดหัวข้อที่จะนำมาใช้ในการประเมิน Competency ในขั้นตอนนี้จะนำเอาพฤติกรรมที่คาดหวังมาเป็นตัวตั้ง แล้วตั้งคำถามว่าจะวัดหรือดูจากอะไรว่าคน ๆนั้นมี Competency ในเรื่องนั้นตามพฤติกรรมที่กำหนดไว้ บางเรื่องอาจจะดูจากผลงานที่วัดได้จับต้องได้ บางเรื่องไม่จำเป็นต้องไปดูที่ผลงาน แต่สามารถดูได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกได้ทันที ในขณะที่บางเรื่องอาจต้องดูจากผลการทดสอบความสามารถทางด้านการคิด การทดสอบความรู้ หรือการทดสอบทักษะก็ได้
- กำหนดแนวทางการพัฒนาและฝึกอบรม เมื่อกำหนดพฤติกรรมและหัวข้อประเมิน Competency แล้ว ขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการกำหนดแนวทางในการพัฒนาให้คนมี Competency ในหัวข้อนั้น ๆ ซึ่ง จะแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลักคือ
- การฝึกอบรมพัฒนาและเรียนรู้ (Learning & Development) การที่จะทำให้คนทำงานมีพฤติกรรมการทำงานที่เป็นไปตาม Competency ในเรื่องนั้น ๆ บางเรื่องจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการให้ความรู้ ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลและนิยมใช้กันโดยทั่วไปคือ “การฝึกอบรมและการเรียนรู้” ซึ่งในการออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมและการเรียนรู้ ควรจะออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมที่ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
- หัวข้อการฝึกอบรมซึ่งจะต้องสอดคล้องกับหัวข้อการประเมินและหัวข้อที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมที่คาดหวังไว้
- รูปแบบและวิธีการในการฝึกอบรม
- แนวทางการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม
- การพัฒนาโดยไม่ใช่การฝึกอบรม (Non-Training) จะกำหนดแนวทางการพัฒนา Competency ของคนด้วยวิธีการหรือแนวทางอื่นที่เป็นไปได้นอกเหนือจากการฝึกอบรม เพราะ Competency บางเรื่องไม่สามารถสร้างหรือพัฒนาให้สูงขึ้นได้ด้วยการฝึกอบรมเพียงอย่างเดียวเช่น บางเรื่องต้องให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงของคนอื่น บางเรื่องอาจจะต้องลองนำไปใช้จริงด้วยตัวเอง บางเรื่องจะต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ฯลฯ
- การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) บุคลากรควรมีความเข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้ เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของการเรียนรู้ โดยเฉพาะอานุภาพและพลวัตของความรู้ที่อยู่ในชุมชนปฏิบัติ (CoP: Community of Practice) โดยหัวใจสำคัญคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยกันรวบรวมกลั่นกรองความรู้ที่เป็น tacit knowledge (ประสบการณ์การทำงาน) ให้ออกมาเป็น explicit knowledge (คู่มือการทำงาน) เสร็จแล้วลองนำไปปรับใช้ จากนั้นลองนำประสบการณ์ในการนำความรู้ไปปรับใช้ มาเล่าเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน อย่างนี้จะทำให้เกิดการยกระดับความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานขึ้น เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เกิดประสิทธิผลในการทำงาน สัมพันธภาพในกลุ่มงานก็ดีข้น องค์กรก็ไปได้
สรุป
ดังนั้นการที่จะทำให้คนทำงานมีคุณลักษณะความสามารถเป็นไปตาม Competency ที่กำหนดไว้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถทำได้ภายในเวลาเพียงวันสองวัน เพราะ Competency หลายข้อไม่ใช่เป็นเรื่องทักษะหรือความรู้ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องพฤติกรรมที่โยงใยไปถึงเรื่องความคิด จิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ก็จริง แต่จะต้องอาศัยกระบวนการ และกลวิธีที่หลากหลายร่วมกัน การเข้าร่วมฝึกอบรมเพียงอย่างเดียวคงจะไม่ได้ผล และจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับสภาพจิตใจของคนทำงานให้รู้สึกเคยชินกับสิ่งนั้น ๆ จนเขารู้สึกว่าการมีพฤติกรรมที่กำหนดไว้นั้นเป็นเรื่องปกติของชีวิตการทำงาน ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมานั่งคิดด้วยเหตุผลว่าทำไปทำไม ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมานั่งทบทวนว่าเรื่องนั้นดีหรือไม่ดี ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คงจะเรียกว่าทำเรื่องนั้น ๆ จนเป็นนิสัยไปเรียบร้อยแล้ว และสิ่งนั้นจะต้องติดตัวคนๆนั้นไปตลอด
การนำ Competency และ KM มาใช้ในองค์กรจึงต้องมีทั้งความเข้าใจ ความอดทนและความต่อเนื่องอย่าทำเหมือนกับ “ไฟไหม้ฟาง” (สุดท้ายได้แค่ไก่อบฟาง กินมื้อเดียวก็หมดแล้ว) แต่ต้องทำแบบ “การตีเหล็กให้เป็นดาบ” ที่คนตีต้องมีทั้งความอดทนและเทคนิควิธีการที่เหมาะสม (สุดท้ายจะได้ดาบที่มีคุณภาพใช้ได้ไปหลายชั่วอายุคน)
เอกสารอ้างอิง
- ณรงค์วิทย์ แสนทอง [ Available Online] http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104278&Ntype=27
ตัวอย่างหลักสูตร
จิตบริการ (Service Mildness)
พฤติกรรมที่มหาวิทยาลัยคาดหวังให้บุคลากรเป็น คำจำกัดความ มีการบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการให้บริการที่ดีต่อผู้รับบริการทุกระดับ สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้รับบริการได้ทันท่วงที เพื่อให้เกิดความประทับใจ
ระดับ (Level) คำอธิบาย
L5 : นำพาหน่วยงานไปสู่การเป็นตัวอย่างด้านบริการที่เป็นเลิศระดับมหาวิทยาลัย
L4 : ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการให้บริการ และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
L3 : นำผลการประเมินมาปรับปรุงการให้บริการให้ดีขึ้น
L2 : สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับดี
L1 : มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติได้เป็นครั้งคราว
L0 : ไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าว
ผลการประเมินรอบที่ 1
ชื่อกลุ่มงาน
|
จำนวนผู้ติด Gap
|
ร้อยละของผู้ติด Gap
|
จำนวน The Star
|
จำนวนผู้ประเมินทั้งหมด
|
งานบริหารงานทั่วไป
|
14
|
10
|
5
|
140
|
งานการเจ้าหน้าที่
|
8
|
50
|
-
|
16
|
งานคลังและพัสดุ
|
5
|
6.33
|
-
|
79
|
งานห้องสมุด
|
6
|
20
|
-
|
30
|
งานบริการการศึกษา
|
12
|
15.38
|
5
|
78
|
งานอาคารสถานที่และสวัสดิการ
|
6
|
18.75
|
1
|
32
|
รวม
|
51
|
13.6
|
11
|
375
|
การฝึกอบรม พัฒนาและเรียนรู้ (Learning & Development), จิตบริการ (Service Mildness)
หัวข้อการฝึกอบรม
- ความหมายของคำว่า “การให้บริการ”
- การให้บริการคืออะไร
- การให้บริการ การช่วยเหลือ การทำตามหน้าที่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- เหตุการณ์แบบไหนจึงจะเรียกว่า “การให้บริการ”
?
- ความสำคัญของการให้บริการที่มีต่อองค์กร
- ทำไมองค์กรของเราจึงต้องเน้นเรื่องการให้บริการ
- ถ้าบริการไม่ดีจะเกิดอะไรขึ้นบ้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- ขั้นตอนการให้บริการผู้รับบริการ
- การวิเคราะห์/สำรวจ/ประเมินความต้องการของผู้รับบริการ
- การเลือกวิธีการในการตอบสนองผู้รับบริการ
- ดำเนินการในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ
- ตรวจสอบผลการให้บริการ
- การติดตามผลการให้บริการ
- จิตวิทยาในการเข้าใจความแตกต่างของคน
- ลักษณะและประเภทของคน
- จุดอ่อนของคนแต่ละประเภท
- วิธีการตอบสนองความต้องการของคน
- เทคนิคการให้บริการผู้รับบริการ
- การให้บริการกับผู้รับบริการที่พูดมาก
- การให้บริการผู้รับบริการที่ไม่ค่อยพูด
- การให้บริการผู้รับบริการที่ต้องการไม่สิ้นสุด
- การให้บริการผู้รับบริการที่ชอบโวยวาย
- การให้บริการผู้รับบริการที่ละเอียดจุกจิกจู้จี้
- การให้บริการกับผู้รับบริการที่มารยาทดีไม่เรื่องมาก
รูปแบบการฝึกอบรม พัฒนาและเรียนรู้ (Learning & Development Processes), จิตบริการ (Service Mildness)
- เรียนรู้จากเหตุการณ์จริง นำเอาข้อร้องเรียนของผู้รับบริการที่เคยเกิดขึ้นจริงในอดีต พร้อมวิธีการแก้ไขปัญหามาเป็นกรณีศึกษาให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก และผู้เรียนบางคนอาจจะอยู่ในเหตุการณ์นั้นมาก่อน
- ฝึกคิดจากเหตุการณ์จำลอง ควรจะมีวีดีโอเกี่ยวกับตัวอย่างการให้บริการผู้รับบริการที่ไม่ดีมาให้ผู้เข้าอบรมได้ศึกษา และได้ฝึกคิดว่าถ้าเป็นตัวเขาเองเขาจะทำอย่างไร และให้ดูตัวอย่างการบริการที่ดีในภายหลัง
- ฝึกปฏิบัติโดยการแสดงบทบาทสมมติ ควรจะให้ผู้เข้าอบรมได้แสดงบทบาทสมมติ โดยแบ่งกลุ่มและให้แต่ละกลุ่มระดมสมองเพื่อเลือกพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสมที่เคยเกิดขึ้นจริงในองค์กรมากลุ่มละเรื่องหรือสองเรื่อง และให้ออกมาแสดงบทบาทสมมติโดยแต่ละกลุ่มจะต้องแสดง 2 รอบ
- รอบแรก แสดงเลียนแบบพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นจริง
- รอบที่สอง แสดงเหตุการณ์เดิม แต่ให้แสดงพฤติกรรมในการให้บริการผู้รับบริการที่ดี ที่ควรจะเป็น
- เมื่อแสดงเสร็จแล้ว ควรจะให้แต่ละกลุ่มออกมาสรุปข้อคิดที่ได้จากการแสดงบทบาทสมมติ หรือถ้าเป็นไปได้ควรจะถ่ายวิดีโอตอนแสดงไว้ด้วย และนำมาเปิดดูซ้ำอีกครั้ง เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าพฤติกรรมการให้บริการที่ดีนั้นทำได้ง่ายกว่า
- แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในฐานะผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ควรจะมีการพบปะประจำวัน หรือประจำสัปดาห์และให้พนักงานแต่ละคนออกมาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการบริการทั้งของตนเองและของผู้อื่น เช่น การบริการของพนักงานร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน ร้านกาแฟ ฯลฯ ทั้งตัวอย่างการให้บริการที่ดีและไม่ดี พร้อมทั้งให้พูดถึงความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อการบริการนั้นๆ เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ว่าการให้บริการนั้นมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้รับบริการมากน้อยเพียงใด โดยการเรียนรู้จากตัวเอง
- ฟังจากความรู้สึกจริงของผู้รับบริการตัวจริง เชิญผู้รับบริการที่เป็นผู้รับบริการจริงขององค์กรทั้งที่เคยร้องเรียนหรือชื่นชมมาพูดให้พนักงานฟัง ว่าเขารู้สึกและคิดอย่างไร ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่าการสื่อสารผ่านองค์กร และหัวหน้ามายังพนักงานผู้ให้บริการ เพราะเมื่อผู้รับบริการร้องเรียนผ่านมายังองค์กรและหัวหน้านำเรื่องข้อร้องเรียนนั้นๆมาตำหนิพนักงาน พนักงานมักจะรู้สึกว่าเป็นอารมณ์ของหัวหน้า มากกว่าอารมณ์ของผู้รับบริการ ดังนั้น การเชิญผู้รับบริการตัวจริงมาพูดถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นพร้อมกับความรู้สึกจริงๆ น่าจะช่วยให้พนักงานเข้าใจและรับรู้ได้ดีกว่าที่เอาความรู้สึกของผู้รับบริการมาถ่ายทอดผ่านคนในองค์กร
- กิจกรรมตอกย้ำเรื่องการให้บริการ องค์กรควรจะมีการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำให้เรื่องการให้บริการเป็นเรื่องที่อยู่ในจิตใจของคนทำงานตลอดเวลา เช่น การกำหนดให้ทุกคนพูดคำว่า “สวัสดี (ครับ/คะ)” “ขอบคุณ (ครับ/คะ)” กันทุกวันเพื่อให้การกล่าวคำว่า “สวัสดี” และ “ขอบคุณ” กับผู้รับบริการไม่ใช่เรื่องลำบากในชีวิตอีกต่อไป เพราะเป็นคำพูดที่ติดปากติดเป็นนิสัยไปแล้วหรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่จะช่วยให้คนทำงานเกิดพฤติกรรมนั้นๆจนกลายเป็นนิสัย เช่น การเปิดประตูให้ผู้รับบริการ การเลื่อนแก้วอี้ให้ผู้รับบริการนั่ง การเดินนำหน้าผู้รับบริการไปยังสถานที่ต่างๆ การออกไปส่งผู้รับบริการขึ้นรถ ฯลฯ
- การบริการมีผลต่อผลงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ควรจะนำเอาเรื่องการให้บริการ ไปเป็นหัวข้อในการประเมินผลงานประจำปีที่จะมีผลต่อเรื่องผลตอบแทน เช่น เรื่องโบนัส เรื่องรางวัลการให้บริการ พนักงานดีเด่นประจำปี การเลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรฐานเสริมให้เรื่องการให้บริการคงอยู่กับคนทำงานและองค์กรตลอดไป
หัวข้อที่น่าจะนำมาใช้ในการประเมิน (Learning & Developmental Assessment), จิตบริการ (Service Mildness)
- ดูจากคะแนนทดสอบข้อเขียนหลังการฝึกอบรม
- ดูจากคะแนนทดสอบการแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์จำลอง
- จำนวนข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ
- สังเกตจากพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสมเช่น คำพูดที่ไม่สุภาพ กิริยาที่ไม่เหมาะ
- ปล่อยให้ผู้รับบริการรอนานโดยไม่แจ้งความคืบหน้า โดยใช้ Checklist
- ไม่มีการตรวจสอบหลังจากการให้บริการ เพื่อยืนยันว่าผู้รับบริการได้รับบริการตรงและครบตามที่ต้องการ
- สุ่มสอบถามจากคนรอบข้างว่าเคยเห็นพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่ดีต่อผู้รับบริการหรือไม่
- ดูจากการนำเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้รับบริการได้เอง ไปขอความช่วยเหลือจากหัวหน้า
Checklist จิตบริการ (Service Mildness) **ตัวอย่างของบริษัทเอกชน
หัวข้อประเมิน
|
วันเวลาสถานที่
|
อธิบายพฤติกรรมที่สังเกตเห็น
|
1. ไม่ออกไปต้อนรับผู้รับบริการ (รอให้ผู้รับบริการเดินมาหา)
|
|
|
2. ไม่ยกมือไหว้และพูดคำว่าสวัสดีกับผู้รับบริการ
|
|
|
3. ไม่ยิ้มเวลาพูดกับผู้รับบริการ (ทำหน้าบึ้ง)
|
|
|
4. ปล่อยให้ผู้รับบริการรอนาน จนผู้รับบริการต้องเดินมาถาม
|
|
|
5. พูดจาไม่สุภาพกับผู้รับบริการ
|
|
|
6. ไม่เดินไปส่งผู้รับบริการจนถึงที่แผนกถัดไป
|
|
|
7. ไม่พูดคำว่า “ขอบคุณ” กับผู้รับบริการ
|
|
|
8. ทะเลาะ/เถียงกับผู้รับบริการเสียงดัง
|
|
|
9. ให้ผู้รับบริการเปิดประตูให้ (เดินตามหลังผู้รับบริการ)
|
|
|
10. ไม่ออกไปส่งผู้รับบริการตอนผู้รับบริการกลับ
|
หมายเหตุ เหตุผลที่หัวข้อใน Checklist เป็นเรื่องของการจับผิด ก็เพราะว่าสะดวกต่อการตรวจประเมินกว่าการจับถูก และจะได้นำเอาข้อมูลไปประกอบการแจ้งพนักงานผู้ถูกประเมิน เพราะสามารถอ้างถึงเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ง่าย