Classstart ห้องเรียนออนไลน์ ของเด็กเจนฯ วาย (Gen Y)
วันที่เขียน 24/2/2555 12:05:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:05:39
เปิดอ่าน: 7619 ครั้ง

การสร้างห้องเรียนเสมือนจริงในโลกไซเบอร์ เสริมการจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ศท ๐๓๑ การใช้ภาษาไทย ในภาคเรียนที่ ๒ / ๒๕๕๔
นอกจากผู้เขียนจะจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรม ในชั้นเรียนเพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามปรกติแล้ว ผู้เขียนได้สมัครเป็นสมาชิกในเว็บไซต์

http://www.classstart.org/

เพื่อสร้างห้องเรียนเสมือนจริง ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเสริมในโลกไซเบอร์ (อย่างที่นักศึกษาชอบ ^^) ด้วย

วิธีการคือ
๑. สร้างห้องเรียน
๒. แจ้งรหัสของห้องเรียนให้นักศึกษาทราบ และให้นักศึกษาสมัครเป็นสมาชิก จากนั้นให้ส่งคำขอ "เข้าร่วมชั้นเรียน"
๓. อาจารย์กดรับนักศึกษาเข้าชั้นเรียน
๔. เมื่ออาจารย์มีประกาศ หรือสั่งงาน อาจารย์สามารถให้ระบบแจ้งเป็น e-mail ให้นักศึกษาทราบได้ทันที

กิจกรรมเสริมให้นักศึกษาทำใน Classstart  คือ กิจกรรมที่เน้นทบทวนความรู้เก่า เกี่ยวกับภาษาไทย ทั้งในส่วนของไวยากรณ์ หลักภาษา และการนำไปใช้ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ต้องค้นคว้า (ค้นคว้าได้จากแหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสาร และแหล่งข้อมูลออนไลน์..หากไม่ค้นคว้า ตอบผิด ก็ไม่ได้คะแนน ^^)

สิ่งที่ถูกใจมากในห้องเรียนเสมือนจริงของเว็บไซต์นี้ คือ อาจารย์สามารถกำหนดระยะเวลาของงาน(หรือแบบฝึกหัด หรือกิจกรรม)ที่มอบหมายได้ --เมื่อหมดเวลา หรือครบตามเวลาที่กำหนด นักศึกษาจะไม่สามารถ เข้าไปตอบคำถามในกิจกรรมนั้นได้อีก เป็นการฝึกเรื่องความรับผิดชอบ และความมีวินัยไปในตัว

-ในงานแรก ๆ พบว่ามีนักศึกษาบางคน ไม่ได้ส่งคำตอบ เพราะเข้ามาทำงานไม่ทันเวลา

-แต่ในงานต่อ ๆ มา พบว่า นักศึกษาตื่นตัวกันมากขึ้น และเข้ามาส่งงานครบเกือบทุกงาน

ก่อนปิดคอร์ส ผู้เขียนได้ทำแบบสอบถามให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้ และเป็นที่น่ายินดีว่า นักศึกษากว่า ๘๕% ชอบการทำกิจกรรมเสริมใน classstart โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ชอบเพราะสะดวกดี (อ่าน ค้นคว้า และส่งคำตอบ ผ่านอินเทอร์เน็ต) ได้ทบทวนความรู้เก่า และส่วนใหญ่อยากให้เพิ่มเติมแบบฝึกหัดให้มากขึ้นอีก

--การสร้างห้องเรียนเสมือนจริงในโลกไซเบอร์ เสริมการจัดการเรียนการสอนตามปรกติ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ^^

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (3)
ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์     วันที่เขียน : 15/8/2557 0:00:00

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ได้ความรู้เพิ่มเติมครับ

สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร     วันที่เขียน : 11/4/2555 0:00:00

ด้วยความยินดีค่ะ @^^@

ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล     วันที่เขียน : 21/3/2555 0:00:00

สวัสดีค่ะ อ.ฝง ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ เเละชื่นชมกับรูปเเบบใหม่ๆ ของอาจารย์ค่ะ จะลองเข้าไปดู เเละขอกระจายไปยัง อาจารย์น้องใหม่ด้วยนะคะ ทิพย์สุดา

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:15   เปิดอ่าน 267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:09   เปิดอ่าน 618  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง