การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 12/11/2564 10:07:49     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/9/2567 10:04:05
เปิดอ่าน: 1183 ครั้ง

การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน

จากการเข้าร่วมโครงการอบรม "การประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ" สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ การกำหนดกรอบระดับตำแหน่งให้สูงขี้น ตำแหน่งนั้นจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบคุณภาพและความยุ่งยากของงานในตำแหน่งเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องกำหนดตำแหน่งเป็นระดับที่สูงขึ้น การวิเคราะห์งานโดยพิจารณาจากลักษณะของงานต้องมีขอบเขตของงานที่ต้องปฏิบัติในตำแหน่งที่สูงขึ้น ระดับความผิดชอบของงาน และระดับความยากง่ายของงานโดยพิจารณาจากความรู้ประสบการณ์ที่จำเป็นที่ในงานแนวทางการทำงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์รวมถึงความยุ่งยากซับซ้อนของงาน การประเมินค่างานนั้น ทุกตำแหน่งงานจะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบคุณภาพและความยุ่งยากของงาน 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน  ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา และด้านความรับผิดชอบ มาถึงกล่าวถึง หลักเกณฑ์การประเมินการค่างาน ต้องประกอบไปด้วย โดยสิ่งที่จะต้องจัดเตรียม ได้แก่ 1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ขององค์กร 2.หลักเกณฑ์การประเมินค่างาน 3.มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 4. ภาระงานของตำแหน่ง 5.แบบประเมินค่างาน และพิจารณาระดับตำแหน่งสำหรับตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ  สุดท้ายเทคนิคการเขียนประเมินค่างาน จะต้องคำนึงถึง 1.กำหนดงานที่รับผิดชอบ 2.นำมาจัดกลุ่มและเรียงลำดับความสำคัญ 3.กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของงาน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1242
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/9/2567 15:28:23   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/9/2567 10:56:23   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง