สั่งพิมพ์ผ่านระบบเมฆ
วันที่เขียน 13/1/2554 10:51:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 7:25:14
เปิดอ่าน: 4201 ครั้ง

การพิมพ์ผ่านก้อนเมฆ

      มีกระแสข่าวยักษ์ใหญ่ "กูเกิล : Google"   ถึงการให้บริการพิมพ์เอกสารที่เรียกว่า Google Cloud Print  ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ของกูเกิลในการบริการเครือข่ายการพิมพ์จากคำสั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์มือถือไปยังเครื่องพิมพ์ที่ไหนก็ได้บนโลกนี้

      สืบเนื่องจาก Cloud Computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ  ได้มีคำนิยามจากหลายๆ หน่วยงาน ว่าเป็นแนวทางการประมวลผลที่ให้บริการไปยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาล โดยมีระบบคอมพิวเตอร์สามารถตั้งอยู่ที่ไหนก็ได้ ผู้ใช้ไม่ต้องทราบสถานที่ตั้งขอให้มีเครือข่ายที่มีแบนด์วิทธ์พอเพียงเท่านั้น ทำให้เราสามารถย้ายระบบคอมพิวเตอร์ไปก่อสร้างศูนย์ข้อมูลที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เช่น ราคาที่ดินถูก  อยู่ใกล้โรงไฟฟ้า หรือแหล่งพลังงานถูก และระบบจะทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากมีการแบ่งสรรการใช้งานระหว่างผู้ใช้จำนวนมหาศาล  ทำให้สามารถออกแบบระบบที่ไม่ต้องเผื่อการใช้งานที่รับงานหนักไว้มากนัก และยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่องได้ง่ายเมื่อมีความต้องการสูงขึ้น

      สำหรับบริการการพิมพ์เอกสารของกูเกิล จะพัฒนาผ่านระบบปฏิบัติการ " โครม : Chrome " การสั่งพิมพ์ผ่านกลุ่มเมฆที่ลอยไปลอยมาบนท้องฟ้านี้  ทางกูเกิลมองว่าการพิมพ์ในปัจจุบันที่ต้องใช้ไดรเวอร์การเชื่อมโดยตรงหรือเครือข่ายเฉพาะท้องถิ่น ดังนั้นจึงพัฒนาให้การพิมพ์สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั้งเครื่องฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการทุกชนิด ช่วยลดความยุ่งยากในการสนับสนุนเครื่องพิมพ์จำนวนมากในหลายแพล็ตฟอร์ม 

      ดังนั้น  ในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ตามสามารถสั่งพิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์หรือพรินเตอร์ที่ไหนก็ได้   โดยการทำงานนั้นเครื่องที่จะทำการสั่งพิมพ์จะต้องสั่งผ่านเว็บเบสหรือ API ใน Google Cloud Print แล้วส่งงานพิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์ที่เลือกไว้  โดยเครื่องพิมพ์ดังกล่าวนั้นผู้ใช้งานต้องลงทะเบียนขอรับบริการไว้ก่อนหน้า

       รวมทั้งการพัฒนาวิธีการที่จะสื่อสารระหว่างเครื่องพิมพ์รุ่นเก่าๆ จำพวกอิงก์เจ็ทแบบเก่าด้วยการใช้พร็อกซี่ รวมทั้งสามารถสังพิมพ์จากโทรศัพท์มือถือได้ด้วย และการพัฒนาซอฟต์แวร์พร็อกซี่ในโครมบนวินโดวส์  ซึ่งจะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ระบบแม็คอินทอช หรือโปรแกรมลีนุ้กเวอร์ชั่นล่าสุด

      เทคโนโลยีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้นพัฒนาเท่านั้น หากเสร็จสิ้นแล้วเปิดให้บริการทั่วไปเมื่อไร  รับรองว่าผู้ใช้จะต้องฮือฮาตามแบบฉบับของกูเกิลแน่นอน !!!!!
                 

ขอบคุณบทความดีๆ จาก

  1. ไอที จักรวาล หนุ่มดิจิตอล cybernet@thairath.co.th [หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ฉบับวันอาทิตย์ที่  25 เม.ย. 2553]

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=26
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
GIS issue » สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568
สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568 เป็นหลักสูตรฝึกอบรมโดยสำน้กพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาโปรแก...
Geodatabase  leaflet  Mapserver  PostGIS  PostgreSQL  Web Map Service     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 7/4/2568 22:34:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 4:05:09   เปิดอ่าน 5  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ด้วย Microsoft Copilot ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot"
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot" ที่จัดโดย Microsoft Learn เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักการศึกษาในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการสอนและการเรีย...
AI ปัญญาประดิษฐ์  การเรียนการสอนดิจิทัล  การเรียนรู้ Microsoft  เทคโนโลยี Copilot  ประสิทธิภาพ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน จักรกฤช เตโช  วันที่เขียน 4/4/2568 10:52:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/4/2568 21:21:28   เปิดอ่าน 399  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
STT50  การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  งานวิจัย     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์  วันที่เขียน 10/1/2568 14:11:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 4:07:50   เปิดอ่าน 227  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง