การเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 จาก 2477 สู่ 2577
วันที่เขียน 28/9/2561 12:18:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 19:34:37
เปิดอ่าน: 4690 ครั้ง

ทำอย่างไรมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะก้าวสู่ปีที่ 100 อย่างภาคภูมิและยั่งยืนในปี พ.ศ.2577 หรืออีก 16 ปีข้างหน้า

ทำไมต้องมีการเปลี่ยนผ่าน...????

             ที่มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนผ่าน เพราะ ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งสถานการณ์ภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยกำลังเปลี่ยนแปลง และล้วนมีผลกระทบกับมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น  

             การเปลี่ยนแปลงภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าไปมากจนล้ำหน้าความสามารถของมนุษย์  การใช้นวัตกรรมมาขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งใหม่ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ (Disruptive change)  ประกอบกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ไร้พรมแดนและมีการเชื่อมต่อเข้าถึงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ทำให้โลกใบใหม่เป็นโลกของข่าวสารข้อมูลที่แพร่กระจายถึงกันอย่างรวดเร็วเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)  ก็ยิ่งทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เกิดระบบเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความรู้  (Knowledge Economy and Society) กระบวนการเรียนรู้จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ที่องค์ความรู้มีอยู่ทั่วไปที่มีการแบ่งปันกันในโลกของอินเตอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว  ทำให้สถาบันการศึกษาและอาจารย์ที่เคยเป็นแหล่งขององค์ความรู้ได้กลายมาเป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักศึกษา  สังคมชุมชน อาจารย์จึงเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ให้ความรู้ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก Facilitator ในการเรียนรู้ หลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปจากการสอนที่เคยเรียนรู้มาเป็นการสอนสำหรับอนาคตกำลังมาถึงเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันได้

             สถานการณ์วิกฤติของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน จากเดิมมีการเปิดมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนจำนวนมาก แต่ขณะนี้ต้องประสบกับปัญหาจำนวนประชากรที่ลดลง ส่งผลต่อจำนวนนักศึกษาที่จะเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาลดลงเช่นเดียวกัน หลายมหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลง บุคลากรทางการศึกษาถูกเลิกจ้าง คุณภาพหลักสูตรลดลง และไม่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง ประกอบกับกระบวนการเรียนรู้ที่เปลี่ยน มหาวิทยาลัยต่างชาติระดับโลกมาเปิดหลักสูตรออนไลน์ เพื่อดึงนักศึกษาสร้างทางเลือกให้คนวัยเรียนมากขึ้น “ระบบมหาวิทยาลัยออนไลน์”ได้พยายามตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่อย่างเต็มที่  

             การเปลี่ยนแปลงภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งเป็นการออกจากการบริหารในระบบราชการ ที่เน้นกฎระเบียบและวิธีและกระบวนการปฏิบัติงานไปสู่การบริหารแบบเอกชนที่ต้องมีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น คล่องตัว เน้นเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายมิติเพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรจากสถานภาพเดิมไปสู่สถานภาพใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ด้านโครงสร้างที่จะต้องมีระดับชั้นน้อยลง มีการกระจายอำนาจมากขึ้น กำหนดโครงสร้างแบบแมทริกส์เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรที่มีจำกัดมาใช้ ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ด้านกฎระเบียบและวิธีการปฏิบัติงาน จะต้องมีการแก้ไขให้มีความคล่องตัวเน้นการมุ่งผลสำเร็จมากกว่าวิธีการหรือกิจกรรม  ด้านความคิด จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองโลก มองจากปัจจัยภายนอกกลับเข้ามาแทนการมองจากภายในออกไป เนื่องจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกมีความสำคัญและมีผลกระทบมากกว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน มองแสวงหาโอกาส การคิดเชิงระบบ คิดเชิงบวก คิดสร้างสรรค์หาสิ่งใหม่ๆ และทำงานพาดผ่านสายงานกัน แทนที่จะมองแต่ปัญหา คิดแต่จะแก้ไขปัญหา ทำงานกันแบบแยกส่วนต่างฝ่ายต่างทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านองค์ความรู้จะไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคลหรือผู้เชียวชาญอีกต่อไป จะต้องมีการบริหารจัดการแบ่งปันองค์ความรู้กัน ทำงานพาดผ่านสายงานกัน คนต้องมีทักษะความชำนาญในหลายด้านหลายศาสตร์ทำงานเป็นทีม ด้านการบริหารจัดการ จะต้องเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการแบบเดิมที่เป็นการบริหารงบประมาณ ที่รับมาจากสำนักงบประมาณในระบบปกติ  ทำแผนปฏิบัติการเป็นปีต่อปี  เน้นตัวชี้วัดระดับกิจกรรมและการรายงานผล มาเป็นการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ที่มองไปในระยะยาว ที่มุ่งบริหารด้วยโครงการ เน้นตัวชี้วัดความสำเร็จระดับผลลัพธ์และการติดตามกำกับดูแล  และสุดท้ายคือด้านค่านิยมหลักขององค์กรที่เป็นเรื่องศรัทธาความเชื่อร่วมกัน การสร้างแรงบันดาล แรงจูงใจที่จะมีแรงปรารถนามุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จในอนาคตร่วมกัน

            จากสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายนอกภายในมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลง ล้วนมีผลกระทบอย่างมากต่อมหาวิทยาแม่โจ้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวและ ทบทวนเป้าหมายโดยมุ่งเน้นจุดแข็งและความโดดเด่นที่มี  ด้วยการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยเพื่อการก้าวสู่ปีที่ 100 อย่างภาคภูมิและยั่งยืนในปี พ.ศ.2577 หรืออีก 16 ปีข้างหน้า

อยู่อย่างเดิมไม่ได้หรืออย่างไร????

   คำถามนี้มีคำตอบที่เปรียบเปรยให้เห็นภาพที่ชัดเจนโดยหัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผลว่า การอยู่อย่างเดิมหรือทำอย่างเดิม คือทำภารกิจพื้นฐานของสถาบันการศึกษาก็เปรียบเสมือน การทำงานเพื่อแสวงหาปัจจัย 4 เพียงเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีชีวิตรอด อาจจะอยู่รอดเพียงแค่ไม่อดตาย หรือเป็นแค่มหาวิทยาลัยปฏิบัติภารกิจเพื่อรอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ ได้รับงบประมาณเพียงเพื่อให้องค์กรสามารถดำรงค์อยู่ได้ต่อไป  แต่การทำภารกิจยุทธศาสตร์หรือสร้างความเป็นเลิศเพื่อเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการทำให้มหาวิทยาลััยมีมากกว่าปัจจัย 4 ไม่ว่าจะเป็นความเป็นเลิศที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับมากขึ้น  การนำความโดดเด่นที่มีออกมาแสดงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แสวงหางบประมาณจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณแผ่นดินได้มากขึ้น และพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี เต็มภาคภูมิ ยั่งยืน และสง่างาม เมื่อมีอายุครบ 100 ปี

ต้องทำอย่างไรมหาวิทยาลัยจึงจะเปลี่ยนผ่านได้อย่างภาคภูมิและยั่งยืน ???

            มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะต้องกำหนดทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์บนความเข้มแข็งและความโดดเด่นที่มี  ต้องทบทวนการวางตำแหน่งใหม่ที่จะต้องสร้างความเป็นเลิศทางด้านการพัฒนาศึกษา Academic excellence ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร คุณภาพบัณฑิตและการเรียนการสอน    เพื่อตอบวัตถุประสงค์หลักของมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเป็นเลิศเชิงยุทธศาสตร์ Strategic excellence ที่สามารถแข่งขันสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติด้วย

            ปัจจุบันมหาวิทยาลัยกำหนดแนวทางการเปลี่ยนผ่านโดยการวางยุทธศาสตร์การทำงานแบบรางคู่ คือการพัฒนาตามภารกิจหลัก (Moderating Operation Center) หรือ MOC  ควบคู่ไปกับการทำงานเชิงรุกเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ (Strategic Program Management Office) หรือ SPO   เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูง มุ่งเน้นผลงานที่ตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง  โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสู่การเป็น Ecosystem for Lifelong Learning หรือนิเวศแห่งสังคมอุดมปัญญาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของคนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่มอาชีพ และเป็นภูมิปัญญาด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศ เพื่อการพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

             มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังคงมุ่งพัฒนาไปสู่เป้าหมายการเป็น GO Eco U. ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องมีการปรับตัวใน 7 ประเด็นที่เป็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถเปลี่ยนผ่าน (Change transformation) จากสถานการณ์เดิมไปสู่สถานการณ์ใหม่ในอนาคต  7 ประเด็นดังกล่าวคือ

  1. เป้าหมายการไปสู่ GO Eco เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (University of Life) ที่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายและแผนที่ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดและกรอบ ระยะเวลาที่ชัดเจนในการพัฒนาไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง Organic Green และ Eco ในปี พ.ศ. 2577  GO Eco จะถือเป็นประเด็นหลักของทิศทางการพัฒนาที่อีก 6 ประเด็นจะต้องเข้ามาเชื่อมโยง เข้ามาบูรณาการให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันและกันเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างเป็นองค์รวม
  2. โครงสร้าง ที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างเชิงซ้อน Matrix  เพื่อรองรับภารกิจหลักพื้นฐานด้านการเรียนการสอนและภารกิจเชิงยุทธศาสตร์  เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบงานและรางวัลผลตอบแทน กลไกการบริหารจัดการที่มีความล่องตัว การกำกับติดตามและประเมินผลด้วย Dashboar
  3. การใช้ทรัพย์สินให้คุ้มค่า Asset Utilization ต้องมีการกำหนดนโยบายและจัดทำผังแม่บทการใช้พื้นที่และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไปขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ GO Eco ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งที่พื้นที่หลักส่วนกลาง วิทยาเขต และสำนักฟาร์ม 
  4. Go International สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในมหาวิทยาลัย และภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ   ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  สังคมชุมชน ในรูปแบบประชารัฐ (PPP) และเครือข่ายกับต่างประเทศไปสู่ความเป็นนานาชาติ 
  5. HR capacity building การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยในทุกระดับชั้นเพื่อให้มีทักษะและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานรองรับภารกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญหลากหลาย ทั้งระดับบนที่สามารถบริหารนโยบายและแปลงนโยบายลงสู่แผนงานโครงการในระดับการปฏิบัติได้ ความสามารถในการทำงานพาดผ่านสายงานและผสมผสานกันได้ตามระดับแนวขวาง  การเตรียมพร้อมสร้างบุคลากรให้สามารถสืบทอดการทำงานให้ต่อเนื่องไปได้ การพัฒนาจะไปในรูปแบบของการโค้ช การจัดให้มีเวทีเสวนา สัมมนา การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ให้สามารถนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้จริง
  6. Leadership สร้างภาวะผู้นำที่จะนำภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เปลี่ยนผ่านไปสู่ GO Eco สู่สังคมชุมชน และเกษตรกร มีกระบวนทัศน์และความเข้าใจภาพอนาคตที่จะมาถึง สร้างสรรค์ความเป็นเลิศในองค์ความรู้ใหม่รองรับการพัฒนาในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์การเรียนรู้
  7. Corporate  Communication การสื่อสารองค์กรเป็นการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความเข้าใจบริบทของการเปลี่ยนแปลงที่จะเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยไปสู่สถานะใหม่ การสื่อสารภายในจะมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จที่จะต้องเกิดจากศรัทธาและความรู้ความเข้าใจของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความเชื่อและแรงปรารถนาร่วมแรงร่วมใจในการเปลี่ยนผ่านนำพามหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปสู่เป้าหมายตามปณิธานที่ตั้งไว้

          ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านแม่โจ้สู่ GO Eco ในปี พ.ศ. 2577 จะต้องนำเอา 7 ประเด็นที่เป็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงไปบูรณาการเชื่อมโยงให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องซึ่งกันและกันเป็นองค์รวมด้วยวิธีการ 9 C ที่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  • C1 Connect เชื่อมต่อทั้งทางกายภาพและด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  • C2 Co-Value Creation การสร้างคุณค่าร่วมใน Value chain และSupply chain 
  • C3 Care and Share ร่วมแรงแบ่งปันกันด้วยการสร้างความรู้สึกเอื้ออาทร มีไมตรีจิตต่อกันด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
  • C4 Collaboration กำหนดกลุ่มเป้าหมายความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายและหากิจกรรมทำร่วมกัน
  • C5 Concentration การมุ่งเน้นหรือจัดลำดับความสำคัญของงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำที่ไปตอบสนอง GO Eco   
  • C6 Convergence  การผสมผสานความเชี่ยวชาญหรือศาสตร์ต่างแขนงเข้าด้วยกันให้เกิดสิ่งใหม่  องค์ความรู้ใหม่
  • C7 Capacity Building การนำเอาทรัพยากรทั้งบุคลากรและทรัพย์สินทั้งทางปัญญาและทางกายภาพมาเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  
  • C8 Clustering การจัดกลุ่มตามภารกิจหรือตามความเชี่ยวชาญเพื่อสร้างนวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
  • C9 Communication การผลิตสื่อและการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลไปตามช่องทางที่ถึงกลุ่มเป้าหมาย

 แล้วตอนนี้มหาวิทยาลัยเริ่มทำอะไรไปแล้วบ้าง???

           เบื้องต้น มหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการ SPO ที่ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย นักวิจัยที่เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์จากภายนอกหลายท่านเป็นที่ปรึกษา  ได้ริเริ่มโครงการที่เห็นผลเร็ว หรือ Quick-win project นำร่อง 5 โครงการ ได้แก่

    1) โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแก่ราชอาณาจักรภูฏาน ที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรด้านการเกษตรของมหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ และเป็นพื้นฐานในการต่อยอดสู่หลักสูตรเกษตรระดับนานาชาติในอนาคตต่อไป

    2)  โครงการอบรมหลักสูตรผู้นำการเกษตรยุคใหม่ หรือ MAGLEAD  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย และหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่หลายหน่วยงาน โดยได้จัดมาแล้ว 2 รุ่น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง และมีแผนจะจัดต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อสร้างผู้นำเกษตรทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย และสร้างเครือข่ายกับภาครัฐและเอกชน

    3)  โครงการ MJU Smart Farm เพื่อเสริมจุดแข็งด้านการเกษตรของมหาวิทยาลัย ต่อยอดสู่ความเป็นเลิศในการทำการเกษตรที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0

    4)  โครงการ MJU Digital and Innovation Services Center หรือ DSI เพื่อปรับโฉมแม่โจ้สู่มหาวิทยาลัยที่ทันสมัยในยุคดิจิทัล  ด้วยการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะที่หลากหลายมาใช้ทั้งในด้านการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการให้บริการของมหาวิทยาลัย

     5) โครงการ Well-being @ Chumporn เพื่อพัฒนามหาวิทยาแม่โจ้-ชุมพร ที่มีศักยภาพทั้งด้านการท่องเที่ยว การเกษตร และการประมง สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชั้นนำของประเทศ เป็นศูนย์กลางอาหารปลอดภัย และแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ที่เป็นเลิศของภาคใต้

        ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยยังมีแนวทางในการแสวงหา และสร้างทีมอาจารย์และบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อร่วมกันพัฒนา Quick Win Project ใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ปีที่ 100 อย่างภาคภูมิและยั่งยืนในปี พ.ศ.2577 หรืออีก 16 ปีข้างหน้าต่อไป

หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจากเอกสารการเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อครบ 100 ปี จาก 2477 สู่ 2577 
“1934-2034 MJU Centennial  Change Transformation ” โดย...งานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน

Linkเอกสาร: http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MzAxNzQ4 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=883
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก » การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้อบกพร่...
SCD Ranking  SDGs  U-Multirank  University Performance Metrics: UPM  Webometrics  การจัดอันดับมหาวิทยาลัย  คุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)  มาตรฐานการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 15/9/2564 13:41:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 17:56:38   เปิดอ่าน 5462  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ » ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการกิจกรรมของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ
งานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ ร่วมกับ งานคลังและพัสดุ ได้จัดทำขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการกิจกรรมของคณะขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินงานเกี่ยวกับการขออนุมัติดำเนินโค...
ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการ/กิจกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน รุ้งทอง เขื่อนขัน  วันที่เขียน 12/9/2562 16:08:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:50:48   เปิดอ่าน 2395  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ » สรุปผลเข้าร่วมอบรมเรื่อง “การพัฒนาและการดำเนินการหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)”
สรุปผลเข้าร่วมอบรมเรื่อง “การพัฒนาและการดำเนินการหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)” 1. หลักสูตรสอดคล้องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และควรระบุให้นักศึกษา “เรียนรู้...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน ธิดารักษ์ รัตนมณี  วันที่เขียน 24/8/2561 10:38:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:44:33   เปิดอ่าน 3590  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง